ธรรมชาติเรามีเยอะ แต่ไม่รู้ขายยังไง เราหวังอย่างเดียวขอให้ขายได้ การแปรรูปมีเทคนิกอย่างไรผมไม่รู้ ทั้งข้าว ไข่ กาแฟ ขายเมื่อไหร่ที่กรุงเทพฯ 7 บาท ที่นี่ขายบาทเดียวยังไม่มีคนซื้อ ผมอยากให้คนที่นี่ลืมตาอ้าปากได้
อําเภอแม่แจ่ม เป็นจุดหนึ่งของพื้นที่เชียงใหม่ที่มีการทําเกษตรเชิงเดี่ยวอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ "ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์" ในพื้นที่ลาดชัน มีการบุกรุกทําลายป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนที่อยู่ในชั้นลุ่มน้ำสําคัญของประเทศ เกิดปัญหาการเผาพื้นที่ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต และเกิดปัญหาหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อระบบอาหาร ระบบสุขภาพของเกษตรกรและผู้ใช้ประโยชน์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
นอกจากนี้ การทําเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ป่า ยังส่งผลให่เกิดความเสียหายของระบบนิเวศ เกิดการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
"บ้านแม่ขี้มูก" ตําบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาดังกล่าว....
ชุมชนแห่งนี้ เคยเป็นชุมชนเกษตรกรที่มีการนําเกษตรเชิงเดี่ยว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาในพื้นที่ และได้มีการปรับเปลี่ยนสู่การ "หยุด" การปลูกข้าวโพดมาทําเกษตรอินทรีย์และการคืนพื้นที่ป่าตามนโยบายของกรมป่าไม้ โดยมีหน่วยงานของกรมป่าไม้ในการเข้ามาจัดการตามมาตร 19 ของ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ และเครือข่ายภาคธุรกิจของจังหวัดเชียงใหม่เข้ามาร่วมดําเนินการ พร้อมทั้งมีนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ให้มีการจัดการพื้นที่ที่อยู่ในแต่ละชั้น ลุ่มน้ำเพื่อการฟื้นคืนป่าและการอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่
บ้านแม่ขี้มูก ได้หยุดทําเกษตรเชิงเดี่ยวปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จํานวน 1,700 ไร่ และจัดการเกษตรอินทรีย์และการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตามรูปแบบของกองทุนฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืน FLR349 ซึ่งเป็นกองทุนที่พัฒนาขึ้นตามบันทึกความร่วมมือขององค์กรภาคี เครือข่ายของมูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย บริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สํานักงานประเทศไทย (WWFThailand) เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโมเดลเพื่อการฟื้นคืนป่าและสร้างระบบอาหารสร้างการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า สร้างรายได้และความหวงแหนของฐานทรัพยากร
ถนน หนทางไปบ้านแม่ขี้มูก
ในปี พ.ศ 2561 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการตามรูปแบบกองทุนจํานวน 7 ราย พื้นที่ 35 ไร่ และในปีที่ 2 พ.ศ. 2562 มีเกษตรกรกลุ่มเดิมและผู้เข้าร่วมใหม่ขยายพื้นที่ จํานวน 20 ราย พื้นที่ 163 ไร่ ทั้งในพื้นที่บ้านแม่ขี้มูกที่พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ และพื้นที่สหกรณ์นิคมแม่แจ่ม จํากัด บ้านโหล่งปง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการทําการเกษตรเชิงเดี่ยวในรูปแบบของการปลูกผักเมืองหนาว ที่มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงอย่างมาก โดยพื้นที่เองได้ปรับเปลี่ยนเป็นการทําเกษตรอินทรีย์ปลูกไม้ผลยืนต้นเมืองหนาว ทดแทน การทําเกษตรแบบเดิม ซึ่งผลผลิตที่ออกมาจากพื้นที่จะส่งเข้าระบบ Chiangmai Local Food โดยมีการวางแผนการผลิต การจัดการ และตลาดที่ขายในพื้นที่ให้กับโรงเรียน โรงพยาบาล ร้านค้า ร้านอาหารในตัวอําเภอแม่แจ่ม และตัวเมืองเชียงใหม่ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและจัดการในรูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อนําผลกําไรส่วนหนึ่งกลับมาสมทบเข้ากองทุนฯ เพื่อสร้าง ความยั่งยืนของพื้นที่
หนึ่งในโครงการที่เข้ามาสนับสนุนการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรบ้านแม่ขี้มูก นั่นก็คือ โครงการป่าให้สี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หรือโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยแนวคิดป่าให้สีและกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ สำหรับผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นเพื่อยกระดับผ้าทอตีนจก โดย ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย และคณะ
