"...การไม่มีคําว่ากัญชาในประมวลกฎหมายยาเสพติดเป็นเพียงปัญหาเชิงเทคนิคของการ เขียนกฎหมายที่ไม่สามารถเขียนรายละเอียดยาเสพติดทั้งหมดในประมวลกฎหมายยาเสพติดได้ เช่น ยาเสพติดในประเภท 1 มีถึง 75 ชนิด ไม่สามารถเขียนในประมวลกฎหมายยาเสพติดได้ทั้งหมด จึงมีการยกตัวอย่างเพียงหนึ่งชนิด คือ ‘เฮโรอีน’ ในตัวกฎหมาย เช่นเดียวกับที่มีการยกตัวอย่างเพียง ‘พืชฝิ่น’ เพียงตัวอย่างเดียวในกลุ่มยาเสพติดในประเภท 5 โดยไม่ได้มีการเขียนคําว่า ‘กัญชา’ เป็นตัวอย่างไว้ แล้วให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปกําหนดรายชื่อยาเสพติดให้โทษในแต่ละประเภทภายหลัง หากใช้ตรรกะเดียวกันว่า ‘ไม่ได้เขียนชื่อยาเสพติดใดไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด แปลว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีเจตนาปลดยาเสพติดตัวนั้นจากการเป็นยาเสพติด’ ก็จะแปลความได้ว่า ขณะนี้ ‘ยาบ้า’ ซึ่งไม่ได้เขียนไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติดเช่นเดียวกันก็ไม่ได้เป็นยาเสพติดแล้วซึ่งเป็นไปไม่ได้..."
ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา สถานะของกัญชาถูกปลดจากการเป็นยาเสพติด ด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุรายชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ฉบับ ลงนามวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งมีศักดิ์เป็นกฎหมายลูก ออกตามกฎหมายแม่ คือ ประมวลกฎหมายยาเสพติด การปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดด้วยกฎหมายลูก ยังมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนคน ก็อาจออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้กัญชากลับมาเป็นยาเสพติดอย่างเดิมก็ได้ การจะปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดได้ถาวรยิ่งขึ้น คือ แก้ไขกลับได้ยาก ต้องผลักดันให้กฎหมายระดับพระราชบัญญัติกําหนดให้ปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดให้สําเร็จ ดังที่พรรคภูมิใจไทยเสนอพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... เข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร โดยกําหนดไว้ในมาตร 3 ว่า ‘ให้กัญชา กัญชง ที่ดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ไม่ถือเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือประมวลกฎหมายยาเสพติด’ ซึ่งขณะนี้กําลังอยู่ในกระบวนการทางกฎหมายของสภา
เหตุผลสําคัญหลักที่รองรับการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการ เป็นยาเสพติด และ การเสนอพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... ฉบับพรรคภูมิใจไทย คือ การอ้างว่าประมวลกฎหมายยาเสพติดให้โทษมีเจตนาปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด เนื่องจากไม่มีคําว่า กัญชาในประมวลกฎหมายยาเสพติดให้โทษ คําอ้างนี้ถูกกล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทยหลายครั้ง และคําอ้างนี้ถูกเขียนไว้ในหลักการและเหตุผลของ พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. .... ฉบับพรรคภูมิใจไทย ไว้เป็นประโยคแรกว่า ‘โดยที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดไม่ได้กําหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ’ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าคําอ้างนี้เป็นเหตุที่มาหลักของการขับเคลื่อนทางกฎหมายและนโยบายกัญชาเสรี ต่างๆที่ตามมา
เหตุผลโต้แย้งว่าการอ้างนี้อาจจะไม่ถูกต้อง คือ
(1) การไม่มีคําว่ากัญชาในประมวลกฎหมายยาเสพติดเป็นเพียงปัญหาเชิงเทคนิคของการ เขียนกฎหมายที่ไม่สามารถเขียนรายละเอียดยาเสพติดทั้งหมดในประมวลกฎหมายยาเสพติดได้ เช่น ยาเสพติดในประเภท 1 มีถึง 75 ชนิด ไม่สามารถเขียนในประมวลกฎหมายยาเสพติดได้ทั้งหมด จึงมีการยกตัวอย่างเพียงหนึ่งชนิด คือ ‘เฮโรอีน’ ในตัวกฎหมาย เช่นเดียวกับที่มีการยกตัวอย่างเพียง ‘พืชฝิ่น’ เพียงตัวอย่างเดียวในกลุ่มยาเสพติดในประเภท 5 โดยไม่ได้มีการเขียนคําว่า ‘กัญชา’ เป็นตัวอย่างไว้ แล้วให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปกําหนดรายชื่อยาเสพติดให้โทษในแต่ละประเภทภายหลัง หากใช้ตรรกะเดียวกันว่า ‘ไม่ได้เขียนชื่อยาเสพติดใดไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด แปลว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีเจตนาปลดยาเสพติดตัวนั้นจากการเป็นยาเสพติด’ ก็จะแปลความได้ว่า ขณะนี้ ‘ยาบ้า’ ซึ่งไม่ได้เขียนไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติดเช่นเดียวกันก็ไม่ได้เป็นยาเสพติดแล้วซึ่งเป็นไปไม่ได้
