"...ดังนั้น เราจึงเห็นปรากฎการณ์ที่สื่อกระแสหลักทั้งทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์ได้นำเอาเนื้อหาที่อินฟลูเอนเซอร์ผลิตขึ้นมาเผยแพร่ต่อ เพื่อสร้างเรตติ้งโดยไม่ต้องใช้ความคิดใช้ความรู้และการลงทุนต่ำมาก กระทั่งมีการร่วมมือกันระหว่างสื่อกระแสหลักกับอินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างเนื้อหา เช่น คดีน้องชมพู่ (ลุงพลป้าแต๋น) คดีน้องแตงโม หลวงปู่แสง..."
ด้วยเหตุที่อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) มีอิทธิพลกับคนหมู่มากบนโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์ จะสร้างเนื้อหาเผยแพร่ตามเพลตฟอร์มต่างๆ เช่น บล็อก อินตาแกรม เฟสบุค ยูทูบ นอกจากจะมีอิทธิพลทางความคิดกับคนในสังคมแล้ว ยังสามารถหาเงินได้อีกด้วย
ดังนั้น เราจึงเห็นปรากฎการณ์ที่สื่อกระแสหลักทั้งทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์ได้นำเอาเนื้อหาที่อินฟลูเอนเซอร์ผลิตขึ้นมาเผยแพร่ต่อ เพื่อสร้างเรตติ้งโดยไม่ต้องใช้ความคิดใช้ความรู้และการลงทุนต่ำมาก กระทั่งมีการร่วมมือกันระหว่างสื่อกระแสหลักกับอินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างเนื้อหา เช่น คดีน้องชมพู่ (ลุงพลป้าแต๋น) คดีน้องแตงโม หลวงปู่แสง
เนื้อหาที่ผลิตขึ้นต้องเป็นดราม่าหรือแรงพอ เพื่อให้กระทบอารมณ์และสนองตอบความอยากรู้อยากเห็นของผู้คน ทั้งนี้ เพื่อการเพิ่มยอดคนติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ และยอดเรตติ้งของสื่อซึ่งสมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เพียงแต่กรณีหลวงปู่แสงเป็นการกระทำที่ถูกต่อต้านจากสังคมอย่างรุนแรง นักข่าวจึงต้องถูกสังเวยเป็นความรับผิดชอบแทนสื่อสำนักต่างๆ นั่นเอง
หลังจากนี้ สื่อคงดำเนินไปตามครรลองเดิมด้วยการร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ อาจจะมีการระมัดระวังกันมากขึ้น แต่ตราบใดที่การแข่งขันกันเพิ่มเรตติ้ง เพื่อการแสวงหารายได้และกำไร อีกทั้งการควบคุมกันเองขององค์กรสื่อที่ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผล
ไพโรจน์ พลเพชร
16 พฤษภาคม 2565
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3PsadTZ