ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบคนไข้จำนวน 48,000 รายที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แล้วติดโควิดกับคนไข้อีก 16,000 รายที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว พบว่าผู้ที่ฉีดวีคซีนนั้นพบว่าจะได้ประโยชน์สูงกว่าในแง่ที่ว่าจะมีอาการในปอดและอาการลิ่มเลือดที่น้อยกว่า ขณะที่นพ.ซิยาด อัล-อาลี หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของสำนักบริหารฯ และยังเป็นหนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย ได้กล่าวว่าสำหรับอาการอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้นพบว่าวัคซีน “ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการได้น้อยมาก”
ในช่วงที่วิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ปีที่สามนั้น พบว่ามีข้อกังวลอันเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีอาการโควิดระยะยาวหรือที่เรียกกันว่าลองโควิด พร้อมกับมีคำถามจากหลายคนว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนนั้นสามารถจะลดโอกาสที่จะเกิดอาการของลองโควิดได้หรือไม่
โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานที่เกี่ยวข้องที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์นิวยอร์กไทม์เกี่ยวกับคำถามว่าวัคซีนสามารถลดโอกาสของลองโควิดได้หรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
@การวิจัยนี้ไปถึงไหนแล้ว
แม้ว่าการวิจัยนั้นจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็มีผลการศึกษาที่ออกมาเรื่อยๆนั้นบ่งชี้ว่าการรับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 สามารถจะลดความเสี่ยงของการเกิดลองโควิดได้จริง แต่อย่างไรก็ตามการรับวัคซีนนั้นไม่ได้กำจัดความเสี่ยงไปอย่างสิ้นเชิง
โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพของสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลการศึกษาจำนวนแปดรายการที่ถูกตีถูกเผยแพร่ก่อนช่วงกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งในผลการศึกษาหกรายการนั้นพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 แล้วยังติดโควิดอยู่จะมีโอกาสการเกิดลองโควิดน้อยกว่าเป็นอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อโควิด
อาการลองโควิดของผู้ป่วยชาวเยอรมนี (อ้างอิงวิดีโอจากสำนักข่าว DW)
@วัคซีนสามารถให้การป้องกันได้มากน้อยเท่าไร ถ้าหากยึดโยงจากผลการศึกษาที่บอกว่าวัคซีนนั้นมีประโยชน์
ผลการศึกษาบางรายการนั้นระบุว่าการฉีดวัคซีนให้ประโยชน์ด้านภูมิคุ้มกันในระดับที่สำคัญ ขณะที่ผลการศึกษาอื่นๆบอกว่ามีประโยชน์เพียงเล็กน้อยต่อความเสี่ยงของอาการลองโควิด
ยกตัวอย่างเช่นข้อมูลจากบันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักบริหารการแพทย์ทหารผ่านศึกของสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าแค่ประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ต่อกรณีความเสี่ยงของอาการของไวรัสโควิด-19 ในระยะเวลาหกเดือนให้หลังจากการติดเชื้อ
ขณะที่ในสหราชอาณาจักรก็มีผลการศึกษาที่ใหญ่กว่าจำนวนสองรายการ โดยผลการศึกษารายการแรกจากข้อมูลบนแอปพลิเคชันในโทรศัพท์พบว่าในกลุ่มคนไข้จำนวนกว่า 1.2 ล้านราย ผู้ที่ฉีดวัคซีนนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการมีอาการตกค้างของไวรัสโควิด-19 ลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลการศึกษาอีกรายการที่ยังไม่ได้มีการทบทวนนั้นมาจากการสำรวจกลุ่มคนไข้กว่า 6,000 ราย พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงลดลงถึง 41 เปอร์เซ็นต์
ส่วนผลการศึกษาคนไข้ในสหรัฐฯจากบริษัทอาร์คาเดียที่เป็นบริษัทเก็บข้อมูลด้านสุขภาพซึ่งได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรว่าด้วยการฟื้นตัวของผู้ป่วยโควิดก็พบเช่นกันว่ามีประโยชน์ที่ได้มหาศาลจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ซึ่งแม้ว่าผลการศึกษาดังกล่าวนั้นจะยังไม่ใช่ผลการศึกษาที่ผ่านการทบทวนมาแล้ว แต่ผลการศึกษาดังกล่าวก็พบว่าจากจำนวนผู้ติดป่วยโควิดกว่า 240,000 ราย ในช่วงเดือน พ.ค. 2564 ผู้ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งโดสนั้นจะมีอัตราส่วนอยู่ที่หนึ่งในเจ็ดถึงหนึ่งในสิบ สำหรับความเสี่ยงที่จะมีอาการลองโควิดตั้งแต่สองอาการขึ้นไป ซึ่งอาการที่ว่ามานี้จะเกิดในช่วงระยะเวลาหลังจากพบว่าติดเชื้อโควิดตั้งแต่ 12-20 สัปดาห์
