สงขลารับวัคซีนสะสมเกินล้านราย คิดเป็น 68.22% เบตงลุยตรวจ ATK ชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงในชุมชนชายแดนไทย-มาเลย์คึกคัก ด้าน ผบ.ฉก.นราธิวาส ตรวจพื้นที่ก่อสร้างรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนตัวเลขติดเชื้อใหม่รวม 1,547 ราย ป่วยดับ 8 ศพ
วันพฤหัสบดีที่ 4 พ.ย.64 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ จ.สงขลา จากข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. พบว่า มี 3 จังหวัดที่ยังคงติดอันดับ 10 จังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในประเทศ ประกอบด้วย จ.สงขลา มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ 497 ราย อยู่อันดับ 2 ตามมาด้วย จ.ปัตตานี มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ 451 ราย อยู่อันดับ 5 และ จ.ยะลา มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ 336 ราย อยู่อันดับ 6 ส่วน จ.นราธิวาส ไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 มีตัวเลขผู้ใหม่ 207 ราย
ส่วนรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รวม 1,547 ราย และเสียชีวิต 8 ราย แยกตามจังหวัดได้ดังนี้
จ.สงขลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 497 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 50,197 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 50,174 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 6,455 ราย รักษาหายแล้ว 43,561 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 181 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 2,271 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ 11,352 ราย, อ.เมืองสงขลา 6,869 ราย, อ.จะนะ 6,366 ราย, อ.สิงหนคร 4,621 ราย, อ.สะเดา 3,927 ราย, อ.เทพา 3,733 ราย, อ.รัตภูมิ 3,021 ราย, อ.สะบ้าย้อย 3,018 ราย, อ.นาทวี 1,296 ราย, อ.บางกล่ำ 1,106 ราย, อ.ระโนด 856 ราย, สทิงพระ 751 ราย, ควนเนียง 557 ราย, อ.นาหม่อม 522 ราย, อ.คลองหอยโข่ง 325 ราย, อ.กระแสสินธุ์ 63 ราย, เป็นกรณีเรือนจำ รวม 1,166 ราย เป็นคนต่างจังหวัด 625 ราย และจากต่างประเทศ 23 ราย
จ.ปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 503 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 39,740 ราย รักษาหายแล้ว 22,864 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 4 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 385 ราย ผู้ป่วยแยกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี 189 ราย, โรงพยาบาลสนามจังหวัด 265 ราย, โรงพยาบาลประจำอำเภอ 1,344 ราย, โรงพยาบาลชุมชน 560 ราย, โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร 1 ราย, โรงพยาบาลสนามค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย 44 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 42 ราย, สิโรรส-ปาร์ควิว ฮอสพิเทล 177 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส เรนโบว์ ฮอสพิเทล 125 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์สะพานปูน 16 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์โรงยิมบานา 53 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์ เซาท์เทิร์น วิว 244 ราย และ Home Isolation 2,167 ราย
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ระหว่างรักษารวม 6,423 ราย แยกรายอำเภอ ได้แก่ อ.เมือง 1,316 ราย, อ.ไม้แก่น 270 ราย, อ.ยะหริ่ง 278 ราย, อ.หนองจิก 752 ราย, อ.โคกโพธิ์ 492 ราย, อ.สายบุรี 838 ราย, อ.แม่ลาน 123 ราย, อ.ยะรัง 595 ราย, อ.ปะนาเระ 117 ราย, อ.ทุ่งยางแดง 300 ราย, อ.มายอ 695 ราย และ อ.กะพ้อ 436 ราย
จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 340 ราย ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 42,170 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 5,958 ราย รักษาหายแล้ว 38,170 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 3 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 283 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองยะลา 14,974 ราย, อ.เบตง 4,023 ราย, อ.รามัน 5,830 ราย, อ.ยะหา 5,023 ราย, อ.บันนังสตา 6,550 ราย, อ.ธารโต 2,274 ราย, อ.กาบัง 1,086 ราย และ อ.กรงปินัง 2,410 ราย
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 5,958 ราย แยกเป็นโรงพยาบาลยะลา 189 ราย, โรงพยาบาลเบตง 134 ราย, โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 6 แห่ง 513 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 164 ราย, โรงพยาบาลสนาม อ.เมือง 180 ราย, โรงพยาบาลสนามเบตง 60 ราย, โรงพยาบาลสนามรามัน 295 ราย, โรงพยาบาลสนามบันนังสตา 182 ราย, โรงพยาบาลสนามยะหา 182 ราย, โรงพยาบาลสนามธารโต 28 ราย, โรงพยาบาลสนามกรงปินัง 92 ราย, โรงพยาบาลสนามกาบัง 35 ราย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศอ.12 ยะลา 25 ราย, Hospitel ( 2 แห่ง ) 99 ราย, Hospitel เบตง 152 ราย, ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) 2,547 ราย , ผู้ป่วยแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) 1,081 ราย
