“...การกำหนดราคากลางงานก่อสร้างไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลาง เนื่องจากคณะกรรมการกำหนดราคากลางไม่ได้คำนวณถอดรูปแบบรายการเพื่อหาราคากลางที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ และช่วงระยะเวลาที่จัดหา แต่ใช้ราคาและรายละเอียดจำนวนวัสดุ ค่าแรงงานและค่า FACTOR F จากการประมาณราคาเพื่อขอรับเงินอุดหนุนโครงการ ซึ่งทำให้ราคากลางสูงกว่าความเป็นจริง...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 45 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบดำเนินงานโครงการพัฒนาสาขาการท่องเที่ยวภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จังหวัดหนองคาย
@ โครงการพัฒนาสาขาการท่องเที่ยวภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จังหวัดหนองคาย
การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาศัยการส่งออกเป็นสำคัญ แต่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงสง่ผลให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศชะลอตัวลง รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจใน ประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จึงได้จัดสรรงบประมาณ 58,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจโดยเน้นโครงการที่จะเป็นการเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ การจ้างงาน การลงทุน และการสร้าง งาน แผนงานด้านการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในหลายแผนงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณในครั้งนี้ เนื่องจากการ ท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศปีละหลายแสนล้านบาท
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 6 จังหวัดอุดรธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเงินงบประมาณ รายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2545 ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (งบกลาง) วงเงิน 58,000 ล้านบาท ไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพได้ระดับมาตรฐาน เพิ่มทางเลือกใหม่สำหรับการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมบทบาทชุมชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ของประชาชนในกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย จึงได้ตรวจสอบโครงการพัฒนาสาขาการท่องเที่ยวที่ได้รับอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจ าปี พ.ศ. 2545 โดยมีพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดหนองคาย จำนวน 5 โครงการ วงเงิน 36.95 ล้านบาท เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัดและมีผล คุ้มค่าหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคใด เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลการตรวจสอบ
1. การจัดทำโครงการไม่เหมาะสม
โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและปรับสภาพภูมิทัศน์หนองแล้ง มีการลดรายการก่อสร้าง จำนวน 2 รายการ คือรายการถมที่ และห้องน้ำ-ห้องส้วม ซึ่งเดิมมีอยู่แล้ว และนำมาเปลี่ยนแปลงเป็นรายการก่อสร้างใหม่ 14 รายการ (มี 2 รายการไม่มีแบบรูปรายการก่อสร้าง) ได้ขอเปลี่ยนแปลงรายการที่เพิ่มใหม่ไปยังอำเภอที่รับผิดชอบเพื่อพิจารณาดำเนินการขออนุมัติจากสำนักงบประมาณ แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ และมีการเบิกจ่ายเงิน สาเหตุเนื่องจากในขั้นตอนการขออนุมัติครั้งแรกไม่มีการสำรวจพื้นที่โครงการเพื่อหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ
ข้อเสนอแนะ
1) ก่อนการจัดทำโครงการให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู สำรวจพื้นที่โครงการเพื่อหาความเหมาะสมและความเปน็ไปได้ในการก่อสร้างแต่ละรายการ และการเปลี่ยนแปลงรายการกอ่สร้างให้ติดตามผลการขออนุมัติจากสำนักงบประมาณก่อนดำเนินการจัดจ้าง
2) เมื่อมีการขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบประมาณเสนอผ่านอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภูควรติดตามผลการขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบประมาณว่ามีปัญหาอุปสรรคใดหรือไม่เพียงใด
3) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 6 จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยรับตรวจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบให้ถูกต้องก่อนดำเนินการว่าก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ หากพบว่าทำให้เกิดความเสียหายให้หาตัวผู้รับผิดชอบและดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี
2. การบริหารโครงการไม่มีประสิทธิภาพ
จากการตรวจสอบการก่อสร้างพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหนองบัวบานของสำนักงานเทศบาลตำบลปาก คาด พบว่าบางรายการมีการเปลี่ยนสถานที่ก่อสร้างบางรายการไม่มีแบบรูปและรายการละเอียด เนื่องจากไม่ มีการสำรวจพื้นที่ก่อนการจัดทำโครงการ มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่ดำเนินการทำให้การดำเนินงานขาดการ ต่อเนื่อง และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องละเลยไม่จัดทำแบบรูปและรายการละเอียดให้ครบถ้วน มีผลให้ การก่อสร้างต้องขยายระยะเวลาก่อสร้างเกิดความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ประชาชนและ นักท่องเที่ยวได้ใช้ประโยชน์จากโครงการล่าช้าไม่เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาล
ข้อเสนอแนะ
1) ก่อนการจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณและดำเนินการจัดจ้างให้นายกเทศมนตรีตำบลปากคาดสำรวจพื้นที่โครงการเพื่อหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการก่อสร้างแต่ละรายการก่อนดำเนินการ
2) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 6 จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือแจ้งให้นายกเทศมนตรีตำบล ปากคาด แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ละเลย และพิจารณาโทษตามควรแก่กรณีแล้ว
3) การดำเนินการโครงการอาจไม่บรรลุวัตถุประสงค์ จากการสัมภาษณ์ประชาชนและนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่ง มีความคิดเห็นดังนี้
3.1) ปัญหาและผลกระทบจากการใช้บริการจากโครงการ
โครงการก่อให้เกิดแหล่งมั่วสุมอบายมุขของบรรดาเด็กวัยรุ่นมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาท โครงการมี ปัญหาขยะก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ส่วนโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหนองบัวบานเป็นที่ลุ่มเวลาฝนตก มีน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน เนื่องจากอยู่ในที่ลุ่มทำให้การจราจรไม่สะดวกอาจก่อให้เกิดอันตราย จากการ สังเกตการณ์มีการใช้ประโยชน์บนถนนคอนกรีตรอบหนองบัวบานร่วมกันในการใช้เป็นทางวิ่งออกกำลังกายของประชาชนและนักท่องเที่ยว และใช้เป็นทางวิ่งการจราจรของผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะบนท้องถนนและมีผู้ขับขี่ยานพาหนะรวดเร็วก่อให้เกิดอันตรายได้
ปัญหาและผลกระทบจากการใช้บริการจากโครงการของประชาชนและนักท่องเที่ยวอาจทำให้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ และไม่สร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่
สาเหตุเนื่องจากยังไม่มีระบบการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ เช่นการจัดเจ้าหน้าที่ตรวจตราดูแล รักษาความปลอดภัย การจัดฝึกอบรมพัฒนาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน องค์กรชุมชนในท้องถิ่น การบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขในการจัดรถเก็บขยะไว้บริการ โครงการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวหนองบัวบานอยู่ในที่ลุ่ม เวลาฝนตกหนักการระบายน้ำไม่ทันก่อให้เกิดการท่วมขังและถนนที่ใช้ร่วมกันทั้งเป็นทางวิ่งออกกำลังกาย และการจราจรของยวดยานพาหนะยังไม่มีสัญญาณหรือป้ายจราจร
3.2) ปัญหาการได้รับทราบการประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากโครงการ ประชาชนและ นักท่องเที่ยวมีการได้รับทราบการใช้ประโยชน์จากโครงการน้อย สาเหตุเนื่องจากแต่ละโครงการมีการก่อสร้างเพิ่งแล้วเสร็จและหน่วยงานมีการประชาสัมพันธ์น้อย ซึ่งอาจทำให้โครงการไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ และไม่สร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านการตลาด การจัดเก็บรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่
ข้อเสนอแนะ
