นิด้าโพลเผยปี 2566 ประชาชน 61.52% ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ 34.59% ชอบทีม 'แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด' 53.80% ติดตามฟุตบอลไทยลีก 36.13% ชอบทีม 'บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด'
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง 'ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ (2023-2024) และฟุตบอลไทยลีก 1 (2566-2567)' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-19 กรกฎาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ในฤดูกาล 2023-2024 และฟุตบอลไทยลีก 1 ในฤดูกาล 2566-2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.52 ระบุว่า ติดตาม ขณะที่ร้อยละ 38.48 ระบุว่า ไม่ติดตาม โดยผู้ที่ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ (จำนวน 1,538 หน่วยตัวอย่าง) ร้อยละ 84.72 ระบุว่า ติดตามเป็นครั้งคราว และร้อยละ 15.28 ระบุว่า ติดตามสม่ำเสมอ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2565 พบว่า ผู้ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษในการสำรวจ ปี 2566 มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น ขณะผู้ที่ไม่ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ มีสัดส่วน ลดลง เมื่อเปรียบเทียบความถี่ของผู้ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ กับผลการสำรวจ ปี 2565 พบว่า ผู้ติดตามเป็นครั้งคราว มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น ขณะผู้ที่ติดตามสม่ำเสมอ มีสัดส่วน ลดลง
สำหรับทีมที่ชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ในฤดูกาล 2023-2024 พบว่า ผู้ที่ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ (จำนวน 1,538 หน่วยตัวอย่าง)
ร้อยละ 34.59 ระบุว่า ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (Manchester United)
ร้อยละ 31.79 ระบุว่า ทีมลิเวอร์พูล (Liverpool)
ร้อยละ 7.09 ระบุว่า ทีมเชลซี (Chelsea)
ร้อยละ 5.72 ระบุว่า ทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ (Manchester City)
ร้อยละ 5.27 ระบุว่า ทีมอาร์เซนอล (Arsenal)
ร้อยละ 1.37 ระบุว่า ทีมอื่น ๆ ได้แก่ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด (Newcastle United) เอฟเวอร์ตัน (Everton) ท็อตแนม ฮอตสปอร์ส (Tottenham Hotspur) ฟูแลม (Fulham) น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ (Nottingham Forest) และเบิร์นลีย์ (Burnley)
ร้อยละ 14.17 ระบุว่า ไม่ชอบทีมใดเป็นพิเศษ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2565 พบว่า ผู้ที่ชื่นชอบทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (Manchester United) ทีมลิเวอร์พูล (Liverpool) ทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ (Manchester City) และทีมอาร์เซนอล (Arsenal) มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น ขณะผู้ที่ชื่นชอบทีมเชลซี (Chelsea) มีสัดส่วน ลดลง
เมื่อถามถึงการติดตามฟุตบอลไทยลีก 1 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 53.80 ระบุว่า ติดตาม ขณะที่ร้อยละ 46.20 ระบุว่า ไม่ติดตาม โดยผู้ที่ติดตามฟุตบอลไทยลีก 1 (จำนวน 1,345 หน่วยตัวอย่าง) ร้อยละ 91.38 ระบุว่า ติดตามเป็นครั้งคราว และร้อยละ 8.62 ระบุว่า ติดตามสม่ำเสมอ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2565 พบว่า ผู้ที่ติดตามฟุตบอลไทยลีก 1 ในการสำรวจปี 2566 มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น ขณะผู้ที่ไม่ติดตาม มีสัดส่วน ลดลง เมื่อเปรียบเทียบความถี่ของผู้ติดตามฟุตบอลไทยลีก 1 กับผลการสำรวจ ปี 2565 พบว่า ผู้ติดตามเป็นครั้งคราว มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น ขณะผู้ที่ติดตามสม่ำเสมอ มีสัดส่วน ลดลง
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงทีมที่ชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 1 ในฤดูกาล 2566-2567 พบว่า ผู้ที่ติดตามฟุตบอลไทยลีก 1 (จำนวน 1,345 หน่วยตัวอย่าง)
ร้อยละ 36.13 ระบุว่า ทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ร้อยละ 12.49 ระบุว่า ทีมการท่าเรือ เอฟซี
ร้อยละ 11.67 ระบุว่า ทีมเมืองทอง ยูไนเต็ด
ร้อยละ 4.46 ระบุว่า ทีมบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ร้อยละ 3.79 ระบุว่า ทีมชลบุรี เอฟซี
ร้อยละ 2.97 ระบุว่า ทีมลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด
ร้อยละ 2.01 ระบุว่า ทีมขอนแก่น ยูไนเต็ด
ร้อยละ 1.41 ระบุว่า ทีมสุโขทัย เอฟซี
ร้อยละ 3.88 ระบุว่า ทีมอื่น ๆ ได้แก่ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด นครปฐม ยูไนเต็ด ราชบุรี เอฟซี ลำพูน วอริเออร์ อุทัยธานี เอฟซี พีที ประจวบ ตราด เอฟซี และโปลิศ เทโร เอฟซี
ร้อยละ 21.19 ระบุว่า ไม่ชอบทีมใดเป็นพิเศษ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2565 พบว่า ผู้ที่ชื่นชอบทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทีมการท่าเรือ เอฟซี ทีมเมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ทีมลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด ทีมขอนแก่น ยูไนเต็ด และทีมสุโขทัย เอฟซี มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น ขณะผู้ที่ชื่นชอบทีมชลบุรี เอฟซี มีสัดส่วน ลดลง
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.52 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.48 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.72 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.24 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.76 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.68 มีอายุ 15-25 ปี ร้อยละ 17.08 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.08 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.48 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.68 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.36 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.96 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.68 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 37.48 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.00 สมรสแล้ว และร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.64 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 39.88 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.52 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.84 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.12 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.68 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.68 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.00 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.40 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.48 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.44 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 8.32 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.96 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.88 ไม่ระบุรายได้