ความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นมาจากยีนที่ทำหน้าที่กำกับกิจกรรมของยีนตัวอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงยีนที่ชื่อว่า LZTFL1 ซึ่งยีนนี้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของเซลล์ปอดต่อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย โดยถ้าหากเป็นยีนที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงนั้นจะส่งผลทำให้เซลล์ในทางเดินหารใจและปอดไม่สามารถตอบสนองต่อไวรัสได้ในรูปแบบที่เหมาะสม และถ้าเซลล์ปอดไม่สามารถปกป้องร่างกายได้ดีพอ ไวรัสโควิด-19 ก็จะทำให้เชื้อโควิดนั้นแพร่เชื้อได้เร็วขึ้น ทำให้หายใจลำบากและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างเป็นวงกว้างและต่อระบบหายใจมากขึ้นด้วยเช่นกัน
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัส ที่ระบาดไปทั่วโลกเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปีนั้น ทำให้หลายภาคส่วนเริ่มมีการตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับปัจจัยอันนำไปสู่การติดเชื้อและการเสียชีวิตที่มากขึ้นอยู่หลายปัจจัย
และล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดก็ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่าปัจจัยเรื่องยีนที่แตกต่างกันในกลุ่มชาติพันธุ์นั้นอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการติดเชื้อโควิด-19
โดยสำนักข่าวอัลจาซีร่าของประเทศกาตาร์ได้มีการเขียนรายงานดังกล่าวเอาไว้ ซึ่งสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำรายงานดังกล่าวมาเรียบเรียง มีรายละเอียดดังนี้
หลังจากที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ขึ้น เราเห็นว่ามีกลุ่มคนบางกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งสิ่งที่เป็นที่น่าชัดเจนก็คือว่าผู้ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน,โรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นจะมีความเสี่ยงที่มากกว่าคนอื่น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาไม่นานก็ได้มีข้อพิสูจน์ที่มากขึ้นว่ากลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ในรูปแบบที่ไม่ได้สัดส่วนเช่นกัน
ที่ผ่านมานั้นประเด็นพฤติกรรมทางสังคมถือว่ามีบทบาทอย่างยิ่งที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มอาจจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องกรรมพันธุ์เฉพาะบุคคลก็อาจจะส่งผลกระทบได้ด้วยเช่นกัน
โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ระบุประเภทของยีนบางประเภทที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อความเสี่ยงของภาวะล้มเหลวของระบบทางเดินหายใจมากขึ้น 2 เท่า เมื่อต้องติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และการศึกษาดังกล่าวนี้อาจจะอธิบายได้ว่าทำไมคนที่มีภูมิหลังอันเฉพาะเจาะจงนั้นถึงมีความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยไวรัสมากกว่าคนอื่นๆ
ซึ่งทางด้านผู้วิจัยกล่าวว่างานศึกษาชิ้นนี้ถือว่ายากมากนการเก็บข้อมูลเพราะไม่ใช่แค่การค้นหายีนที่มีความเฉพาะเจาะจงเท่านั้น แต่ต้องดูด้วยว่ายีนดังกล่าวนั้นอยู่ในสภาวะเปิดซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าหรือไม่
จนกระทั่งนักวิจัยได้พบว่าความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นมาจากยีนที่ทำหน้าที่กำกับกิจกรรมของยีนตัวอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงยีนที่ชื่อว่า LZTFL1 ซึ่งยีนนี้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของเซลล์ปอดต่อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย โดยถ้าหากเป็นยีนที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงนั้นจะส่งผลทำให้เซลล์ในทางเดินหายใจและปอดไม่สามารถตอบสนองต่อไวรัสได้ในรูปแบบที่เหมาะสม และถ้าเซลล์ปอดไม่สามารถปกป้องร่างกายได้ดีพอ ไวรัสโควิด-19 ก็จะทำให้เชื้อโควิดนั้นแพร่เชื้อได้เร็วขึ้น ทำให้หายใจลำบากและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างเป็นวงกว้างและต่อระบบหายใจมากขึ้นด้วยเช่นกัน
รายงานข่าวการพบยีนซึ่งสร้างความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 (อ้างอิงวิดีโอจาก EnewsTrend)
ดังนั้นความสำคัญของานวิจัยนี้ก็คือว่าการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันเพื่อรักษาผุ้ป่วยโควิด-19 โดยมากแล้วจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต่อระบบภูมิคุ้มกันเป็นหลัก แต่พอเมื่อมีงานวิจัยนี้ออกมาแล้ว ก็ถือเป็นการเปิดประตูสำหรับการรักษาที่มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงหรือเสริมสมรรถนะของระบบหายใจที่จะป้องกันไวรัสเข้าสู่ร่างกาย และนักวิจัยยังได้ยืนยันอีกว่ายีนดังกล่าวนั้นไม่ได้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและไม่ส่งผลต่อการลดทอนประสิทธิภาพของวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-แต่อย่างใด