เริ่มต้นทีมวิจัยพยายามให้ชาวบ้านตระหนักรู้ถึงการดูแลรักษาป่า ต้องได้ประโยชน์จากป่าด้วย โดยการชักชวนกันเดินสำรวจป่า ไปถากบางๆ ที่ต้นไม้ เพื่อให้เห็นเนื้อไม้ ซึ่งหากเนื้อไม้เปลี่ยนสี แสดงว่า ต้นไม้ชนิดนั้น ให้สีได้
จากนั้นจึงนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไม้มาต้ม เพื่อให้ได้สีเพื่อนำมาย้อมผ้า
ทีมวิจัย เล่าให้ฟังว่า บ้านแม่ขี้มูล ขึ้นชื่อว่า จกผ้าได้สวยงาม จึงคิดค้นหากทอผ้าจกแบบเดิมใช้เวลานาน ก็ช่วยกันหาลายที่ไม่ต้องใช้เวลานานมาก ปัจจุบันนี้อยู่ในช่วงให้ชาวบ้านทอวัตถุดิบให้ ขั้นต่อไปจะให้อาจารย์เข้าไปช่วยสอนชาวบ้านเรื่องการออกแบและการตัดเย็บ
สำหรับการทำงานป่าให้สี ณ บ้านแม่ขี้มูก วันนี้มีการทำฐานข้อมูลไว้แล้วว่า โซนไหนของป่าที่มีไม้ให้สีอะไร อย่างเช่น "ต้นฮัก" ให้สีสวยมาก ออกสีชมพูอ่อนๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับน้ำด้วยในการย้อมสีแต่ละครั้งด้วย
"โจ" เจ้าของคำม่อนฟาร์ม
ส่วน "คำม่อนฟาร์ม" หรือฟาร์มหนอน BSF หนอนโปรตีนเลี้ยงสัตว์ เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านแห่งนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการเลี้ยงหนอนโปรตีน BSF เพราะจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม้โจ้ พบว่า หนอนโปรตีน BSF สามารถสร้างสารปฏิชีวะนะเพื่อใช้ในการต่อต้านการติดเชื้อและแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
หนอนโปรตีน ไม่มีสารที่ทำให้ก่อเชื้อโรคทุกชนิด ไม่มีสารพิษตกค้าง ดังนั้นหนอนโปรตีนจึงสะอาดมาก เหมาะแก่การทำอาหารเลี้ยงสัตว์
ประเทศแถบยุโรป สหรัฐฯ เริ่มใช้หนอนโปรตีนมาทำอาหารสัตว์ระดับอุตสาหกรรมแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงวัตถุดิบเช่น ปลาป่น ข้าวโพด ถั่วเหลือที่ปลูกโดยการใช้การตัดต่อพันธุ์กรรม (GMO) และสารเคมีหรือฮอร์โมนต่างๆ โดยการใช้โปรตีนจากแมลงแทน
"โจ" เจ้าของฟาร์มฯ บอกเราว่า นี่คือนวัตกรรมใหม่ โปรตีนทางเลือก ในอนาคตเราสามารถหนอนตัวนี้แทนอาหารสัตว์ ปลาป่นได้ เพราะมีโอเมก้า 3 มีกรดลอริก ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีบทบาทยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ที่สูงมาก ขณะที่ประโยชน์ของหนอนโปรตีนมีมากมาย อุดมไปด้วยไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม และโปรตีนมากกว่า 42%
จึงนับเป็นสัตว์ที่มีโปรตีนสูงสุด ทำให้สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ นก ไก่ ปลา ราคาแพงๆ ที่กินหนอนโปรตีนมีอัตราการแลกเนื้อสูง และมีสุขภาพดี แข็งแรง ขนเงางาม ฟื้นตัวเร็ว
งานหัตถกรรมทอผ้าตีนจก ซึ่งมีลวดลายดั้งเดิมที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์
ขณะที่นายสมพล อนุรักษ์วนภูมิ นายก อบต.บ้านทับ ให้ข้อมูลว่า ตำบลบ้านทับ มี 12 หมู่บ้าน มี 3 เผ่า ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาปากะญอ รวมพื้นที่ 2 แสนกว่าไร่ ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A มีพื้นที่ทำกินแค่ 15% เท่านั้น
"ชาวบ้านค้าขายไม่เก่ง มีปัญหาเรื่องหนี้สิน มากสุด 7 แสนบาท น้อยสุดอยู่ที่ 2 แสนบาท เกิดจากการปลูกข้าวโพด ดังนั้น เราหวังคนที่มีความรู้ มีความสามารถเข้ามาช่วยเรื่องการตลาด แม้แต่ผลิตผลทางการเกษตร ปลูกแล้วก็ขายไม่ได้ขาดทุนอย่างเดียว สุดท้ายก็กินยาตาย
ธรรมชาติเรามีเยอะ แต่ไม่รู้ขายยังไง เราหวังอย่างเดียวขอให้ขายได้ การแปรรูปมีเทคนิกอย่างไรผมไม่รู้ ทั้งข้าว ไข่ กาแฟ ขายเมื่อไหร่ที่กรุงเทพฯ 7 บาท ที่นี่ขายบาทเดียวยังไม่มีคนซื้อ ผมอยากให้คนที่นี่ลืมตาอ้าปากได้"
นายก อบต.บ้านทับ ยังพูดคุยกับเราทิ้งท้ายว่า โครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ตามพระราชดำริฯ ทำให้ชาวบ้านอยู่กับป่าได้ทุกวันนี้ เราอยู่ได้ ปลูกขายได้ แต่อยากให้ใช้หลัก 3 - 5 - 7 คือ ช่วง 3 ปีแรกต้องมีคนมาส่งเสริม ให้ความรู้ชาวบ้านก่อน ซึ่งวันนี้เราเริ่มเห็นต้นไม้ขึ้นแล้ว 5 ปี ขอให้หยุดเรื่องหนี้สินก่อน ส่วน 7 ปี ผลผลิตเริ่มออกผล ปลูกแล้วขายได้
ฉะนั้นช่องทางทางการตลาด จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนบนพื้นที่สูงแห่งนี้...
ตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมเกษตรกรในพื้นที่กว่า 100 คน ร่วมงาน “FLR349 ร่วมแรงปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”
ประกาศตั้งเป้า 50,000 ไร่ ภายใน 10 ปี ขับเคลื่อนโมเดลฟื้นป่าต้นน้ำ
แก้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ ด้วยการยุติการปลูกข้าวโพดเชิงเดี่ยวเคมีสูง
ข่าวที่เกี่ยวข้องเปิดโมเดลกองทุน FLR349 ทางรอดฟื้นฟูป่า โดยไม่ทิ้ง 'คนต้นน้ำ'
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/