(2) มีข้อความอีกหลายที่ในประมวลกฎหมายยาเสพติดที่เขียนในลักษณะที่หมายความว่ากัญชายังเป็นยาเสพติด เช่น ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2565 มาตรา 23 ที่ว่า ‘ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การอนุญาตนำเข้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยตามมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้นำเข้าได้เฉพาะเมล็ดพันธุ์’หรือตามมาตรา 23 วรรคสอง (2) เกี่ยวกับข้อยกเว้นการนำเข้ายาเสพติดซึ่งเป็นกัญชาว่า ‘ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นกัญชาติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว’ การกล่าวอ้างว่าประมวลกฎหมายยาเสพติดมีเจตนาปลดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดจึงไม่เป็นความจริงและเป็นการตีความกฎหมายที่ขัดต่อตัวกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
(3) การแพทย์ทั่วโลกยอมรับว่ากัญชามีฤทธิ์เป็นยาเสพติดครบถ้วนตามนิยามของคําว่า ‘ยาเสพติด’ ตามมาตรา 1 ของประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งนิยามไว้ว่า ‘ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี พืช หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพแล้ว ทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสําคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปทรุดโทรมลง’ การปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดจึงเป็นการกระทําที่ขัดกับประมวลกฎหมายยาเสพติด
(4) ประกาศฉบับนี้มีความย้อนแย้งในตัว คือ ประกาศนี้กําหนดว่า สารสกัดจากกัญชา กัญชง ที่มี THC เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักเป็นยาเสพติด แต่กลับปลดพืชกัญชาซึ่งรวมช่อดอกกัญชาที่มี THC โดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 10-20 โดยน้ำหนัก กลับไม่เป็นยาเสพติด ดังนั้น ‘ช่อดอกกัญชา’ จะถูกปลดจากการเป็นยาเสพติดไม่ได้ เพราะตัวประกาศนี้เองก็กําหนดอยู่แล้วว่าหากมี THC เกินร้อยละ 0.2 เป็นยาเสพติด
การออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นกฎหมายลูก เพื่อปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด แล้วค่อยผลักดันให้เกิดการปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดแบบถาวรในพระราชบัญญัติ กัญชา กัญชง พ.ศ. .... ฉบับพรรคภูมิใจไทย จึงเป็นการอ้างเหตุผลในลักษณะ ‘ตรรกะวงกลม’ (ภาพที่ 1) คือ
1.ประมวลกฎหมายยาเสพติดไม่มีคําว่ากัญชาถูกอ้างว่ามีเจตนาปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด (เป็นการอ้างว่ากฎหมายแม่ปลดกัญชา)
2.ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขปลดกัญชา (ปลดด้วยกฎหมายลูก ซึ่งที่จริงเป็นการกระทําที่ขัดกับกฎหมายแม่)
3.ปลดกัญชาด้วย พ.ร.บ.กัญชา กัญชง (ปลดด้วยกฎหมายแม่ฉบับใหม่) และ
4.กัญชาหลุดจากประมวลกฎหมายยาเสพติดถาวร (ปลดจากกฎหมายแม่ฉบับเก่า) จึงสรุปได้ว่า การยืนอยู่บนตรรกะวงกลม คือ การไม่มีเหตุผลของการปลดที่แท้จริงตั้งแต่ต้น
การปลดกัญชาจากยาเสพติดแบบถาวรในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ จะเกิดขึ้นจริงหาก มาตรา 3 ของพ.ร.บ.กัญชา กัญชง ของพรรคภูมิใจ ผ่านออกมาเป็นกฎหมาย
ดังนั้น เมื่อการอ้างว่าประมวลกฎหมายยาเสพติดมีเจตนาปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด เป็นการอ้างที่ผิด กระบวนการและกฎหมายที่ตามมาทั้งหมดจึงขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง
ตรรกะวงกลมของการปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด (เท่ากับไม่มีเหตุผลของการปลดที่แท้จริงตั้งแต่ต้น)