“...สระน้ำที่ไม่ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์โครงการ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ 1) สระน้ำไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จำนวน 10 สระ 2) ใช้สระน้ำเพื่อการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ที่มิใช่สับปะรด จำนวน 10 สระ 3) ใช้สระน้ำสำหรับเลี้ยงปลา จำนวน 7 สระ 4) เกษตรกรมีสระน้ำเดิมใช้อยู่แล้ว จำนวน 4 สระ...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 52 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสับปะรดครบวงจร ปีงบประมาณ 2556-2558 สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
@ โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสับปะรดครบวงจร ปีงบประมาณ 2556-2558 สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ปลูกสับปะรดมากที่สุดในประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตและแปรรูปสับปะรดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเป็นอันดับ 1 ของโลก กล่าวคือมีพื้นที่เพาะปลูก 570,648 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 361,688 ไร่ ปริมาณผลผลิต 1.5 ล้านตัน/ปี มูลค่าการส่งออก 13,197.93 ล้านบาท และมี เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด 12,254 ครัวเรือน (สำนักงานเกษตรจังหวัด 2556)
สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เห็นความสำคัญในการสนับสนุนการผลิตสับปะรดและแปรรูปสับปะรด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสับปะรดครบวงจร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ส่งต่อสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีการแปรรูปตามระบบมาตรฐานสากล สร้างภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้มีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูป จึงจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเป็นระบบเพื่อให้การผลิต การแปรรูป และการตลาดเป็นไปอย่างสมดุล และเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมการดำเนินงาน 4 กิจกรรมหลัก และหน่วยงานรับผิดชอบ 4 หน่วยงาน ดังนี้
1. กิจกรรมการพัฒนาดินและน้ำ เพื่อการผลิตสับปะรด มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สถานีพัฒนา ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานเกษตร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนากระบวนการแปรรปูสับปะรดสู่มาตรฐานสากล มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4. กิจกรรมสง่เสรมิและพัฒนาให้มีสินค้านวัตกรรมใหม่จากสับปะรด มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ข้อตรวจพบที่ 1 เกษตรกรบางส่วนไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสระน้ำและน้ำหมักชีวภาพในการพัฒนา แหล่งน้ำและพัฒนาดินเพื่อการผลิตสับปะรด
สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาดิน และน้ำเพื่อการผลิตสับปะรด ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 - 2558 ซึ่งมีกิจกรรมย่อยที่สำคัญ ดังนี้
1. สร้างสระน้ำนอกเขตชลประทาน ขนาดความจุ 1,260 ลบ.ม. มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนแหล่งน้ำให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนำน้ำไปใช้ในการปลูกสับปะรด เพื่อเพิ่มปริมาณและน้ำหนักผลสับปะรด กิจกรรมดังกล่าวใช้งบประมาณในการดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 - 2557 เป็นจำนวนเงิน 3,954,000.00 บาท
จากการตรวจสอบเอกสารพบว่า สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างสระน้ำนอกเขต ชลประทานให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดปีงบประมาณ 2556 - 2557 รวมทั้งสิ้น 200 ราย/สระ จากการสุ่มตรวจสอบสังเกตการณ์และสอบถามเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก สระน้ำจำนวน 70 ราย/สระ คิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมดที่ได้รับสระน้ำ พบว่า เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากสระน้ำที่ได้รับโดยนำน้ำไปใช้ผสมยาฉีดพ่นสับปะรด จำนวน 39 ราย คิดเป็น ร้อยละ 55.71 ของจำนวนที่สุ่มตรวจสอบ และเกษตรกรไม่ใช้ประโยชน์สระน้ำในการผลิตสับปะรดตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.29 ของจำนวนที่สุ่มตรวจสอบ โดยสระน้ำที่ไม่ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์โครงการ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
1) สระน้ำไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จำนวน 10 สระ
2) ใช้สระน้ำเพื่อการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ที่มิใช่สับปะรด จำนวน 10 สระ
3) ใช้สระน้ำสำหรับเลี้ยงปลา จำนวน 7 สระ
4) เกษตรกรมีสระน้ำเดิมใช้อยู่แล้ว จำนวน 4 สระ
2. ส่งเสริมการผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพแบบยั่งยืนแก่กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด มีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนำน้ำหมักชีวภาพมาพัฒนาดินเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและช่วยให้ผลผลิตสับปะรดมีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้น มีการจัดอบรมให้ความรู้และมอบปัจจัยการผลิตน้ำหมักชีวภาพให้กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 – 2558 เป็นจำนวนเงิน 1,622,400.00 บาท
จากการตรวจสอบเอกสารผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพของกลุ่มผู้ปลูกสบัปะรด พบว่า ในปีงบประมาณ 2556 สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ทำการฝึกอบรมและมอบปัจจัยการผลิตน้ำหมักชีวภาพเป็นถังพลาสติกและกากน้ำตาล ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด จำนวน 125 กลุ่ม และในปีงบประมาณ 2557 – 2558 สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ทำการมอบปัจจัยการผลิตน้ำหมักชีวภาพเป็นกากน้ำตาลและปลาป่น ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด จำนวน 134 กลุ่ม ผลการตรวจสอบพบว่า
2.1 ถังพลาสติกสำหรับผลิตน้ำหมักชีวภาพบางส่วนไม่มีการใช้ประโยชน์ จากการสุ่มตรวจสอบสังเกตการณ์ถังพลาสติกที่ใช้ผลิตน้ำหมักชีวภาพซึ่งแจกจ่ายให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดจำนวน 171 ถัง พบว่า มีถังพลาสติกที่สามารถใช้งานได้ดีจำนวน 150 ถัง ชำรุด 20 ถัง และสูญหาย 1 ถัง จากการสอบถามเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด พบว่า เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากถังพลาสติกซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 110 ถัง คิดเป็นร้อยละ 73.33 ของจำนวนที่สามารถใช้งานได้ดี และเกษตรกรไม่มีการใช้ประโยชน์จากถังพลาสติก จำนวน 40 ถัง คิดเป็นร้อยละ 26.67 ของจำนวนที่สามารถใช้งานได้ดี
2.2 เกษตรกรบางส่วนไม่ได้นำน้ำหมักชีวภาพที่ได้รับไปใช้การบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตสับปะรด จากการสอบถามเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสบัปะรดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ จากน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 212 ราย พบว่า เกษตรกรมีการผลิตและนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ในการบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตสับปะรด จำนวน 160 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.47 ของจำนวนที่สอบถาม และไม่ได้นำน้ำหมักชีวภาพที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตสับปะรดจำนวน 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.53 ของจำนวนที่สอบถาม
ผลกระทบ
1. กิจกรรมสร้างสระน้ำนอกเขตชลประทาน ขนาดความจุ 1,260 ลบ.ม.
1.1 กรณีสระน้ำที่ไม่ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จำนวน 10 สระ ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน เป็นจำนวนเงิน 198,620.00 บาท
1.2 กรณีสระน้ำที่ไม่ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ โดยเกษตรกรใช้สระน้ำในการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ที่มิใช่สับปะรด หรือใช้สระน้ำสำหรับเลี้ยงปลาหรือเกษตรกรมีสระน้ำเดิมใช้อยู่แล้ว ทำให้สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดรายอื่นที่มีความจำเป็นต้องการใช้น้ำ เสียโอกาสในการได้รับสระน้ำและนำน้ำไปใช้ในการผลิตสับปะรดให้มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้น
2. กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพแบบยั่งยืนแก่กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด
2.1 กรณีถังพลาสติกไม่ใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดการสูญเปล่าของงบประมาณแผ่นดินในการจัดซื้อถังพลาสติก จำนวน 40 ถัง ราคาถังละ 500 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 20,000.00 บาท
2.2 กรณีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบางส่วนไม่ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพของโครงการ ทำให้เกษตรกรรายอื่นที่มีความต้องการใช้น้ำหมักชีวภาพเสียโอกาสในการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตสับปะรดให้มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้น
สาเหตุ
1. กิจกรรมสร้างสระน้ำนอกเขตชลประทาน สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่มีการสำรวจพื้นที่สำหรับขุดสระน้ำว่ามีความเหมาะสมและสามารถเก็บกักน้ำได้หรือไม่ รวมทั้งการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับการสร้างสระน้ำนั้น ยังคงปลูกสับปะรดอยู่หรือไม่ และเกษตรกรมีสระน้ำเดิมใช้อยู่แล้วหรือไม่
2. กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพแบบยั่งยืนแก่กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด
2.1 กรณีถังพลาสติกไม่ใช้ประโยชน์ เกิดจากการที่เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบางส่วนไม่มีความต้องการใช้น้ำหมักชีวภาพ เนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของการใช้น้ำหมักชีวภาพ และเห็นว่าปุ๋ยเคมีสามารถช่วยในการเจริญเติบโตและเร่งผลผลิตสับปะรดได้ดีกว่า
2.2 กรณีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบางส่วนไม่ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพของโครงการ เกิดจากการที่สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขาดการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดทราบข่าวเกี่ยวกับโครงการการผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพอย่างทั่วถึง
3. สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ภายหลังการ ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาดินและแหล่งน้ำสำหรับการปลูกสับปะรด
ข้อเสนอแนะ ให้สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการดังนี้
1. กิจกรรมสร้างสระน้ำนอกเขตชลประทาน
