ผู้ว่าฯยะลา สั่งตรวจหาเชื้อโควิดเชิงรุกเจ้าหน้าที่ 20 หน่วยงานในศาลากลาง พบติดเชื้อ 1 รายแยกตัวส่งรักษาโรงพยาบาล นราธิวาสให้วัดจัดงานสารทเดือนสิบ พระ-ชาวบ้านร่วมงานต้องฉีดวัคซีนแล้วเท่านั้น ขณะที่ยอดติดเชื้อรายวัน “สงขลา–นราธิวาส” ยังติดท็อป 10 ของประเทศ
วันอังคารที่ 14 ก.ย.64 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรายวัน ทำให้หลายพื้นที่ดำเนินมาตรการเร่งตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก
เช่นเดียวกับที่ จ.ยะลา นายชัยสิทธ์ พาณิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานที่ตั้งในศาลากลางจังหวัดยะลา ประกอบด้วย 20 หน่วยงาน จำนวน 960 คน ออกมารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบตรวจเร็วเห็นผลภายใน 20 นาที ด้วยชุดตรวจ ATK ตามมาตรการตรวจหาเชื้อเชิงรุก เนื่องจากหลังในพื้นที่จังหวัดยะลามีผู้ติดเชื้อเลข 3 หลัก อย่างต่อเนื่อง หลังจากมีมาตรการผ่อนปรนเมืองให้ประชาชนผ่อนคลายกิจกรรมประจำวันได้ 50 %
โดยการตรวจได้แบ่งโซนในศาลากลางยะลาออกเป็น 4 จุดในการคัดกรองหาเชื้อ คือ ที่อาคาร 1 จำนวน 10 หน่วยงาน , อาคารที่ 2 จำนวน 7 หน่วยงาน , อาคารที่ 3 จำนวน 3 หน่วยงานและอาคารแรงงานจังหวัด 5 หน่วยงาน เพื่อเป็นการตรวจค้นหาโรคเชิงรุกและคัดกรอง แยกรักษา- ฉีดวัคซีนให้เร็ว เพื่อป้องกันและควบคุมโรคที่คาดว่า จะระบาดสูงอีกครั้งหลังคลายมาตรการกิจกรรมประจำวันของประชาชน
ผลภายหลังตรวจคัดกรองตรวจหาเชื้อเจ้าหน้าที่หน่วยงานในพื้นที่ศาลากลางจังหวัดยะลา พบมีผู้ติดเชื้อบวก 1 ราย จึงได้ทำการซักประวัติและหาไทม์ไลน์ พร้อมทั้งเตรียมส่งเข้าพักรักษาอาการที่โรงพยาบาลสนามยะลาต่อไป
@@ นราฯไฟเขียวจัดสารทเดือนสิบแบบมีเงื่อนไข
นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนราธิวาส ได้มีประกาศจังหวัดนราธิวาส เกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับการจัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบประจำปี 2564 ของจังหวัดนราธิวาส ซึ่งจะตรวจกับวันที่ 22 ก.ย.64 และวันที่ 6 ต.ค.64 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จึงได้กำหนดมาตรการดังนี้
1.มาตรการที่เกี่ยวกับวัด ให้วัดที่จะจัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบ ต้องได้รับการประเมินและผ่านการประเมินจากคระกรรมการ ศบค.อำเภอ โดยให้ขอรับการประเมินก่อนวันที่ 15 ก.ย.64 และให้วัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น เจลล้างมือ เครื่องวัดอุณหภูมิ ป้องกันโควิดและให้วัดจัดเจ้าหน้าที่คอยกำกับให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดโดนเคร่งครัด
2.มาตรการที่เกี่ยวกับพระภิกษุ วัดที่สามารถจัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบ พระภิกษุควรได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 และพระภิกษุทุกรูปในวัดต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมถึงต้องเส้นระยะห่างตามมาตรการในการประกอบพิธี
3.มาตรการที่เกี่ยวกับพุทธศาสนิกชน ต้องได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม โดยแสดงหลักฐานการรับวัคซีนก่อนเข้าวัด โดยให้เข้าร่วมงานได้เพียงครอบครัวละ 1 คน และต้องปฏิบัติมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ผู้เข้าร่วมงาน งดรับประทานอาหารร่วมกันที่วัด และหากพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้งดจัดงานประเพณีดังกล่าว
@@ สงขลา – นราธิวาส ยอดติดเชื้อรายวันยังติดท็อป 10
ด้านรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้และสงขลา ประจำวันอังคารที่ 14 ก.ย.64 มีดังนี้
จ.สงขลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 272 ราย (ติดอันดับ 8 ของจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 10 อันดับแรก) แยกเป็นกลุ่มสัมผัสผู้ติดเชื้อในพื้นที่ 226 ราย, กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงในโรงงาน 46 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 24,465 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 24,442 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 3,960 ราย รักษาหายแล้ว 20,368 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 137 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 1,475 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ 6,403 ราย, อ.เมืองสงขลา 3,607 ราย, อ.สิงหนคร 2,998 ราย, อ.จะนะ 2,437 ราย, อ.สะเดา 2,073 ราย, อ.สะบ้าย้อย 1,342 ราย, อ.เทพา 1,281 ราย, อ.รัตภูมิ 691 ราย, สทิงพระ 510 ราย, อ.บางกล่ำ 414 ราย, อ.นาทวี 366 ราย, อ.ระโนด 341 ราย, อ.นาหม่อม 340 ราย, อ.คลองหอยโข่ง 157 ราย, ควนเนียง 155 ราย, อ.กระแสสินธุ์ 24 ราย, เป็นกรณีเรือนจำ รวม 1,103 ราย เป็นคนต่างจังหวัด 200 ราย และจากต่างประเทศ 23 ราย
