ในรายงานยังได้ระบุว่ามีการปราบปรามอย่างกว้างขวางอันเป็นเหตุทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยนั้นไม่เสรี ซึ่งการปราบปรามดังกล่าวนั้นก็รวมไปถึงการโจมตีที่ได้รับการสนับสนุนโดยภาครัฐ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การข่มขู่ การคุกคาม อันมุ่งเป้าไปยังกลุ่มบุคคลที่จัดกิจกรรมออนไลน์ ที่รวมไปถึงกลุ่มม็อบเยาวชนที่เริ่มจะมีการประท้วงตั้งแต่เดือน ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา
สืบเนื่องจากที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเสนอข่าวกรณีหน่วยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ชื่อว่า Freedom House ของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าประเทศไทยนั้นยังคงไม่มีเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเสรี และได้เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่นๆทั่วโลก
สำนักข่าวอิศราจึงขอนำเสนอรายงานฉบับดังกล่าวอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ประเทศรัสเซียนั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีการตกลงของเสรีภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลก ขณะที่ผู้ใช้งานในประเทศจีนนั้นต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เลวร้านที่สุดในโลกสำหรับการเข้าถึงและพูดคุยกันออนไลน์ได้อย่างมีอิสระ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลสำคัญที่หน่วยงานเฝ้าระวังของสหรัฐอเมริกาได้มีการรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา
โดยคะแนนประจำปีเกี่ยวกับเสรีภาพการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศรัสเซียประจำปีนี้นั้นพบว่าลดลงไปอยู่ที่ 7 จุด ไปอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุด อันเนื่องมาจากเหตุการณ์การรุกรานประเทศยูเครน ตามรายงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีชื่อว่า Freedom House ในหัวข้อรายงานว่า Freedom on the Net 2022
“ทำเนียบประธานาธิบดีเครมลินได้มีการบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อที่ขจัดบัญชีโซเชียลมีเดียอื่นๆที่ต้องการจะนำเสนอเกี่ยวกับปฏิบัติการณ์พิเศษทางทหารของรัสเซีย” รายงานระบุ
ขณะที่ประเทศจีนซึ่งได้คะแนนจาก Freedom House ไปแค่ 10 เต็ม 100 คะแนนก็พบว่ายังเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต โดยในรายงานระบุว่าทางกรุงปักกิ่งยังคงจะดำเนินมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดในภาคส่วนด้านเทคโนโลยีของประเทศ และมีการออกกฎใหม่ระบุว่าทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในประเทศจะต้องมีการใช้ระบบอัลกอริทึมที่จะสนับสนุนการโปรโมตแนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ทั้งนี้สำหรับรายงานจาก Freedom House ในปี 2565 ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการด้านเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตในช่วงระหว่าง มิ.ย. 2564-พ.ค. 2565 ในพื้นที่ 70 ประเทศ ครอบคลุมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 89 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก
พบข้อมูลว่าในประเทศเหล่านี้มีแค่ 17 ประเทศเท่านั้นที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นเสรีภาพอย่างแท้จริง โดยมีคะแนนตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป โดยกลุ่มประเทศที่จะมีคะแนนตั้งแต่ 39 คะแนนลงไปนั้นจะเป็นประเทศที่ไม่มีเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต และในประเทศที่มีคะแนนระหว่าง 40-69 คะแนนจะถือว่ามีเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ตแค่บางส่วน
“ระบอบเผด็จการกำลังสร้างกำแพงดิจิทัลที่ขัดขวางการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างเสรี และทำให้ง่ายขึ้นต่อการปิดปากผู้เห็นต่าง ส่งเสริมการบิดเบือนข้อมูลที่เป็นอันตาย และสามารถจะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้” นายไมเคิล เจ อับบราโมวิทช์ (Michael J. Abramowitz) ประธานของ Freedom House กล่าว
โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ประเทศอย่างอินโดนีเซีย,มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์,กัมพูชา และสิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่มีเสรีภาพอินเทอร์เน็ตเป็นบางส่วนขณะที่ประเทศอย่างเช่นไทย,เมียนมา และเวียดนามถือว่าไม่มีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต
ส่วนประเทศอย่างเช่นบังกลาเทศซึ่งปีก่อนนั้นแตะระดับจุดต่ำสุด ล่าสุดในปี 2565 คะแนนของประเทศบังกลาเทศนั้นก็เพิ่มไปอยู่ที่ 3 จุดไปอยู่ 43 คะแนน
