“...อรม.อร. ดําเนินการซ่อมทําเรือล่าช้ากว่าแผนและไม่สามารถซ่อมทําเรือให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนการซ่อมทําเรือได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาเป้าหมายในเชิงปริมาณของการซ่อมทําเรือตามแผนที่มี กําหนดซ่อมทําแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2547 ถึง 2549 จํานวน 13 ลํา พบว่า อรม.อร. สามารถดําเนินการซ่อมทําให้แล้วเสร็จจริงได้เพียง 6 ลํา คิดเป็นร้อยละ 46.15 ของเป้าหมายที่กําหนดไว้ เมื่อพิจารณาในเชิงระยะเวลา พบว่า อรม.อร. มีการซ่อมทําเรือล่าช้ากว่าแผนที่กําหนดไว้ เป็นจํานวนถึง 11 ลํา คิดเป็นร้อยละ 84.62 ซึ่งจากการที่ อรม.อร. ซ่อมทําเรือล่าช้ากว่าแผนและไม่สามารถซ่อมทําเรือให้แล้วเสร็จได้ตามเป้าหมายที่กําหนด ส่งผลต่อการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ และเกิดความสิ้นเปลืองไปกับการซ่อมทําสูงกว่าที่ควรจะเป็นในรายการที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น หากได้รับการซ่อมทําตามระยะเวลา...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 47 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบดำเนินงาน โครงการก่อสร้างอู่ซ่อมเรือสัตหีบ (อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช : อรม.อร.) กรมอู่ทหารเรือ
@ โครงการก่อสร้างอู่ซ่อมเรือสัตหีบ (อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช : อรม.อร.) กรมอู่ทหารเรือ
โครงการก่อสร้างอู่ซ่อมเรือสัตหีบ (อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช : อรม.อร.) เป็นโครงการฯ ที่จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการซ่อมทำเรือทุกขนาดที่มีใช่ในราชการกองทัพเรือ ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีความพร้อมรบตลอดเวลา สามารถพึ่งพาตนเองในอนาคตได้ และเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของอู่เรือให้มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ครบถ้วน โดยได้รับการจัดสรร งบประมาณจำนวน 3,825.69 ล้านบาท ระยะเวลาดําเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 – 2547
เพียงวันที่ 30 กันยายน 2549 การก่อสร้างส่วนใหญ่แล้วเสร็จและกองทัพเรือได้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง แล้วจํานวน 3,805.81 ล้านบาท ยกเว้นงานงวดสุดท้ายซึ่งเป็นงานในส่วนของระบบจ่ายไฟฟ้าหน้าท่าและรอบอู่แห่ง คิดเป็นจํานวนเงิน 17.89 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย เนื่องจากผู้รับจ้างทิ้งงานไม่มาทําการทดสอบอุปกรณ์ และระบบงานที่ได้ติดตั้งไว้ ทําให้กองทัพเรือยังไม่สามารถตรวจรับงานให้แล้วเสร็จได้ แต่เพื่อมิให้อาคาร และอุปกรณ์บางรายการที่ตรวจรับไปแล้วเกิดความชํารุดเสียหาย กรมอู่ทหารเรือจึงเริ่มเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ของ อรม.อร.ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546
ผลการตรวจสอบในภาพรวม พบว่า อรม.อร. ไม่สามารถซ่อมทําเรือให้สําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนการซ่อมทําเรือได้ คือ อรม.อร.ซ่อมทําเรือได้แล้วเสร็จเป็นจํานวนน้อยกว่าที่แผนกําหนด และส่วนใหญ่เสร็จล่าช้ากว่าแผน เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี ขาดแคลนบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ และงบประมาณที่ใช้ในการซ่อมทํา และพบว่ามีอาคาร โรงงาน ระบบงาน รวมทั้งอุปกรณ์ในการซ่อมเรือบางส่วน ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละประเด็นข้อตรวจพบ ดังนี้
ข้อตรวจพบที่ 1 การดําเนินงานของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของแผนการซ่อมทําเรือ
