พ.อ.ซอว์ ชิต ทูเป็นผู้ควบคุมคอมเพล็กซ์คาสิโน ชเวก๊กโก ซึ่งพื้นที่นี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นพื้นที่ศูนย์หลอกลวงฉ้อโกง โดยเงินที่ได้จากการดำเนินการศูนย์เหล่านี้กลายเป็นเงินทุนให้กับกองทัพส่วนตัวของเขาจำนวนนับหลายพันคน และมีอุปกรณ์ครบครัน โดยนับตั้งแต่ปี 2553 กองกำลังนี้มีการดำเนินการในฐานะกองกำลังรักษาชายแดนที่สนับสนุนกองทัพเมียนมา
กระแสสงครามกลางเมืองเมียนมาช่วงนี้คงหนีไม่พ้นการผลัดกันเข้ายึดครองเมืองเมียวดี ซึ่งล่าสุดมีข่าวว่าเมืองนี้ได้กลับไปอยู่ในความครอบครองของฝ่ายรัฐบาลทหารอีกครั้งหนึ่ง โดยปรากฏชื่อ พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ขุนศึกเมียนมา ที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นต้นเหตุของการที่ฝ่ายกองทัพกลับไปยึดเมืองเมียวดีได้
จากรายงานข่าวที่ว่ามานี้ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับ พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ให้มากขึ้นผ่านรายงานสื่อต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้
สองสัปดาห์หลังจากที่เมียนมาสูญเสียฐานในเมืองเมียวดี ในพื้นที่จุดผ่านแดนที่สำคัญ ในที่สุดฝ่ายทหารที่ยึดอำนาจเมื่อสามปีก่อนก็สามารถเข้ายึดเมืองนี้คืนได้
รัฐบาลทหารเมียนมาที่ผ่านมานั้นประสบความพ่ายแพ้อยู่หลายครั้งกลับดูเหมือนจะรักษาแนวรบเมืองเมียวดีไว้ได้อย่างเหนียวแน่น นี่เป็นเหตุทำให้มีการวิเคราะห์กันถึงความซับซ้อนเกี่ยวกับสถานการณ์ที่นี่
กองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ซึ่งเข้ายึดฐานทัพใกล้กับเมืองเมียวดีได้ทั้งหมดอย่างรวดเร็วในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เหมือนกับว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในสงครามกลางเมือง เพราะเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ซึ่งมีการยึดเมืองที่มีการค้าส่วนใหญ่กับประเทศไทยและเป็นที่ตั้งของคอมเพล็กซ์คาสิโนที่ร่ำรวยหลายแห่ง
อย่างไรก็ตาม KNU ไม่เคยยึดตัวเมืองเมียวดีได้เลย แค่ใช้กองกำลังขนาดเล็กจากกองกำลังปกป้องประชาชนหรือว่า PDF เข้าควบคุมฐานทัพของกองพัน 275 แค่อยู่นอกตัวเมือง แต่กองกำลังตำรวจ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้ารัฐที่อยู่ในเมืองก็ยังปฏิบัติหน้าที่กันตามปกติ
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบได้รับชัยชนะคือการปรากฏตัวของกองกำลังติดอาวุธกะเหรี่ยง ที่ไม่นานมานี้ได้กลายเป็นพันธมิตรกับเผด็จการทหาร และทำให้ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่ากลุ่ม KNU จะตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างไรกันแน่ ขณะที่ผู้นำ KNU กล่าวว่าการหลีกเลี่ยงการปะทะกันระหว่างกลุ่มกะเหรี่ยงด้วยกันคือสิ่งสำคัญอันดับแรก
@เหตุผลที่ KNU ถอนทัพ
กองกำลังคิดอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในเหล่ากะเหรี่ยงเรียกตัวเองว่ากองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA) นำโดย พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ขุนศึกที่แยกออกจาก KNU ในช่วง ค.ศ. 1990
พ.อ.ซอว์ ชิต ทูเป็นผู้ควบคุมคอมเพล็กซ์คาสิโน ชเวก๊กโก ซึ่งพื้นที่นี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นพื้นที่ศูนย์หลอกลวงฉ้อโกง โดยเงินที่ได้จากการดำเนินการศูนย์เหล่านี้กลายเป็นเงินทุนให้กับกองทัพส่วนตัวของเขาจำนวนนับหลายพันคน และมีอุปกรณ์ครบครัน โดยนับตั้งแต่ปี 2553 กองกำลังนี้มีการดำเนินการในฐานะกองกำลังรักษาชายแดนที่สนับสนุนกองทัพเมียนมา
พ.อ.ซอว์ ชิต ทู (อ้างอิงวิดีโอจาก Karen News)
ในเดือน ม.ค. พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ประกาศว่าเขาตัดความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารแล้ว แต่ KNU กล่าวหาว่าเขากำลังให้ความช่วยเหลือกับกองพัน 275 ที่ถูกขับไล่แต่ยังปฏิเสธที่จะยอมแพ้
อีกเหตุผลหนึ่งที่ KNU ต้องพิจารณาก็คือขีดความสามารถทางอากาศของกองทัพอากาศเมียนมา โดยมีการใช้กองกำลังทางอากาศเพื่อทำลายล้างพื้นที่อื่นๆ กองทัพภาคพื้นดินได้รับความพ่ายแพ้
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานว่า เฮลิคอปเตอร์ Mi35 และเครื่องบิน Y12 ทิ้งระเบิดตําแหน่งทางยุทธศาสตร์ของ KNU ในเมืองเมียวดี ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก และทำให้อีกหลายพันคนต้องหาที่หลบภัยบริเวณชายแดนไทย
แหล่งข่าวจาก KNU ยังกล่าวอีกว่า พวกเขาได้รับการร้องขอจากกองทัพไทยว่าอย่ายั่วยุให้เกิดการต่อสู้เพื่อควบคุมเมืองเมียวดี ซึ่งจะขัดขวางการค้าและส่งคลื่นผู้ลี้ภัยอีกจํานวนมากเข้ามาในประเทศไทย
@ชเวก๊กโกกับซอว์ ชิต ทู
ข้อมูลจากดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชเวก็กโก โดยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ริมแม่น้ำที่แห้งแล้งกลายเป็นพื้นที่ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐาน มีอาคารทั้งแนวรายและอาคารหลายชั้นเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากโดยในรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่ากองทัพ KNA ได้รับเงิน 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7,042,350,000 บาท)
"ศูนย์หลอกลวงหลายสิบแห่งที่จัดตั้งขึ้นในรัฐกะเหรี่ยงโดยเครือข่ายอาชญากรรมที่นําโดยจีนเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตามแนวชายแดนไทยนับตั้งแต่บริเวณชายแดนจีนปิดตัวลง" สถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา (USIP) รายงานเมื่อเดือน เม.ย.
พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ยังคงมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างอาญาจักรอาชญากรรมของตัวเขาเอง โดยพยายามทำให้แน่ใจว่าเขายังคงเข้าถึงบริการสำคัญต่างๆ เช่นความปลอดภัย การเชื่อมต่อสื่อสาร และระบบไฟฟ้า
สหราชอาณาจักรได้ออกมาตรการคว่ำบาตร พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ในปี 2566 ด้วยข้อหาว่าเขาได้ ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยกล่าวหาว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับ "การค้ามนุษย์"
โดยเหยื่อเหล่านี้ถูกบังคับให้ทำงานเป็นนักต้มตุ๋นและอยู่ภายใต้การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามข้อมูลเอกสารการคว่ำบาตรเมื่อเดือน ธ.ค.
แม้ว่า พ.อ.ซอว์ ชิต ทู จะมีอิทธิพลชัดเจนในภูมิภาคนี้ แต่ความเชื่อโยงที่เขามีกับรัฐบาลทหารก็เป็นเรื่องชัดเจน โดยเขาได้ตำแหน่งกิตติมศักดิ์สำหรับ “การปฏิบัติหน้าที่ดีเด่น” จาก พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร เมื่อเดือน พ.ย.2565
การยอมรับดังกล่าวสนับสนุนสถานะและอิทธิพลของ พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ในภูมิทัศน์ทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง
@อะไรที่เปลี่ยนไป
ในช่วงต้นเดือนเม.ย. 2566 เมืองเมียวดีกลายเป็นแนวหน้าเมื่อนักรบต่อต้านที่นําโดย KNU ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทัพชาติพันธุ์ที่ต่อสู้มายาวนานที่สุดของเมียนมาเดินหน้ารุกเข้าไปในพื้นที่และขับไล่ทหารรัฐบาลทหารหลายร้อยนายออกจากฐานทัพของพวกเขา
แต่สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป เมื่อ KNA ซึ่งครั้งหนึ่งเคยภักดีต่อรัฐบาลทหารประกาศย้ายข้าง หลังจาก พ.อ.ซอว์ ชิต ทู ประกาศว่ากองกําลังติดอาวุธที่รู้จักในชื่อกองกําลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) จะหยุดรับเงินเดือนและการปันส่วนจากกองทัพ
“เราไม่ต้องการจะต่อสู้กับชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเอง” พ.อ.ซอว์ ชิต ทู กล่าว
สถานะของ KNA ที่ประกาศว่าไม่จงรักภักดีต่อรัฐบาลทหารโดยสิ้นเชิงหรือให้คํามั่นว่าจะเป็นพันธมิตรกับกลุ่มกบฏได้กลายเป็นจุดสนใจขึ้นมา
การต่อสู้เมื่อวันที่ 20 เม.ย.บังคับให้ชาวเมืองกว่า 3,000 คนต้องหนีออกมาแค่เพียงในวันเดียว ในขณะที่กลุ่มกบฏต่อสู้เพื่อกวาดล้างทหารรัฐบาลเมียนมาที่ติดอยู่ที่จุดผ่านแดน
กองทัพเมียนมายึดครองเมียวดีได้อีกครั้ง (อ้างอิงวิดีโอจาก Firstpost)
กองทัพซึ่งยังคงมีอํานาจการยิงที่สําคัญได้ทําการโจมตีโต้กลับทำให้กองกำลัง KNU ต้อง "ล่าถอยชั่วคราว" จากเมียวดีไปตามแนวชายแดนไทย
ส่วนประเทศไทยได้ประกาศว่าการสู้รบได้คลี่คลายลงและหวังว่าจะเปิดจุดผ่านแดนอีกครั้งเนื่องจากการค้าได้รับผลกระทบ โดยระบุว่าพลเรือนส่วนใหญ่ถูกส่งกลับไปแล้ว และเหลืออีก 650 คน ที่ยังคงอยู่
“กองกําลัง KNLA จะทําลายกองกําลังรัฐบาลทหารและกองกําลังสํารองที่เดินทัพไปยังเมียวดี” นายซอว์ ตอว์ นี โฆษก KNLA กล่าว และกล่าวยืนยันว่าเพราะการสนับสนุนจากกองกำลัง KNA ของ พ.อ.ซอว์ ชิต ทู กองกำลังทหารเมียนมาบางส่วนจึงกลับมาเมียวดีได้
เรียบเรียงจาก:https://www.bbc.com/news/world-asia-68852449,https://www.firstpost.com/explainers/saw-chit-thu-myanmar-warlord-myawaddy-13763780.html