ให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของโครงการต่าง ๆ ปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เก้า โดยหาทางแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น การใช้ศักยภาพทางด้านการบริหารจัดการทั้งทางด้านบุคลากรและงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาทางด้านต่าง ๆ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การบำรุงรักษา และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว โดยรณรงค์สร้างจิตสำนึกและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากโครงการทั้งทางแผ่นพับทางสื่อวิทยุ และขอความร่วมมือกับส่วนราชการอื่น ๆ ในการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย จะทำให้เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีโอกาสทางการตลาดในการจดัเก็บรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้น
ข้อสังเกตอื่น
การดำเนินโครงการมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด
1. การกำหนดราคากลางงานก่อสร้างไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลาง เนื่องจากคณะกรรมการกำหนดราคากลางไม่ได้คำนวณถอดรูปแบบรายการเพื่อหาราคากลางที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ และช่วงระยะเวลาที่จัดหา แต่ใช้ราคาและรายละเอียดจำนวนวัสดุ ค่าแรงงานและค่า FACTOR F จากการประมาณราคาเพื่อขอรับเงินอุดหนุนโครงการ ซึ่งทำให้ราคากลางสูงกว่าความเป็นจริง
2. ที่ทำการปกครองจังหวัดหนองคายเบิกจ่ายเงินล่าช้า เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้เบิกจ่ายเงินขาดความรู้ และไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตีความหมายของข้อความในเอกสารของทางราชการทำให้มีการเบิก จ่ายเงินงบประมาณล่าช้า
3. กำหนดรายละเอียดวัสดุเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างถนนพื้นทางเป็นเหล็ก RB Æ 6 ม.ม. แต่การก่อสร้างจริงผู้รับจ้างใช้เหล็กตะแกรงสำเร็จ (WIRE MESH) เกิดจากผู้ควบคุมงานไม่ได้ควบคุมงานให้ผู้รับจ้าง ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง ทำให้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น จำนวนเงิน 427,388 บาท
ตามข้อ 1-3 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 6 จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยรับตรวจดำเนินการตามข้อสังเกตแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตามผล
4. งานก่อสร้างโครงการกอ่สร้างพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวหนองเลิง เทศบาลตำบลดอนหญ้า นาง อ.พรเจริญ จ.หนองคาย พบว่า
4.1 การก่อสร้างถนนมีปริมาณดินลูกรังที่ใช้ในการก่อสร้างถนนต่ำกว่าปริมาณที่ต้องใช้ถมถนนตามสัญญา ซึ่งผู้รับจ้างได้ใช้ดินถมแทนดินลูกรังในจำนวนที่ขาดหายไปเป็นผลให้เทศบาลดอนหญ้านางต้องจ่ายเงินค่าจ้างเกินความเป็นจริง จำนวนเงิน 59,190 บาท
4.2 มีการถมดินบริเวณโนนหนองเลิง และในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานชลประทานจังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการจ้างเหมาขุดลอกหนองเลิงตามโครงการขุดลอกหนองเลิง งบประมาณดำเนินการ 10,000,000 บาท โดยมีแบบรูปรายการละเอียดการก่อสร้างประกอบสัญญาของกรมชลประทาน พบว่า จุดที่ ผู้รับจ้างต้องนำดินจากการขุดลอกหนองไปทิ้งเพื่อถมเกลี่ยปรับแต่งมีจุดโนนหนองเลิงรวมอยู่ด้วย
ตามข้อ 4.1 และ 4.2 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 6 จังหวัดอุดรธานี อยู่ระหว่างตรวจสอบสืบสวนซึ่งจะแยกรายงานมาให้ทราบต่างหากต่อไป
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(40) เครื่องมือตรวจอากาศกรมอุตุฯ ชำรุด - ใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(41) กองทุนพัฒนาสตรีมุกดาหาร ถูกสวมสิทธิไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา
เปิดกรุผลสอบสตง.(42) สวนปาล์มนาร้างชุมพร นายทุน/ขรก.ร่วมเพียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(43) แขวงการทางสุราษฎร์ฯ แก้น้ำท่วมขังถนนรอบสมุย รำรางเล็ก-บางจุดไม่สำเร็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(44) ชลประทานพังงา ก่อสร้างแหล่งน้ำชนบท ล่าช้า-ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/