จ.นราธิวาส มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 207 ราย แยกเป็นพื้นที่ อ.เมือง 32 ราย, อ.ตากใบ 3 ราย, อ.ยี่งอ 17 ราย, อ.จะแนะ 9 ราย, อ.แว้ง 3 ราย, อ.รือเสาะ 25 ราย, อ.บาเจาะ 4 ราย, อ.ระแงะ 28 ราย, อ.ศรีสาคร 7 ราย, อ.เจาะไอร้อง 7 ราย, อ.สุไหงปาดี 14 ราย และ อ.สุไหงโก-ลก 58 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 37,909 ราย รักษาหายสะสม 35,460 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 370 ราย
ผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.เมือง 7,521 ราย, อ.ระแงะ 4,590 ราย, อ.รือเสาะ 2,028 ราย, อ.บาเจาะ 3,165 ราย, อ.จะแนะ 1,582 ราย, อ.ยี่งอ 2,758 ราย, อ.ตากใบ 2,903 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 3,061 ราย, อ.สุไหงปาดี 3,175 ราย, อ.ศรีสาคร 2,013 ราย, อ.แว้ง 2,102 ราย, อ.สุคิริน 917 ราย และ อ.เจาะไอร้อง 2,094 ราย
@@คนสงขลารับวัคซีนสะสมเกินล้านราย
ด้านข้อมูลการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา) จากข้อมูลหมอพร้อม กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 4 พ.ย.64 มีดังนี้
จ.สงขลา มีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนสะสม เข็มที่ 1 จำนวน 1,027,575 คน คิดเป็น 68.22 เปอร์เซ็นต์ เข็มที่ 2 จำนวน 637,860 คน คิดเป็น 42.35 เปอร์เซ็นต์ และเข็มที่ 3 จำนวน 37,878 คน คิดเป็น 2.51 เปอร์เซ็นต์
จ.ปัตตานี มีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนสะสม เข็มที่ 1 จำนวน 354,828 คน คิดเป็น 50.11 เปอร์เซ็นต์ เข็มที่ 2 จำนวน 237,834 คน คิดเป็น 33.58 เปอร์เซ็นต์ และเข็มที่ 3 จำนวน 16,099 คน คิดเป็น 2.27 เปอร์เซ็นต์
จ.ยะลา มีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนสะสม เข็มที่ 1 จำนวน 320,251 คน คิดเป็น 56.97 เปอร์เซ็นต์ เข็มที่ 2 จำนวน 236,180 คน คิดเป็น 42.01 เปอร์เซ็นต์ และเข็มที่ 3 จำนวน 12,139 คน คิดเป็น 2.16 เปอร์เซ็นต์
จ.นราธิวาส มีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนสะสม เข็มที่ 1 จำนวน 378,085 คน คิดเป็น 48.16 เปอร์เซ็นต์ เข็มที่ 2 จำนวน 242,376 คน คิดเป็น 30.87 เปอร์เซ็นต์ และเข็มที่ 3 จำนวน 18,114 คน คิดเป็น 2.31 เปอร์เซ็นต์
@@ เบตงตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงชุมชนแนวชายแดน
ที่โรงเรียนตาดีกาบ้านกาแป๊ะฮูลู อ.เบตง จ.ยะลา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอเบตง ร่วมกับโรงพยาบาลเบตง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองเบตง และ อสม.ชุมชนบ้านกาแป๊ะฮูลู ได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ชาวบ้านบ้านกาแป๊ะฮูลู ซึ่งเป็นชาวบ้านตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซียที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มผู้สัมผัส บ้านกาแป๊ะฮูลู จำนวน 150 คน ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit ซึ่งผลการตรวจออกมาพบว่า มีผู้ติดเชื้อกว่า 10 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งเข้าสถานกักตัวทั้งใน Ci , Hi และ Hospitel ที่เตรียมไว้เพื่อให้การดูแลรักษาต่อไป โดยวันนี้ (4 พ.ย.) ของ อ.เบตงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 46 ราย ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 4,023 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 17 ราย
นายวงศ์วิทย์ อัครวโรทัย สาธารณสุขอำเภอเบตง กล่าวว่า สาเหตุที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นนั้น มาจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการตรวจแบบ ATK ที่พยายามค้นหาผู้ติดเชื้อ และเข้าถึงชุมชนให้มากที่สุด เพื่อสกัดกั้นการแพร่กระจายเชื้อลงสู่คนในครอบครัวให้ได้มากที่สุด เพราะมีบุคคลจำนวนหนึ่งที่ติดเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการ ส่วนเตียงและสถานที่ที่จะใช้ดูแลผู้ติดเชื้อยังคงมีเพียงพอ
@@ผบ.ฉก.นราธิวาส ตรวจพื้นที่ก่อสร้างรั้วความมั่นคงอิเล็กเทรอนิกส์
พล.ต.เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส พร้อมคณะเดินทางตรวจพื้นที่การก่อสร้างรั้วความมั่นคงอิเล็กเทรอนิกส์ CCTV ตามโครงการจัดระเบียบพื้นที่ชายแดนเพื่อเสริมความมั่นคงในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งการก่อสร้างรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวชายแดน ใช้ระยะทาง 6 กิโลเมตร จำนวน 4 ท่าข้าม ประกอบด้วย ท่าข้ามบันได ต.เจ๊ะเห, ท่าข้ามศรีพงัน ต.เกาะสะท้อน, ท่าข้ามปะลุกา ต.โฆษิต และท่าข้ามกัวลอต๊ะ ต.นานาค ในพื้นที่ อ.ตากใบ
โดยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดน ตามแผนงานโครงการก่อสร้างรั้วชายแดนไทย-มาเลเซีย สร้างขึ้นเพื่อป้องกันสกัดกั้น ยับยั้งการลักลอบขนย้าย อาวุธ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว สิ่งผิดกฎหมายต่างๆ และการคัดกรองบุคคล ตลอดจนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 หรือ โรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และในระยะยาว เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด /เพื่อให้พื้นที่ชายแดนมีความมั่นคงปลอดภัย สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบริเวณ การผ่านข้ามแดนเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และเกิดความร่วมมือของภาครัฐในระดับต่างๆ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย