ผู้สื่อขา่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2565 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘ปิดผับตี 4’
ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23-27 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวคิดการขยายเวลาปิดสถานบันเทิง เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติจากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืนของประชาชน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.17 ระบุว่า ไม่เคยไป ขณะที่ ร้อยละ 41.83 ระบุว่า เคยไป
เมื่อถามผู้ที่เคยไป (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) ถึงความถี่ในการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.57 ระบุว่า ไม่เคยไปเลย รองลงมา ร้อยละ 29.56 ระบุว่า มีบ้างแล้วแต่โอกาส/เทศกาล ร้อยละ 6.39 ระบุว่า เดือนละครั้ง ร้อยละ 3.83 ระบุว่า เกือบทุกวัน (3-5 วัน/สัปดาห์) ร้อยละ 2.74 ระบุว่า อาทิตย์ละวัน และร้อยละ 0.91 ระบุว่า ทุกวัน (7 วัน/สัปดาห์)
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ เป็นต้น จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. โดยภาพรวม พบว่า
1. ร้อยละ 48.62 ระบุว่าปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว เพราะ เป็นเวลาที่ไม่ดึกมากจนเกินไป ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่เป็นการรบกวนเวลาพักผ่อนของผู้ที่พักอาศัยอยู่ใกล้กับสถานบันเทิง
2. ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ เพราะ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศ และเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
3. ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ เพราะ ควรเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และเป็นการเพิ่มช่วงเวลาในการหารายได้ให้กับผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิง และกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น คนขับรถแท็กซี่
4. ร้อยละ 7.18 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. เพราะ เวลา 02.00 น. เป็นเวลาที่ค่อนข้างดึกจนเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและอุบัติเหตุได้ง่าย ร้อยละ 3.21 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย เพราะ เวลาช่วงค่ำคืนอาจเกิดอาชญากรรมและอุบัติเหตุได้ง่าย และเป็นการส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง
5. ร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ พบว่า ร้อยละ 42.52 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 30.29 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ร้อยละ 22.26 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ ร้อยละ 4.20 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. และร้อยละ 0.73 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 762 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 53.02 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.36 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ร้อยละ 9.32 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. ร้อยละ 8.66 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ ร้อยละ 4.99 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย และร้อยละ 0.65 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในเมืองท่องเที่ยวจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 22.90 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 21.83 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความมั่นใจต่อการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในเมืองท่องเที่ยวจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว พบว่า ร้อยละ 30.11 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 27.74 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 22.81 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.18 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 762 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 29.53 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 26.25 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 25.59 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 17.58 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.05 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.54 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 40.99 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ควรลดจำนวน ด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 1.07 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 548 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ พบว่า ร้อยละ 51.83 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 37.04 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 10.04 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 1.09 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ส่วนความคิดเห็น ของผู้ที่ไม่เคยไปสถานบันเทิง (จำนวน 762 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 51.83 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว พบว่า ร้อยละ 47.90 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 43.83 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 7.09 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 1.05 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด และร้อยละ 0.13 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.63 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.66 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.02 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.98 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.15 มีอายุ 20-25 ปี ร้อยละ 18.40 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.54 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.48 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.43 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.59 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.69 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.54 สถานภาพโสด ร้อยละ 68.63 สมรส และร้อยละ 1.83 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.66 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.87 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.71 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.25 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.51 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.25 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.28ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.75 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.44 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 22.98 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.35 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.98 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.77 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.85 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.43 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.70 ไม่ระบุรายได้