“...สิ่งที่กลายเป็นภาพจำของนายสุริยะคือ กรณีถูกกล่าวหาว่า ทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิช่วงปี 2547-2548 จนถูกสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลตั้งฉายาไว้ในช่วงสิ้นปี 2548 ไว้ว่า ‘ซากซีทีเอ็กซ์’ ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตรในขณะนั้นเป็นอย่างมาก และในท้ายที่สุดต้องปรับ ครม. โยกนายสุริยะไปนั่งรองนายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแทน...”
ISRA-SPECIAL : ย้อนรอย 'แผลเก่า' 3 ข้อกล่าวหา ‘สุริยะ' ในอดีต
หลังจากที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เปิดโพรไฟล์ของ 3 รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้แก่ ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รัฐมนตรีว่าการ, ‘มนพร เจริญศรี’ และ ‘สุรพงษ์ ปิยะโชติ’ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการ ซึ่งล้วนแต่เป็นโควต้าภายใต้พรรคเพื่อไทยทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนประวัติของ ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ ตามที่ได้เน้นย้ำไปก่อนหน้านี้ว่า เป็นการหวนกลับมานั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในรอบ 21 ปี หลังครั้งก่อนนั่งเป็นรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2548 รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งครั้งนั้น 2 ปี 9 เดือน 30 วัน
โดยตลอดการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมครั้งนั้น สิ่งที่กลายเป็นภาพจำของนายสุริยะคือ กรณีถูกกล่าวหาว่า จัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิช่วงปี 2547-2548 จนถูกสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลตั้งฉายาไว้ในช่วงสิ้นปี 2548 ไว้ว่า ‘ซากซีทีเอ็กซ์’ (อ้างอิง: สื่อตั้งฉายารัฐบาล"ประชาระทม" ผู้จัดการออนไลน์) ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตรในขณะนั้นเป็นอย่างมาก และในท้ายที่สุดต้องปรับ ครม. โยกนายสุริยะไปนั่งรองนายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแทน
นอกจากนี้ ในยุคสมัยดังกล่าวไม่ได้มีแค่โครงการซีทีเอ็กซ์เพียงโครงการเดียวที่ทำให้ ‘สุริยะ’ ถูกกล่าวหาและมีภาพลักษณ์ในเชิงลบ แต่มีอีก 2 ข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับโครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์ของประเทศที่กลายเป็นนบ่วงพันคออยู่นานปี
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอพาย้อนไปสำรวจ 3 ข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับ 3 บิ๊กโปรเจ็กต์ระดับหมื่นล้านบาท
บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อปี 2548
ที่มา: นิตยสารผู้จัดการฉบับเดือนกันยายน 2548
@ข้อกล่าวหาที่1 : ตำนาน CTX
เริ่มต้นกับมหากาพย์โครงการจัดซื้อสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจวัตถุระเบิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (CTX9000) อ้างอิงจากเว็บไซต์ไทยพับลิก้า ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า ช่วงเวลาที่มีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดดังกล่าว เป็นช่วงหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2544 บจ.ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในขณะนั้น มีมติปรับเปลี่ยนระบบตรวจกระเป๋าสัมภาระใหม่ โดยจะต้องมีระบบตรวจวัตถุระเบิดในกระเป๋าบนสายพานตามแบบยุโรป โดยเห็นชอบงบประมาณในการปรับเปลี่ยนระบบในวงเงิน 1,530 ล้านบาท (36 เหรียญสหรัฐฯตามค่าเงินในขณะนั้น) ให้กลุ่มบริษัท MJTA เป็นผู้ปรับเปลี่ยนแบบก่อสร้าง และให้กลุ่มกิจการร่วมค้า ITO (ประกอบด้วยอิตาเลี่ยนไทย, ทาเคนากะ และโอบายาชิ) เป็นผู้ก่อสร้าง
ซึ่งในกระบวนการจัดซื้อ มีการพบว่า ตัวแทนจากบริษัทที่จัดจำหน่ายจากประเทศสหรัฐอเมริกา พยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใน 3 ประเทศคือ ไทย ฟิลิปปินส์ และจีน เพื่อให้จัดซื้อชุดอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบวัตถุระเบิดของบริษัท และนำไปติดตั้งประจำท่าอากาศยานต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ โดยในประเทศจีนและฟิลิปปินส์ ได้มีการจ่ายเงินสินบนแล้ว ส่วนประเทศไทยพบว่ามีความพยายามที่จะติดสินบนเจ้าหน้าที่ แต่ยังไม่ทันจะจ่าย ก็ถูกตรวจพบเสียก่อน
ในผลการสอบสวน บริษัทที่ขาย CTX ยอมรับว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ตัวแทนจำหน่ายภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีความตั้งใจจะใช้เงินซึ่งเกิดจากส่วนต่างของราคา ไปติดสินบนเจ้าหน้าที่ของไทย แต่ขณะที่มีการเตรียมควบรวมกิจการ การสอบสวนดังกล่าวอยู่ในช่วงที่การจ่ายเงินสินบนยังไม่เกิดขึ้น จึงยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการจ่ายเงินสินบนให้กับใคร เป็นจำนวนเท่าไร แต่การเตรียมการเหล่านี้ ทางการสหรัฐฯ ถือว่าเป็นความผิด เนื่องจากบริษัท อินวิชั่น รู้เห็น แต่ไม่มีการคัดค้าน
โดยบริษัทที่จัดจำหน่ายยอมสารภาพความผิดทั้งหมด และต้องยอมจ่ายเงินค่าปรับกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์ ในคดีที่ถูก ก.ล.ต. สหรัฐฯ ฟ้อง และต้องยอมจ่ายค่ายอมความอีก 800,000 ดอลลาร์ ในอีกคดีที่ถูกกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้อง เพื่อแลกกับการยุติคดี
ต่อมาภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปไต่สวนด้วย ก่อนจะส่งสำนวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอยู่ 2 ข้อกล่าวหา ได้แก่ กรณีกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รวมถึงข้าราชการระดับสูงใน บทม. และบริษัทเอกชนรวม 25 ราย จัดซื้อเครื่องในราคาแพงเกินจริง และ บทม. เป็นนายหน้าในการจัดซื้อเครื่อง CTX และกรณีข้าราชการระดับสูงใน บทม. พัวพันกับการรับประโยชน์หรือรับสินบนจากบริษัทนายหน้าขายเครื่อง CTX ดังกล่าว ระหว่างเดินทางไปดูงานต่างประเทศที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดในปี 2555 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงผลการพิจารณาคดี เห็นว่าพยานหลักฐานทั้งหมดไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดโดยปราศจากข้อสงสัย จึงมีมติเอกฉันท์ให้ยกคำร้อง โดยยืนยันไม่มีการเมืองกดดันการพิจารณา นายสุริยะจึงพ้นบ่วงจากการถูกกล่าวหานี้ไป
ที่มาภาพ: Airport Rail Link
@ข้อกล่าวหาที่ 2 แอร์พอร์ตลิงค์ฉาว
คดีที่ 2 ที่นายสุริยะตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาคือ คดีทุจริตโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (โครงการแอร์พอร์ตลิงค์) มูลค่า 25,000 ล้านบาท ซึ่งเปิดการประกวดราคาโครงการเมื่อเดือนธ.ค. 2547 โดยได้ผู้ชนะการประกวดราคา คือกลุ่มกิจการร่วมค้า บี. กริมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเสนอราคา 25,907 ล้านบาท ต่ำากว่าราคากลางเพียง 10 ล้านบาท
โดยเริ่มพบกระบวนการผิดปกติในเดือน มิ.ย. 2548 เมื่อมีการก่อสร้างโครงการแล้ว ซึ่งเริ่มมีรายงานข่าวถึง ความผิดปกติของวงเงินค่าใช้จ่ายของโครงการ เช่น ค่าธรรมเนียม การกู้เงินที่ตั้งไว้ 1,666 ล้านบาท อย่างไรก็ตามนายจิตต์สันติ ธนะโสภณ ผู้ว่าการ รฟท. ในขณะนั้น ชี้แจงว่า การตั้งวงเงิน ค่าธรรมเนียมการเงินดังกล่าวมีไว้สำาหรับชดเชยส่วนต่างของอัตรา แลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนสูง ขณะที่นายปริญญา จินดาประเสริฐ ประธานกรรมการ รฟท. ในขณะนั้น ให้ข้อมูลว่า เคยมีการสั่งการ ให้ผู้ว่าการ รฟท. และกรรมการอีกคนหนึ่งตรวจสอบเรื่องนี้แล้ว แต่ไม่เคยมีคำาสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนแต่อย่างใด
จนในเดือน เม.ย. 2549 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทำาหนังสือถึงผู้ว่าการ รฟท.ในขณะนั้น เพื่อขอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดปกติของสัญญาก่อสร้างโครงการแอร์พอร์ตลิงค์หลายประการ รวมถึงการที่ รฟท. ออกหนังสือ รับรองการชำระคืนค่าธรรมเนียมการกู้เงิน 1,666 ล้านบาท ให้แก่ผู้รับเหมาก่อนโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ทั้งที่คณะรัฐมนตรี มิได้มีมติกำาหนดให้ รฟท. ต้องจ่ายเงินดังกล่าว
และภายหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 คตส. ได้เข้ามาสอบสวนการทุจริตในโครงการดังกล่าว และ ส่งเรื่องต่อให้ ป.ป.ช. จากการสอบสวนพบว่า โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ไม่มีการตรวจสอบวงเงินค่าธรรมเนียมตั้งแต่แรก ทำให้ผู้รับเหมาเบิกจ่ายค่าธรรมเนียมการกู้เงินทั้งหมดตามที่ตั้งวงเงิน ไว้รวม 1,666 ล้านบาท ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วค่าธรรมเนียม ดังกล่าวมีเพียง 471 ล้านบาทเท่านั้น