ยิ่งไปกว่านั้นผลการศึกษายังพบด้วยว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนเป็นโดสแรกหลังจากการติดโควิด-19 ก็จะมีความเสี่ยงน้อยกว่ามากในการป่วยด้วยอาการลองโควิดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และถ้าหากมีการฉีดวัคซีนหลังจากพบว่าติดเชื้อเร็วเท่าไร ความเสี่ยงต่ออาการลองโควิดก็จะน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น
ส่วนผลการศึกษาในประเทศอิสราเอลที่ยังไม่ได้รับการทบทวน ได้ระบุว่าในการสำรวจข้อมูลทางสุขภาพของกลุ่มประชาชนที่ได้รับวัคซีนจำนวนสองโดส พบว่ามีอัตราความเสี่ยงน้อยกว่าอยู่ที่ 54-82 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการต้องเผชิญกับ 10 อาการป่วยพื้นฐานของโควิดในระยะยาว
ผลการศึกษายังได้ระบุอีกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนนั้นพบว่าจะไม่มีแนวโน้มของอาการที่เกี่ยวข้องอาทิ การปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อและอาการอื่นๆเมื่อมากเท่ากับที่เกิดในกลุ่มประชากรทั่วไปที่ติดโควิด
อนึ่งผลการศึกษาที่ประเทศอิสราเอลนั้น ผู้ที่ดำเนินการวิจัยไม่สามารถจะยืนยันได้ว่าคนที่ติดโควิดนั้นมีการฉีดวัคซีนก่อนหรือหลังติดโควิด แต่มีการระบุว่าเพราะว่านโยบายด้านการฉีดวัคซีนของอิสราเอลนั้นให้ประชาชนส่วนมากฉีดวัคซีนแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าการติดเชื้อจะเกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว
กลับมาที่ข้อมูลการวิจัยที่สำนักบริหารการแพทย์ทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบคนไข้จำนวน 48,000 รายที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แล้วติดโควิดกับคนไข้อีก 16,000 รายที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว พบว่าผู้ที่ฉีดวีคซีนนั้นพบว่าจะได้ประโยชน์สูงกว่าในแง่ที่ว่าจะมีอาการในปอดและอาการลิ่มเลือดที่น้อยกว่า ขณะที่นพ.ซิยาด อัล-อาลี หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของสำนักบริหารฯ และยังเป็นหนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย ได้กล่าวว่าสำหรับอาการอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้นพบว่าวัคซีน “ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการได้น้อยมาก”
อาการลองโควิดกับผลกระทบต่อสมอง (อ้างอิงวิดีโอจาก Science Magazine)
@การศึกษาอื่นๆที่แสดงว่าการฉีดวัคซีนอาจจะไม่มีประโยชน์กับกรณีลองโควิด
นักวิจัยจากสหราชอาณาจักรได้วิเคราะห์บันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บข้อมูลของคนไข้และได้เปรียบเทียบกับข้อมูลคนไข้จำนวน 10,000 คนที่ฉีดวัคซีนกับไม่ได้ฉีดวัคซีนแต่ว่าได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อจะจำกัดวงกลุ่มในกลุ่มประชากรที่ยังมีความลังเลในด้านการฉีดวัคซีนหรือมีพฤติกรรมทางสาธารณสุขที่มีความสุ่มเสี่ยง
ผลการศึกษานั้นพบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดก่อนการติดเชื้อนั้นไม่ได้ลดความเสี่ยงของการมีอาการส่วนมากของลองโควิดแต่อย่างใด ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่าอาจจะต้องดูกันไปยาวๆว่าการฉีดวัคซีนนั้นอาจจะสามารถป้องกันกรณีการหายใจผิดปกติ หรือความผิดปกติทางปัญญาได้ แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ดังกกล่าวนั้นยังไม่มีการสรุปข้อมูลทางสถิติ
นักวิจัยกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ว่าที่ข้อมูลบันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจจะศึกษาเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงที่สุดแทนที่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทั่วไปซึ่งไม่ได้ไปพบแพทย์ก็เป็นไปได้ ทำให้ไม่มีข้อมูลกรณีวัคซีนป้องกันอาการลองโควิดในส่วนนี้
@ทำไมงานวิจัยจึงมีความขัดแย้ง
เหตุผลหนึ่งที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการศึกษานั้นก็เป็นเพราะว่าไม่ใช่ว่านักวิจัยทุกคนนั้นจะมีการนิยามเกี่ยวกับอาการลองโควิดในรูปแบบเดียวกัน ไม่ได้มีติดตามอาการลองโควิดในช่วงเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในบางงานวิจัยได้บันทึกอาการโควิดไว้นานสุดที่ 28 วันหลังจากการติดเชื้อ แต่ว่างานวิจัยอื่นๆบันทึกอาการผู้ป่วยไว้ถึงหกเดือนหรือนานกว่านั้น