อรม.อร. ต้องดําเนินงานตามภารกิจหลัก คือ การซ่อมทําเรือขนาดใหญ่จํานวน 18 ลํา ที่กองทัพเรือมีอยู่ตามมาตรฐานการซ่อมทําเรือ โดย อรม.อร. มีกําลังพลบรรจุจริง ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 จํานวน 809 อัตรา ซึ่งในการวางแผนการซ่อมทําเรือของ อรม.อร. นั้น มีทั้งแผนระยะยาวและแผนรายปี และการวางแผนนั้นพิจารณาจากความต้องการใช้งานเรือต่าง ๆ ประวัติการซ่อมทําเรือ และความพร้อมของอู่ซ่อมเรือ ฯลฯ ซึ่งหากเรือทุกลําได้ดําเนินการซ่อมตามแผนที่กําหนดไว้แล้วจะทําให้กองทัพเรือได้เรือที่มีสมรรถนะ สามารถปฏิบัติภารกิจ ได้อย่างต่อเนื่องและพร้อมรบตลอดเวลา และยังช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณในการซ่อมทําเรือ อีกทั้งเป็นการตอบสนองนโยบายด้านการพึ่งพาตนเอง แต่จากการตรวจสอบ พบว่า
อรม.อร. ดําเนินการซ่อมทําเรือล่าช้ากว่าแผนและไม่สามารถซ่อมทําเรือให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนการซ่อมทําเรือได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาเป้าหมายในเชิงปริมาณของการซ่อมทําเรือตามแผนที่มี กําหนดซ่อมทําแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2547 ถึง 2549 จํานวน 13 ลํา พบว่า อรม.อร. สามารถดําเนินการซ่อมทําให้แล้วเสร็จจริงได้เพียง 6 ลํา คิดเป็นร้อยละ 46.15 ของเป้าหมายที่กําหนดไว้
เมื่อพิจารณาในเชิงระยะเวลา พบว่า อรม.อร. มีการซ่อมทําเรือล่าช้ากว่าแผนที่กําหนดไว้ เป็นจํานวนถึง 11 ลํา คิดเป็นร้อยละ 84.62 ซึ่งจากการที่ อรม.อร. ซ่อมทําเรือล่าช้ากว่าแผนและไม่สามารถซ่อมทําเรือให้แล้วเสร็จได้ตามเป้าหมายที่กําหนด ส่งผลต่อการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ และเกิดความสิ้นเปลืองไปกับการซ่อมทําสูงกว่าที่ควรจะเป็นในรายการที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น หากได้รับการซ่อมทําตามระยะเวลา
สาเหตุสําคัญที่ทําให้ อรม.อร. ดําเนินการซ่อมทําเรือล่าช้ากว่าแผนและไม่สามารถซ่อมทําเรือให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนการซ่อมทําเรือได้ จนส่งผลให้ประสิทธิภาพของเรือในด้านต่าง ๆ ถดถอยนั้น เนื่องจากแผนการซ่อมทําเรือที่ อรม.อร.วางไว้นั้น ยังไม่ครอบคลุมและสอดรับกับข้อจํากัดที่มักเกิดขึ้นในขั้นตอนของการซ่อมทําเรือ เช่น กระบวนการซื้ออะไหล่เพื่อซ่อมทําเรือที่มักใช้เวลานาน หรือการส่งมอบเรือ เพื่อเข้ารับการซ่อมทําที่มักมีความล่าช้า เป็นต้น และเกิดจากการขาดความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมทําเรือซึ่งยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ รวมถึงการไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์
ข้อตรวจพบที่ 2 อาคาร โรงงาน ระบบงาน และอุปกรณ์ในการซ่อมเรือบางส่วนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
2.1 สิ่งก่อสร้างและระบบต่าง ๆ ที่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จและไม่ได้ใช้ประโยชน์ พบว่า
2.1.1 การก่อสร้างตัวอาคารและระบบอื่น ๆ ของอาคารโรงงานสรรพาวุธ และโรงงาน อิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 2 แห่งดําเนินการเสร็จแล้ว แต่ยังคงเหลือระบบไฟฟ้าในอาคารที่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ คือ ต้องมีการแก้ไขระบบไฟฟ้าภายในอาคารโรงงานสรรพาวุธ คือ ระบบไฟฟ้า 24 VDC 28 VDC และ 115 VAC 400 Hz ปัจจุบันยังไม่สามารถใช้ราชการได้เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าตกเกินเกณฑ์มาตรฐาน สําหรับโรงงานอิเล็กทรอนิกส์นั้น ปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ทําให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้นทุนค่าก่อสร้างโดยประมาณของโรงงานสรรพาวุธนั้น คือ 76.87 ล้านบาท และของโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ คือ 82.14 ล้านบาท
2.1.2 ระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับเรือหน้าท่ายังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากการติดตั้งอุปกรณ์ไม่ตรงตามแบบของกรมช่างโยธาทหารเรือ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหาผู้รับผิดชอบ ซึ่งกองทัพเรือได้ประมาณไว้ว่าต้องใช้งบประมาณจํานวนประมาณ 15.05 ล้านบาท ในการที่จะปรับปรุงระบบให้สามารถใช้งานได้