ทำให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง และความผิดทางอาญา นายจิตต์สันติ ธนะโสภณ อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายไกรวิชญ์ หรือสุรางค์ ศรีมีทรัพย์ อดีตหัวหน้าสำนักงานกองกฎหมาย ข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เนื่องจากการไต่สวนพบว่า นายจิตต์สันติ มีการแก้ไขสัญญาในเอกสารประกวดราคาระหว่าง รฟท. กับบริษัทเอกชนเอื้อประโยชน์แก่เอกชน เป็นเหตุให้ รฟท.ได้รับความเสียหาย และล่าสุดเมื่อปี 2564 ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า นายจิตต์สันติ ธนะโสภณ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ลงโทษจำคุก 9 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 6 ปี ส่วนนายไกรวิชญ์หรือสุรางค์ยกฟ้อง ยืนตามศาลชั้นต้น
ส่วนนายสุริยะ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ยกคำร้องเนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ
อ่านประกอบ: เมนูคอร์รัปชั่น โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) / ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับจำคุก 6 ปี 'จิตต์สันติ' คดีแอร์พอร์ตลิงค์ ป.ป.ช. ฟ้องเอง
ที่มาภาพ: การบินไทย
@ข้อกล่าวหาที่ 3: ซื้อแอร์บัส การบินไทย
และสุดท้ายกับการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 ซึ่งจากการตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) พบว่า ในช่วงปี 2546-47 ครม.มีมติเห็นชอบโครงการจัดหาเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำนวน 2 ล็อตใหญ่ จัดซื้อในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับ บมจ.การบินไทย มูลค่าหลายหมื่นล้านบาทในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก ป.ป.ช.มีมติแจ้งข้อกล่าวหากับบุคคล 4 ราย ได้แก่ นายทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายพิเชษฐ สถิรชวาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม ,นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย
ส่วนนายสุริยะ ป.ป.ช. มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป เนื่องจากในขณะที่มีการอนุมัติให้มีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ ดังกล่าวนั้นนายสุริยะ ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบและกำกับดูแล บมจ.การบินไทย แต่เป็นนายพิเชษฐ ในฐานะ รมช.คมนาคม ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล บมจ.การบินไทย ก่อนที่ในเดือนก.ค. 2566 คณะกรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่ มีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องคดีนี้ไปในที่สุด
กลายเป็นว่า ทั้ง 3 คดีความที่ถูกกล่าวหามา ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รอดพ้นบ่วงข้อครหาทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ในวาระ 4 ปีต่อจากนี้ รัฐมนตรีคนใหม่เจ้าเก่าที่พ้นจากคดีความต่างๆแล้ว แต่งานด้านคมนาคมขนส่งและการผลักดันเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ย่อมต้องถูกจับตามองและตั้งข้อสังเกตไปจนถึงข้อสงสัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอน!
วาระหลังคืนรังเก่า กระทรวงคมนาคม ในรอบ 21 ปี
‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ จะมีแผลใหม่ เกิดขึ้นหรือไม่
ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด
ที่มาภาพปก: Suvarnabhumi Airport / Airport Rail Link / การบินไทย
อ่านประกอบ
- ‘ป.ป.ช.’แจ้งข้อกล่าวหา‘ทักษิณ-พิเชษฐ-ทนง-กนก’ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีซื้อ‘แอร์บัส’ 10 ลำ (1)
- คาใจ 'สุริยะ' รอด! พิเชษฐ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาคดีแอร์บัส 13 ก.พ.นี้ - 'ทนง' พร้อมสู้ (2)
- จะมาถามอะไรอีก! ‘สุริยะ’ ปัดตอบปมรอด ป.ป.ช.ไม่แจ้งข้อกล่าวหาคดีซื้อแอร์บัส 10 ลำ (3)
- 'สุริยะ'โทรหาให้คำปรึกษาสู้คดี! 'พิเชษฐ'เลื่อนรับทราบข้อกล่าวหาซื้อแอร์บัสเป็น 16 ก.พ. (4)
- คำต่อคำ : (ติวเตอร์) ‘สุริยะ' ให้คำปรึกษา 'พิเชษฐ' สู้คดีซื้อแอร์บัส อย่างไร? (5)
- ส่งหนังสือ 'ทักษิณ'แล้ว! เลขาฯ ป.ป.ช.แจงคดีแอร์บัสแจ้งข้อกล่าวหา'สุริยะ'ใหม่ได้ ถ้ามีซัดทอด (6)
- ให้การเท็จ-ยัดคดี! ‘ทักษิณ’ แจงกรณีแอร์บัส นายกฯควายที่ไหนจะไปเจรจาซื้อขายของเอง (7)
- ข้อมูลไม่เพียงพอ! เลขาฯ ป.ป.ช. คอนเฟิร์ม ทักษิณรอด คดีจัดซื้อแอร์บัส ปี 45-47 (8)