ทั้งนี้การศึกษาที่อาศัยการสำรวจข้อมูลนั้นอาจจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมากเพราะต้องยึดโยงกับบันทึกทางการแพทย์และการศึกษาบางรายการนั้นก็ไม่ได้ยึดโยงกับความหลากหลายทางประชากรด้วยเช่นกัน อาทิ ข้อมูลบันทึกคนไข้ที่สำนักบริหารฯนั้นส่วนมากโดยมากแล้วจะเป็นผู้สูงอายุผิวขาวเพศชายเป็นต้น
@แล้วอะไรคือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปได้ว่าวัคซีนนั้นสามารถป้องกันอาการลองโควิด
ในปัจจุบันนั้นเหตุผลของอาการลองโควิดยังไม่เป็นที่แน่ชัด และอาการที่แตกต่างกันก็อาจจะมีสาเหตุพื้นฐานที่แตกต่างกันตามปัญหาสุขภาพของแต่ละคนด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาการลองโควิดนั้นอาจเกี่ยวกับการคงอยู่ของซากเชื้อและชิ้นส่วนทางพันธุกรรมที่ยังตกค้างอยู่หลังจากการติดเชื้อครั้งแรกผ่านไป
และก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งก็คือว่าปัญหาต่อเนื่องอันเกี่ยวกับอาการอักเสบหรือปัญหาในด้านการไหลเวียนของโลหิตนั้นมาจากการตอบสนองของระบบบภูมิคุ้มกันที่ยังคงทำงานอย่างแข็งขันและไม่สามารถปิดระบบไปได้หลังจากที่ผ่านการติดเชื้อไปแล้ว
พญ.อากิโกะ อิวาซากิ นักภูมิคุ้มกันวิทยาที่มหาวิทยาลับเยลได้กล่าววัคซีนนั้นอาจจะสามารถทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ยาวนานได้ ในกรณีสำหรับผู้ที่มีอาการจากร่องรอยที่ยังหลงเหลือของไวรัส เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีที่ถูกสร้างขึ้นจากวัคซีนนั้นจะไปกำจัดซากเชื้อด้วย
แต่สำหรับผู้ที่เกิดอาการลองโควิดที่มาจากการตอบของร่างกายหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับภูมิแพ้นั้น พญ.อิวาซากิกล่าวว่าในกรณีนี้วัคซีนอาจจะช่วยป้องกันได้แค่ช่วยคราวเท่านั้น และอาการบางอย่างเช่นความเมื่อยล้านั้นอาจจะกลับมาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง
@การฉีดวัคซีนช่วยได้หรือไม่ ถ้าคุณมีอาการลองโควิดอยู่แล้ว
ในช่วงเวลาที่มีการแจกวัคซีนครั้งแรก พบว่ามีผู้ป่วยบางรายที่มีอาการลองโควิด อาทิ อาการสมองล้า, อาการปวดข้อ, หายใจถี่และความเมื่อยล้า ผู้ป่วยเหล่านี้นั้นมีอาการที่ดีขึ้นหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน แต่ว่าผู้ป่วยอีกหลายคนก็ไม่พบความแตกต่างในอาการแต่อย่างใดหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว
และยังพบด้วยว่ามีผู้เคยป่วยโควิดในอัตราส่วนที่น้อยมากกล่าวว่าเขามีอาการที่แย่ลงหลังฉีดวัคซีน
รายงานข่าวจากรัฐยูทาห์ สหรัฐฯ ว่าผู้ป่วยที่มีอาการลองโควิดนั้นมีอาการดีขึ้นหลังฉีดวัคซีน (อ้างอิงวิดีโอจาก Fox News)
โดยการศึกษาของสำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักรพบว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 18-69 ปี ที่มีการรายงานอาการของพวกเขาระหว่างเดือน ก.พ.-ก.ย. 2564 นั้นพบว่าวัคซีนโดสแรกช่วยลดอาการลองโควิดได้ในอัตรา 13 เปอร์เซ็นต์ และวัคซีนโดสสองพบว่าลดอาการลองโควิดได้อีก 9 เปอร์เซ็นต์
การวิเคราะห์จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพของประเทศอังกฤษได้ประเมินว่าการศึกษาต่างๆที่ศึกษาว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนจะมีอาการลองโควิดหรือไม่นั้น พบข้อมูลว่าในการศึกษาส่วนมากแล้วผู้ที่มีอาการลองโควิดเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ผู้ป่วยเหล่านี้กลับมีอาการดีขึ้นหลังจากการฉีดวัคซีน แต่อย่างไรก็ตามก็มีการรายงานของผู้ที่อาการของตัวเองนั้นแย่ลงเช่นกัน
ทางหน่วยงานได้ตั้งข้อสังเกตว่าคำจำกัดความของคำว่าโควิดในระยะยาวนั้นมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ที่ทำการศึกษาเพราะว่าการศึกษาทั้งหมดยังเป็นการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการป่วย ซึ่งอาการป่วยดังกล่าวนั้นอาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากการฉีดวัคซีนก็เป็นไปได้
เรียบเรียงจาก:https://indianexpress.com/article/explained/coronavirus-vaccination-long-covid-7889884/,https://www.nytimes.com/article/long-covid-vaccines.html