จ.นราธิวาส มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 262 ราย (ติดอันดับ 9 ของจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 10 อันดับแรก ) แยกเป็น พื้นที่ อ.เมือง 35 ราย, อ.ตากใบ 1 ราย, อ.ยี่งอ 10 ราย, จะแนะ 40 ราย, อ.สุคิริน 25 ราย, อ.บาเจาะ 34 ราย, อ.ระแงะ 47 ราย, อ.ศรีสาคร 35 ราย, อ.เจาะไอร้อง 19 ราย, อ.สุไหงปาดี 14 ราย และ สุไหงโก-ลก 2 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 18,051 ราย รักษาหายสะสม 14,688 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 4 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 203 ราย
ผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.เมือง 3,665 ราย, อ.ระแงะ 2,038 ราย, อ.รือเสาะ 936 ราย, อ.บาเจาะ 1,312 ราย, อ.จะแนะ 880 ราย, อ.ยี่งอ 1,181 ราย, อ.ตากใบ 1,792 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 1,296 ราย, อ.สุไหงปาดี 1,418 ราย, อ.ศรีสาคร 843 ราย, อ.แว้ง 1,248 ราย, อ.สุคิริน 543 ราย และ อ.เจาะไอร้อง 899 ราย
จ.ปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 190 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 18,125 ราย รักษาหายแล้ว 13,005 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 269 ราย ผู้ป่วยแยกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี 118 ราย, โรงพยาบาลสนามจังหวัด 105 ราย, โรงพยาบาลสนามเรือนจำ 1 ราย, โรงพยาบาลประจำอำเภอ 725 ราย, โรงพยาบาลชุมชน 478 ราย, โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร 1 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 45 ราย, สิโรรส-ปาร์ควิว ฮอสพิเทล 177 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส เรนโบว์ ฮอสพิเทล 118 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์สะพานปูน 24 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์โรงยิมบานา 78 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์ เซาท์เทิร์น วิว 185 ราย และ Home Isolation จำนวน 19 ราย
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ระหว่างรักษารวม 2,545 ราย แยกรายอำเภอ ได้แก่ อ.เมือง 614 ราย, อ.หนองจิก 222 ราย, อ.โคกโพธิ์ 70 ราย, อ.ยะหริ่ง 255 ราย, อ.สายบุรี 344 ราย, อ.ไม้แก่น 50 ราย, อ.แม่ลาน 36 ราย, อ.ยะรัง 231 ราย, อ.ปะนาเระ 120 ราย, อ.ทุ่งยางแดง 167 ราย, อ.มายอ 269 ราย และ อ.กะพ้อ 79 ราย
จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 118 ราย ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 15,453 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 3,355 ราย รักษาหายแล้ว 11,952 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 146 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 215 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองยะลา 5,626 ราย, อ.กรงปินัง 1,245 ราย, อ.เบตง 902 ราย, อ.รามัน 1,650 ราย, อ.บันนังสตา 2,923 ราย, อ.กาบัง 448 ราย, อ.ธารโต 1,157 ราย และ อ.ยะหา 1,502 ราย
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 3,355 ราย แยกเป็น โรงพยาบาลยะลา 199 ราย, โรงพยาบาลเบตง 122 ราย, โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 6 แห่ง 505 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 116 ราย, โรงพยาบาลสนาม อ.เมือง 769 ราย, โรงพยาบาลสนามเบตง 152 ราย, โรงพยาบาลสนามรามัน 340 ราย, โรงพยาบาลสนามบันนังสตา 220 ราย, โรงพยาบาลสนามยะหา 86 ราย, โรงพยาบาลสนามธารโต 44 ราย, โรงพยาบาลสนามกรงปินัง 200 ราย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศอ.12 ยะลา 16 ราย, ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) 296 ราย, ผู้ป่วยแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) 57 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการเข้าระบบ 233 ราย