2.1.3 คลังเก็บน้ำมันมีการก่อสร้างอาคารและระบบต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้รับจ้างประสบปัญหาทางการเงินจึงไม่สามารถจัดหาน้ำมัน จํานวน 60,000 ลิตร มาทดสอบระบบได้ จึงยังไม่มีการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว โดยมีต้นทุนค่าก่อสร้างคลังเก็บน้ำมัน จํานวน 14.79 ล้านบาท
การที่สิ่งก่อสร้างและระบบบางส่วนยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จและไม่ได้ใช้ประโยชน์ดังกล่าว ส่วนหนึ่งเกิดจากในการทําสัญญาก่อสร้างได้กําหนดงานการก่อสร้างระบบและทดสอบระบบไว้แยกจากกันรวมถึงกําหนดการจ่ายเงินตามงวดงาน ดังนั้น เมื่องานก่อสร้างระบบแล้วเสร็จและได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างระบบ ไปแล้วแต่ยังมิได้ทดสอบระบบ จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์งานก่อสร้างทั้งระบบนั้นได้
2.2 อุปกรณ์ที่ชํารุด ปัจจุบันใช้ประโยชน์ไม่ได้ พบว่า ปัจจุบัน MOTOR GENERATOR SET (M/G SET) สามารถใช้ได้เพียง 1 ตัว เท่านั้น ชํารุด 3 ตัว คือ หมายเลข 1 3 และ 4 ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วยในการเริ่มเดินเครื่อง(CHOKE) และอุปกรณ์สําหรับจ่ายไฟฟ้าเข้าเครื่อง (MEDIUM VOLTAGE CONTACTOR) เสีย รวมทั้งตัวเครื่องมีความสั่น (VIBRATION) สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดโดยมูลค่าของ M/G SET 3 ตัว ๆละ 12.06 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 36.18 ล้านบาท
การที่อาคาร โรงงาน ระบบงาน และอุปกรณ์ในการซ่อมเรือบางส่วนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังกล่าว ส่งผลให้เสียโอกาสในการใช้เงิน ระบบงาน และอุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมเป็นจํานวนทั้งสิ้น 225.03 ล้านบาท และส่งผลให้เกิดปัญหาในการซ่อมทําเรือ คือ ต้องยกอุปกรณ์เรือบางส่วนไปซ่อมทำที่หน่วยงานอื่น ซึ่งทําให้เสียเวลาและส่งผลให้การควบคุมการซ่อมทําเรือไม่เป็นไปตามแผน อีกทั้งยังเกิดความไม่สะดวกต่าง ๆ ในการซ่อมทําเรือภายใน อรม.อร. อีกด้วย
การดําเนินการเกี่ยวกับงานส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จรวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าว กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทํางานขึ้นตรวจสอบและพิจารณาแก้ไขแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่เพื่อดําเนินการต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. แจ้งให้กรมอู่ทหารเรือนําปัญหาและข้อจํากัดที่พบในอดีต รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนของการซ่อมทําเรือ เช่น ความล่าช้าในการส่งมอบเรือให้ อรม.อร. ซ่อมทําหรือความล่าช้า ในขั้นตอนการซื้ออะไหล่เพื่อซ่อมทําเพิ่มเติม เป็นต้น มาเป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนการซ่อมทําเรือให้มีความเหมาะสมและสอดรับกับปัจจัยต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
2. หากกองทัพเรือเห็นถึงความจําเป็นที่จะให้ อรม.อร. สามารถซ่อมทําเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาให้การสนับสนุนในการดําเนินการจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ให้เพียงพอต่อปริมาณงานที่ต้องซ่อมทํา ทั้งนี้ ต้องเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างสมดุลต่อกันและสอดคล้องกับปัจจัยอื่น ๆ ในการซ่อมทําเรือด้วย เช่น งบประมาณในการซ่อมทําเรือ ศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ และหากปัจจัยใดที่ยังคงมีข้อจํากัดในเรื่องการเพิ่มปริมาณ ก็ควรพัฒนาด้วยการเพิ่มคุณภาพและความหลากหลายขึ้นมาทดแทน เช่น ควร มีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะในการซ่อมทําที่สูงขึ้นและสามารถซ่อมทํางานได้หลากหลายประเภทขึ้น เป็นต้น
3. ควรเน้นนโยบายด้านการป้องกันการเสื่อมสภาพของเรือ โดยการตรวจสภาพอย่างสม่ำเสมอ
และต่อเนื่อง หากเห็นว่าอะไหล่ใดมีปัญหาควรดําเนินการซ่อมแซม บํารุง รักษา หรือเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสียหายก่อนที่อะไหล่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะเสื่อมสภาพตามไปด้วย นอกจากนี้ อะไหล่หรือวัสดุบางประเภทที่เมื่อมีความจําเป็นต้องใช้โดยการจัดหาต้องใช้ระยะเวลา ควรมีการสํารองวัสดุหรืออะไหล่ประเภทนั้น ๆ ตามความเหมาะสม
4. จัดให้มีการเพิ่มศักยภาพของบุคลากร โดยประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อทําการฝึกอบรมเพิ่มความรู้ความชํานาญแก่ช่างของ อรม. อร. ให้สามารถทํางานไดอย่างหลากหลายหน้าที่ เนื่องจากการทํางานของแต่ละแผนกไม่ได้ปฏิบัติงานในเวลาเดียวกัน สามารถบริหารจัดการบุคลากรได้ และส่งเสริมให้ช่างฝีมือที่มีความชํานาญอยู่แล้วได้ศึกษาเพิ่มเติมในสาขาเฉพาะทางมากขึ้น
5. สั่งการให้หน่วยงานผู้ใช้เรือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการส่งมอบเรือเพื่อเข้ารับการซ่อมทำที่ อรม.อร. ได้ทันตามวันเวลาที่ระบุไว้ในแผนการซ่อมทําเรือ เพื่อให้ อรม.อร.สามารถเริ่มซ่อมทําเรือตามแผน แต่ละลําได้ตามกําหนดที่วางไว้
6. แจ้งกรมอู่ทหารเรือให้มีการควบคุมระยะเวลาการทํางาน คุณภาพงาน การวัดผลงาน และจัดทํามาตรฐาน Man/Hour รวมทั้งการจัดทําประวัติการซ่อม และระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์ในแต่ละชิ้น เมื่อได้รับการซ่อมแล้ว เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการให้เหมาะสมต่อไป
7. ติดตามให้กรมอู่ทหารเรือเร่งรัดงานส่วนที่เหลือที่ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์และซ่อมแซมอุปกรณ์ ที่ชํารุดบกพร่องให้สามารถใช้งานได้โดยเร็ว
8. ติดตามให้กรมอู่ทหารเรือมีการวางแผนและจัดเตรียมงบประมาณซ่อมแซมบํารุงรักษาครุภัณฑ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้การใช้งานครุภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นอกจากนี้ ควรจัดทําบันทึกการใช้งานของครุภัณฑ์หรือสมุดควบคุมการใช้งาน (LOG BOOK ) ทําให้สามารถรู้ช่วงเวลาการใช้ประโยชน์จากครุภัณฑ์และผู้รับผิดชอบหากเครื่องมีปัญหา อีกทั้ง ยังเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมการใช้งานของผู้บริหาร โดยกองทัพเรือควรพิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณตามความเหมาะสม
9. ในการทําสัญญาจ้างครั้งต่อไป สําหรับงานที่มีลักษณะการทํางานเป็นระบบ ซึ่งจะใช้ประโยชน์ ได้ต่อเมื่อการดําเนินงานทั้งระบบแล้วเสร็จและมีการทดสอบระบบ ดังนั้น งานลักษณะเช่นนี้ กองทัพเรือ ควรพิจารณาให้มีการชําระเงินตามสัญญาต่อเมื่อระบบแล้วเสร็จและผ่านการทดสอบระบบแล้วเท่านั้น
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(40) เครื่องมือตรวจอากาศกรมอุตุฯ ชำรุด - ใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(41) กองทุนพัฒนาสตรีมุกดาหาร ถูกสวมสิทธิไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา
เปิดกรุผลสอบสตง.(42) สวนปาล์มนาร้างชุมพร นายทุน/ขรก.ร่วมเพียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(43) แขวงการทางสุราษฎร์ฯ แก้น้ำท่วมขังถนนรอบสมุย รำรางเล็ก-บางจุดไม่สำเร็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(44) ชลประทานพังงา ก่อสร้างแหล่งน้ำชนบท ล่าช้า-ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(45) พัฒนาสาขาท่องเที่ยวหนองคาย ไม่มีประสิทธิภาพ ราคากลางแพง-ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(46) โรงงานปุ๋ย/ธ.เมล็ดพันธุ์ประจวบฯ/ตึกสนง./เครื่องจักร ไม่เปิดใช้งาน
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/