ขณะที่ประเทศจีนซึ่งรั้งท้ายของอันดับประเทศต่างๆในรายงานนี้ ก็มีการระบุเหตุผลด้วยเช่นกัน ว่าเพราะว่าเนื้อหาของประเทศจีนอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งในปี 2565 และประเด็นเรื่องเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ถูกเซ็นเซอร์อย่างหนัก และก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ อาทิ ประเด็นเรื่องสิทธิสตรี,การและการต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ เนื้อหาของประเด็นเหล่านี้ก็ถูกเซ็นเซอร์อย่างหนักเช่นกัน
“การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน,นักสิทธิมนุษยชน,สมาชิกกลุ่มศาลนา,กลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ,รวมไปถึงการใช้งานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปจากการแชร์เนื้อหาในโลกออนไลน์นั้นส่งผลทำให้บางคนต้องเผชิญกับดทษจำคุกที่รุนแรง” รายงานระบุ และอ้างว่านี่คือเหตุผลทำให้ประเทศจีนเกี่ยวเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมกดขี่การใช้งานออนไลน์มากที่สุดในโลก
โดยกรุงปักกิ่งนั้นได้มีการสร้างนโยบายและกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างการควบคุมของรัฐบาลเหนือบริษัทเทคโนโลยีของประเทศจีน ซึ่งบริษัทที่ฝ่าฝืนข้อบังคับของรัฐบาล อาทิการทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถหลบเลี่ยงไฟร์วอลของภาครัฐได้นั้นจะต้องเผชิญโทษปรับที่มีมูลค่าสูงหรือบทลงโทษที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
@ประเทศฟิลิปปินส์ยังคงไม่เปลี่ยนไป
ในบรรดาประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียน พบว่าประเทศฟิลิปปินส์นั้นยังคงเป็นประเทศที่สามารถทำคะแนนได้สูงที่สุดโดยอยู่ที่ 65 คะแนน อย่างไรก็ตาม เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตในฟิลิปปินส์ก็ยังคงถูกคุกคามด้วยการบิดเบือนข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งในช่วงก่อนและระหว่างการเลือกตั้งในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ บุตรชายของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ชนะการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนถล่มทลาย
ในรายงานยังได้ตั้งข้อสังเกตต่อไปโดยระบุว่าพบว่ามี “การติดแท็กสีแดง” ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะไปกล่าวหากลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมเป็นกบฎคอมมิวนิสต์หรือเป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจ ยังคงดำเนินต่อไปในประเทศฟิลิปปินส์
ขณะที่ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซียก็พบว่ามีคะแนนดีขึ้นเล็กน้อยโดยอยู่ที่ 49 คะแนนและ 59 คะแนนตามลำดับ
คะแนนเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในรายงานระบุว่าเสรีภาพทางออนไลน์นั้นยังคงถูกคุกคามในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในรัฐปาปัว ที่ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถูกชะงัก และมีรายงานว่าผู้วิจารณ์รัฐบาล,สื่อมวลชน และผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปนั้นยังคงต้องข้อหาคดีอาญาและถูกคุกคามจากการทำกิจกรรมออนไลน์
ขณะเดียวกันในประเทศมาเลเซีย ก็มีรายงานว่าเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตนั้นยังคงถูกจำกัดเนื่องจากรัฐบาลได้บล็อกเว็บไซต์และสั่งให้มีการนำเนื้อหาบางส่วนออกไป ด้วยข้ออ้างว่าเนื้อหามีความอ่อนไหวทางการเมืองหรือทางศาสนา และยังพบว่ามีการดำเนินคดีและการสืบคดีต่อกรณีการโพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย และการแสดงออกทางออนไลน์ในรูปแบบอื่นนั้นก็ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อเสรีภาพอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง
ส่วนประเทศอื่นเช่นประเทศไทยนั้นก็พบว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 3 คะแนนจึงทำให้ประเทศไทยมีคะแนนเสรีภาพอินเทอร์เน็ตไปอยู่ที่ 39 คะแนน แม้ว่าจะมีรายงานว่าอินเทอร์เน็ตทั่วราชอาณาจักรนั้นจะยังคงถูกควบคุมอย่างเข้มงวดก็ตาม
ในรายงานยังได้ระบุว่ามีการปราบปรามอย่างกว้างขวางอันเป็นเหตุทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยนั้นไม่เสรี ซึ่งการปราบปรามดังกล่าวนั้นก็รวมไปถึงการโจมตีที่ได้รับการสนับสนุนโดยภาครัฐ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การข่มขู่ การคุกคาม อันมุ่งเป้าไปยังกลุ่มบุคคลที่จัดกิจกรรมออนไลน์ ที่รวมไปถึงกลุ่มม็อบเยาวชนที่เริ่มจะมีการประท้วงตั้งแต่เดือน ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา
รายงานของ Freedom House ระบุต่อไปว่าแม้ว่าประเทศบังกลาเทศจะมีการพัฒนาโดยมีคะแนนอยู่ที่ 43 คะแนน แต่ว่าทางการก็ยังคงตามจับผู้ที่วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล,รัฐมนตรีและผู้นำทางการเมืองต่างๆ โดยอาศัยกฎหมายที่ว่าว่ากฎหมายความปลอดภัยทางดิจิทัลหรือ DSA ที่สนับสนุนการเซ็นเซอร์เนื้อหาออนไลน์
ทั้งนี้ย้อนไปในปี 2564 ผู้อำนวยการด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้เคยกล่าวถึงปัญหาของกฎหมายดังกล่าวว่าบทบัญญัติที่ไม่มีความชัดเจน และมีความกว้างจนเกินไปของกฎหมาย DSA นั้นมักจะถูกนำมาใช้เพื่อลงโทษต่อฝ่ายตรงข้ามที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
รายงาน Freedom House ระบุต่อไปว่าความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยทางศาสนาของยังเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศบังกลาเทศซึ่งชื่อว่า Awami League นั้นพบว่ามีการเพิ่มการคุกคามต่อสมาชิกฝ่ายค้านและนักวิจารณ์ รวมไปถึงเล่นงานสื่อและภาคประชาสังคมเพิ่มขึ้นอีกเป็นสองเท่า
ส่วนที่เมียนมานั้น ในรายงานระบุว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่มีพฤติกรรมอันเลวร้ายที่สุดในแง่ของการคุกคามเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมาได้มีการสร้างอินทราเน็ตในประเทศเพื่อที่จะปิดปากฝ่ายค้านและเพื่อที่จะดำเนินการกระชับอำนาจของตัวเองเอาไว้ นับตั้งแต่มีการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564
โดยอินเทอร์เน็ตในเมียนมานั้นมักจะถูกปิดหรือถูกจำกัดเมื่อทางกองทัพได้ดำเนินยุทธวิธีทางทหารเพื่อจัดการกับกลุ่มที่เรียกร้องประชาธิปไตยหรือกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งผลการศึกษานั้นระบุว่าพลเมืองเมียนมาสามารถจะเข้าถึงเว็บไซต์ได้แค่ประมาณ 1,200 เว็บไซต์ผ่านการเชื่อมต่อของระบบโทรศัพท์มือถือ
ขณะที่ประชากรส่วนมากของประเทศยังคงไม่สามารถจะเข้าถึงแพลตฟอร์มซึ่งเป็นที่นิยมอย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ได้
รายงานข่าวประเทศที่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องการบล็อกอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น
@เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตในรัสเซีย
รายงานข่าวระบุว่าประเทศรัสเซียนั้นมีการลดลงของคะแนนว่าด้วยเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยตกลงไปเหลืออยู่ที่ 23 คะแนน
โดยภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากการรุกรานยูเครน พบว่าเครมลินได้มีการบล็อกทั้งเฟซบุ๊ก,ทวิตเตอร์และอินสตราแกรม ทำให้รัสเซียไม่สามารถเข้าถึงข้อมุลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสงคราม และจำกัดความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมุลกับผู้ใช้งานในประเทศอื่นๆไปโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้เว็บไซต์คิดเป็นจำนวนมากกว่า 5,000 เว็บนั้นถูกบล็อกในประเทศรัสเซีย และกฎหมายยังกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี สำหรับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับสงครามยูเครน
โดยภายในสิ้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา รัฐบาลรัสเซียยังได้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ข่าวต่างๆ อาทิ Radio Free Europe/Radio Liberty (RFE/RL) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวในเครือของ Radio Free Asia พร้อมด้วย the Voice of America (VOA) และ BBC ขณะที่มอสโกยังได้มีการบล็อกเว็บไซต์ภาคประชาสัมคม อาทิ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลและฮิวแมนไรท์วอทช์
ในรายงานของ Freedom House กล่าวทิ้งท้ายว่าเหล่าบรรดาผู้นำเผด็จการนั้นได้พยายามที่จะระงับ ป้องกันปัญหาที่จะเกิดจากเนื้อหาทางออนไลน์ด้วยการป้องกันไม่ให้ประชาชนสามารถรับรู้หรือเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มาจากประเทศที่มีคะแนนเสรีภาพทางสื่อในลำดับที่สูงกว่า ดังนั้นผู้นำประเทศที่เป็นประชาธิปไตยก็ควรที่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาความยืดหยุ่นทางการเมืองและสังคมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยการรักษาผลประโยชน์ที่มาจากการมีอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างและเสรีเอาไว้
เรียบเรียงจาก:https://freedomhouse.org/sites/default/files/2022-10/FOTN2022Digital.pdf,https://www.benarnews.org/english/news/philippine/internet-freedom-10182022131347.html