อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าวนั้นจะพุ่งไปถึง 24 เปอร์เซ็นต์ถ้าหากเป็นผู้ซึ่งมีอายุมากกว่า 65 ปี และมีประวัติการใช้สารเสพติด,ส่วนผู้ที่มีอายุ 65 ปีและมีภาวการณ์ป่วยทางจิตเวชนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 23 เปอร์เซ็นต์, ผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ที่มีอายุ 65 ปีจะมีโอกาสป่วยซ้ำอยู่ที่มากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์,ผู้ที่ภาวะความผิดปกติของการปรับตัวนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ และผู้ที่เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะวิตกกังวลนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัสที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้พบกรณีผู้ติดเชื้อซ้ำในหลายรายด้วยเช่นกัน แม้ว่าบุคคลผู้นั้นจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วด้วยก็ตาม
โดยจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นส่งผลทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับสาเหตุของการติดเชื้อซ้ำว่ามาจากอะไรบ้าง และล่าสุดก็ได้มีรายงานจากต่างประเทศว่าภาวะผู้ป่วยทางจิตนั้นอาจจะมีกรณีการติดเชื้อซ้ำมากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มอื่น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
ผลการศึกษาล่าสุดนั้นพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ถ้าหากมีประวัติเกี่ยวกับสภาพทางจิตเวชหรือว่ามีประวัติเกี่ยวกับโรคทางจิตมาก่อน บุคคลนั้นจะมีเสี่ยงต่อการติดไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผลการศึกษาดังกล่าวถือว่าเป็นที่น่าสนใจเพราะอาจจะเป็นสิ่งที่อธิบายถึงประเด็นเรื่องความบกพร่องของและความผิดปกติบางอย่างที่จะเกี่ยวโยงไปถึงการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ผลการศึกษาที่ว่ามานี้นั้นมาจากการดำเนินงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (UCSF) และล่าสุดก็ได้มีการเผยแพร่การศึกษาลงบนวารสาร JAMA Network Open
ในการศึกษานั้นระบุด้วยว่าบุคคลที่อายุมากกว่า 65 ปีที่พบว่ามีภาวะผิดกติทางจิตนั้นพบว่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะประสบกรณีการติดเชื้อโควิดแบบก้าวหน้าหรือว่าการติดเชื้อซ้ำ
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ที่ได้สำรวจคนไข้ซึ่งมีอายุมากกว่า 65 ปี ที่พบว่ามีประวัติของการใช้สารเสพติด,ความผิดปกติทางจิต,ภาวะอาการไบโพลาร์,ภาวการณ์ปรับตัวผิดปกติ และผู้ที่มีความวิตกกังวลนั้นพบว่าจะมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 แบบก้าวหน้าสูงเพิ่มขึ้นอีก 24 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีพบว่าถ้าบุคคลนั้นมีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจ จะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำเพิ่มถึง 11 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ข้อมูลการสำรวจนั้นได้มีการแบ่งช่วงอายุ,เพศ,เชื้อชาติ,ชนิดของวัคซีน,การสูบบุหรี่ และภาวะสุขภาพพื้นฐานรวมถึงโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน,โรคหัวใจและหลอดเลือด, ปอด, ไต, และตับ เข้าไปประกอบการวิจัยด้วย ซึ่งผลการศึกษานั้นพบว่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่เคยมีประวัติอาการเจ็บป่วยด้านจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงห้าปีที่ผ่านมานั้นพบว่ามีความเสี่ยงในการที่จะติดโควิดซ้ำมากกว่าถึง 14.8 เปอร์เซ็นต์
มหาวิทยาลัยวอชิงตันศึกษาผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อสุขภาพจิต (อ้างอิงวิดีโอจากฟ็อกซ์นิวส์)
@ภูมิคุ้มกันที่เสื่อมลงเร็วมาก สำหรับกลุ่มคนไข้ที่มีความผิดปกติทางจิตเวช
ในแถลงการณ์ที่ออกโดย UCSF พญ.อาโออิเฟ โอ โดโนแวน ผู้เขียนงานวิจัยระดับอาวุโสกล่าวว่าการวิจัยนั้นชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อก้าวหน้าที่นั้นมีโอกาสเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตเวช ซึ่งการวิจัยดังกล่าวนั้นยังไม่ได้ลงลึกในปัจจัยเรื่องสังคม,ประชากร และอาการป่วยที่มีอยู่แล้ว
พญ.โดโนแวนกล่าวต่อด้วยว่ามีความเป็นไปได้ที่ภูมิคุ้มกันที่ได้มาหลังจากการฉีดวัคซีนนั้นจะเสื่อมลงเร็วมากขึ้น และเสื่อมอย่างรุนแรงมากขึ้น ในกลุ่มที่มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช และคนกลุ่มนี้นั้นจะมีความเสี่ยงมากขึ้นตามไปได้เมื่อต้องเจอกับโควิดสายพันธุ์ใหม่
ข้อมูลการวิจัยก่อนหน้านี้ซึ่งนำโดยนักวิทยาศาสตร์ของ UCFS แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีภาวะวิตกกังวล ความเครียด, อาการเครียดหลังจากผ่านเหตุการณ์อันเลวร้ายหรือพีทีเอสดี และอาการทางจิตอื่นๆ ซึ่งถูกกระตุ้นจากปัจจัยบางอย่าง นั้นมีส่วนที่ทำให้มีพฤติกรรมที่จะมีความเสี่ยงสูงสำหรับการติดเชื้อโควิด-19
ทั้งนี้ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาดังกล่าวนั้นมีจำนวน 263,697 ราย มีช่วงอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 66 ปี และ 90.8 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เข้าร่วมการศึกษานั้นเป็นผู้ชาย ซึ่งจากข้อมูลในปี 2565 พบว่าผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตเวชนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดแบบก้าวหน้าถึง 3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีประวัติทางจิตเวช
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าวนั้นจะพุ่งไปถึง 24 เปอร์เซ็นต์ถ้าหากเป็นผู้ซึ่งมีอายุมากกว่า 65 ปี และมีประวัติการใช้สารเสพติด,ส่วนผู้ที่มีอายุ 65 ปีและมีภาวการณ์ป่วยทางจิตเวชนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 23 เปอร์เซ็นต์, ผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ที่มีอายุ 65 ปีจะมีโอกาสป่วยซ้ำอยู่ที่มากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์,ผู้ที่ภาวะความผิดปกติของการปรับตัวนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ และผู้ที่เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะวิตกกังวลนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์
@เหตุใดกลุ่มผู้ที่เข้าร่วมการทดลองที่มีอายุน้อยนั้นจึงมีโอกาสน้อยกว่าผู้ที่สูงอายุต่อกรรีการติดเชื้อก้าวหน้า
แม้ว่าจะมีกรณีของการติดเชื้อที่ก้าวหน้าในกลุ่มผู้ซึ่งมีอายุน้อยกว่า แต่ผลการศึกษาก็พบว่ากลุ่มผู้มีอายุน้อยนั้นมีโอกาสที่จะติดเชื้อน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะความผิดปกติทางจิตนั้นพบว่าจะมีความเสี่ยงที่น้อยลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ถ้าหากเปรียบเทียบกับผู้ทดลงที่เป็นผู้สูงอายุที่มีอาการผิดปกติทางจิตเวช
โดย พญ.โดโนแวน กล่าวว่าความเสี่ยงที่ลดลงดังกล่าวนั้นอาจเป็นไปได้ว่ามาจากกรณีที่คนในวัยหนุ่มสาวซึ่งมีภาวะผิดปกติทางจิตนั้นอาจมีพฤติกรรมที่เข้าสังคมน้อยลงเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่อาจจะมีพฤติกรรมแยกตัวเองน้อยลง เพราะผู้สูงอายุที่มีภาวะทางจิตดังกล่าวนั้นถือว่าต้องได้รับการดูแลจากผู้ดูแลที่มากขึ้นตามไปด้วย
ผลการศึกษาได้ระบุต่อไปด้วยว่าผู้ที่มีอายุน้อยซึ่งมีกรณีการใช้สารเสพติด,ความผิดปกติด้านการปรับตัว,ความวิตกกังวล และภาวะพีทีเอสดีนั้นจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบบก้าวหน้ามากกว่าอยู่ที่ 11 เปอร์เซ็นต์,9 เปอร์เซ็นต์,4 เปอร์เซ็นต์ และ 3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่อายุน้อยกว่าที่ไม่มีอาการเหล่านี้
@ทำไมถึงได้มีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อก้าวหน้าในกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองซึ่งมีอายุมากกว่า
ข้อมูลจากทางด้านของ พญ.คริสเตน นิชิมิ ผู้เขียนงานวิจัยคนแรก ได้ระบุเอาไว้ว่าอุบัติการณ์ของการติดเชื้อซ้ำที่พุ่งสูงขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุนั้นอาจมาจากกรณีที่พบการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีน ซึ่งการลดลงของการตอบสนองดังกล่าวนั้นก็มีความสัมพันธ์กับกรณีความผิดปกติทางจิตเวช ซึ่งอาจจะทวีอาการมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุนั่นเอง
ขณะที่ พญ.นิชิมิได้ระบุต่อไปด้วยว่าผู้ที่สูงอายุที่มีความผิดปกติทางจิตเวชนั้นอาจจะต้องการบุคคลเข้าไปดูแลที่ถี่กว่า ซึ่งส่งผลทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับระบบสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
@โอกาสติดเชื้อแบบก้าวหน้าสำหรับผู้ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยจิตเวช
นักวิทยาศาสตร์ยังได้คำนวณถึงโอกาสที่จะมีความเสี่ยงของการติดเชื้อซ้ำในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการทางจิตเวช และยังได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆประกอบอาทิ โรคเบาหวานและโรคประจำตัวอื่นๆ
โดยผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำมากกว่าอยู่ที่ 23 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับผู้ที่ป่วย HIV ที่มีโอกาสติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์,ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีโอกาสติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 19 เปอร์เซ็นต์,ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำอยู่ที่ 18 เปอร์เซ็นต์ และผู้ป่วยด้วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีโอกาสป่วยซ้ำอยู่ที่ 13 เปอร์เซ็นต์
รายงานข่าวไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนอาจสร้างภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติที่สั้นกว่าสายพันธุ์อื่น (อ้างอิงวิดีโอตาก Global News)
พญ.โดโนแวนกล่าวว่าผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าภาวะจิตเวชนั้นทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำเทียบเท่ากับภาวะสุขภาพในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มซึ่งมีอายุมากกว่า 65 ปี ดังนั้นในประเด็นเรื่องสุขภาพจิตนั้นควรจะต้องถูกนำมาพิจารณาเช่นเดียวกับปัจจัยอื่นๆ และผู้ป่วยทางจิตนั้นก็สมควรที่จะต้องถูกนำไปพิจารณาให้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดบูสเตอร์ในลำดับแรกๆ เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยอื่นๆด้วยเช่นกัน