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่าการศึกษานั้นพบว่ายีนที่มีความเสี่ยงที่ว่ามานี้มักพบได้ในกลุ่มประชากรที่มีพื้นหลังจากกลุ่มเชื้อชาติในภูมิภาคเอเชียใต้ถึงร้อยละ 60 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรที่มีเชื้อชาติจากทวีปยุโรปที่พบยีนได้ร้อยละ 15 ขณะที่ในกลุ่มเชื้อชาติแอฟโฟร-แคริบเบียนนั้นพบยีนนี้อยู่ที่ร้อยละ 2 ดังนั้นนี่จึงหมายความว่าปัจจัยด้านพันธุกรรมนั้นไม่ได้อธิบายกรณีการเสียชีวิตในอัตราที่สูงในกลุ่มชาติพันธุ์ผิวสีและกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยได้อย่างสมบูรณ์นัก
อันที่จริงแล้วเหตุผลที่กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ในรูปแบบที่ไม่มีความเป็นสัดส่วนนั้นมีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่ค่อนข้างจะหลากหลายมาก โดยในการวิเคราะห์อย่างละเอียดกับกรณีการเสียชีวิตของกลุ่มชาวผิวสีและในกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยนั้นพบว่ามีปัจจัยบางประการที่สูงมากจนเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราคาดว่าน่าจะเกิดเมื่อมีอาการป่วยเกิดขึ้นในรูปแบบเดียวกัน
โดยปัจจัยทางสังคมถือว่าเป็นผู้เล่นหลักในกรณีนี้ ซึ่งในช่วงเวลาที่รัฐบาลหลายประเทศได้พยายามจะชักจูงให้ผู้คนทำงานที่บ้านในช่วงเวลาที่การระบาดพุ่งขึ้นสูงสุด ปรากฏว่ากลุ่มคนงานหลักๆนั้นยังคงต้องไปทำงานเพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้
ทั้งในสหราชอาณาจักร,ประเทศบังกลาเทศและประเทศปากีสถาน กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยในประเทศเหล่านี้ถือเป็นแรงงานหลักในภาคการขนส่ง ซึ่งงานภาคการขนส่งดังกล่าวก็มีความเสี่ยงในแง่ที่ว่าจะต้องมีการสัมผัสที่มากกว่างานอื่นๆด้วยเช่นกัน
กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยที่ว่านี้ยังคงมีปัจจัยที่มากกว่าในแง่ของการทำงานภาคสาธารณสุขและภาคบริการสังคม ซึ่งก็แน่นอนว่าในกลุ่มอาชีพเหล่านี้นั้นจะมีความเสี่ยงด้านการสัมผัสกับผู้อื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราจึงเห็นว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยที่ทำงานในภารสาธารณสุขและบริการสังคมนั้นมีตัวเลขติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นมากตามมาด้วย
นอกจากนี้มีข้อมูลระบุด้วยว่ากลุ่มประชากรที่เป็นชาวผิวสีและชาวเอเชียใต้นั้นยังมีความเสี่ยงในเรื่องของภาวะสุขภาพพื้นฐาน อาทิโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งก็เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่างๆด้วยเช่นกัน ถ้าหากต้องติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นกัน
วิดีโอจากสำนักงานสาธารณสุขอังกฤษประชาสัมพันธ์ให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์นั้นไปรับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 (อ้างอิงวิดีโอจาก NHS)
ส่วนอีกประเด็นที่ลงลึกในรายละเอียดมากขึ้นก็คือว่าภาวะโรคระบาดนั้นได้เปิดโปงกรณีความเหลื่อมล้ำในด้านระบบสาธารณสุข ซึ่งประชากรจากกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยนั้นได้รับความเดือดร้อนจากความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพที่ว่านี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่ากลุ่มชาติพันธุ์ย่อยดังกล่าวนี้มักจะมีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยากจนซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงทั้งการติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 โดยสภาวะความเสี่ยงที่ว่านี้ยังรวมไปถึงการที่ไม่สามารถจะทำงานท่บ้านได้ การอาศัยอย่างแออัดกับครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคน ผสมผสานกับภาวะสุขภาพพื้นฐานที่มีความเสี่ยงสูงจากความเหลื่อมล้ำอยู่แล้ว ดังนั้นนี่ก็น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญว่าคนกลุ่มนี้มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าเมื่อติดโควิด-19
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ชี้ประเด็นให้เห็นว่ายีนนั้นก็เป็นปัจจัยที่เล็กๆของภาพที่ใหญ่กว่าว่าทำไมคนกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยจึงมีความเสี่ยงเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 มากกว่านั่นเอง ซึ่งประเด็นสำคัญที่จะต้องจัดการก็คือในเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันของระบบสาธารณสุขที่กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยต้องเผชิญภายใต้ภาวะโรคระบาดที่เกิดขึ้นนี้ มิฉะนั้นผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคมก็ยังคงจะต้องทุกข์ทนต่อสภาวะนี้ต่อไปเรื่อยๆ
เรียบเรียงจาก:https://www.aljazeera.com/features/2021/11/17/could-this-gene-double-your-risk-of-dying-from-covid-19,https://fit.thequint.com/coronavirus/gene-ethnicity-covid-hospitalisation-and-death-risk#read-more
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/