ในโอกาสต่อไปหากมีการดำเนินโครงการในลักษณะเช่นนี้อีก ให้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการให้ความสำคัญกับการสำรวจพื้นที่ดำเนินการซึ่งจะต้องสามารถเก็บกักน้ำได้จริง เพื่อความพร้อมในการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางตามคู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำไร่นานอกเขตชลประทาน และการคัดเลือกเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ โดยตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายกับทะเบียน เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด (ที่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน)
2. กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพแบบยั่งยืนแก่กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด
2.1 สำหรับถังพลาสติกที่ใช้ผลิตน้ำหมักชีวภาพที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ ให้ตรวจสอบว่า เกษตรกรต้องการใช้ประโยชน์หรือไม่ หากไม่ใช้ประโยชน์แล้วให้นำถังพลาสติกดังกล่าวจัดสรรให้กับ กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดกลุ่มอื่นที่มีความต้องการต่อไป
2.2 กำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโครงการให้สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดรายอื่นทราบโดยทั่วกัน และชี้แจงให้เกษตรกรเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้น้ำหมักชีวภาพ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมนิผลการใช้ประโยชน์จากสระน้ำและน้ำหมักชีวภาพให้ทราบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จาก สระน้ำและน้ำหมักชีวภาพได้อย่างยั่งยืน
ข้อตรวจพบที่ 2 การดำเนินกิจกรรมการจัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกสับปะรดที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP บางส่วนไม่เกิดประโยชน์และไม่มีความยั่งยืน
สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตสับปะรดที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agriculture Practices: GAP) ตั้งแต่ปี 2556 - 2558 โดยจัดซื้อวัสดุให้เกษตรกรจัดทำแปลงเรียนรู้ การผลิตสับปะรดตามระบบคุณภาพ GAP รวมทั้งสิ้น 35 แปลง จากการตรวจสอบพบว่า
2.1 เกษตรกรผู้ได้รับการคัดเลือกจัดทำแปลงเรียนรู้มีการปลูกสับปะรดคุณภาพตาม มาตรฐาน GAP อยู่แล้ว จากการสุ่มตรวจสังเกตการณ์และสอบถามเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมให้จัดทำแปลงเรียนรู้จำนวน 18 แปลง คิดเป็นร้อยละ 51.43 ของแปลงเรียนรู้ทั้งหมด พบว่า ก่อนที่สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะเริ่มดำเนินกิจกรรมนั้น เกษตรกรทำการผลิตสับปะรด คุณภาพตามมาตรฐาน GAP อยู่ก่อนแล้ว จำนวน 10 แปลง คิดเป็นร้อยละ 55.56 ของแปลงที่สุ่ม ตรวจสอบ และเกษตรกรไม่ได้ทำการผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ก่อนได้รับการคัดเลือก เป็นแปลงเรียนรู้ จำนวน 8 แปลง คิดเป็นร้อยละ 44.44 ของแปลงที่สุ่มตรวจสอบ
2.2 เกษตรกรบางส่วนไม่จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP อย่างยั่งยืน จากการสังเกตการณ์เแปลงเรียนรู้การผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ที่สุ่มตรวจสอบ จำนวน 18 แปลง พบว่า ปัจจุบันยังคงปลูกสับปะรดเพียง 10 แปลง คิดเป็นร้อยละ 55.55 ของแปลงที่สุ่มตรวจสอบ และปลูกพืชอื่นแทนในแปลงเรียนรู้ฯ จำนวน 8 แปลง คิดเป็นร้อยละ 44.46 ของแปลงเรียนรู้ที่สุ่มตรวจสอบ สำหรับแปลงเรียนรู้การผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ที่ ยังคงปลูกสับปะรด จำนวน 10 แปลง มีการรับรองมาตรฐานตามระบบคุณภาพ GAP จำนวน 5 แปลง คิดเป็นร้อยละ 50.00 ของจำนวนแปลงเรียนรู้ยังคงปลูกสับปะรด และไม่มีใบรับรองมาตรฐานตามระบบคุณภาพ GAP จำนวน 5 แปลง คิดเป็นร้อยละ 50.00 ของจำนวนแปลงเรียนรู้ที่ยังคงปลูกสับปะรด
ผลกระทบ
1. การคัดเลือกแปลงเรียนรู้ที่มีการผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP อยู่ก่อนร่วมโครงการทำให้เกษตรกรรายอื่นที่มีความต้องการผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP เสียโอกาสในการได้รับการสนับสนุน
2. เกษตรกรบางส่วนไม่จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกสบัปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP อย่างยั่งยืน ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
สาเหตุ
1. การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการโดยให้ประธานกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดเป็นผู้คัดเลือกเกษตรกรที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ซึ่งประธานกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่จะคัดเลือกจากเกษตรกรที่มีความใกล้ชิดและให้ความร่วมมือในการจัดทำกิจกรรมของประธาน โดยไม่มีการประชุมเกษตรกรเพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการให้สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดรายอื่นทราบโดยทั่วกัน
2. เกษตรกรผู้ปลูกสบัปะรดบางส่วนไม่เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์จากการผลิตสับปะรด คุณภาพตามมาตรฐาน GAP เนื่องจากขั้นตอนการดำเนินการที่ยุ่งยาก รวมถึงผลผลิตสับปะรดส่วนใหญ่ จะจำหน่ายให้กับโรงงาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านคุณภาพตามมาตรฐาน GAP อีกทั้งตลาดรับซื้อผลผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP มีน้อย
3. สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีการประเมินผลระหว่างการดำเนินกิจกรรม ด้วยการลงแปลงสำรวจข้อมูลสภาพดินและความสมบูรณ์ของต้นและผลสับปะรด และสอบถามความพึงพอใจของเกษตรกรต่อกิจกรรมดังกล่าว แต่มิได้ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการแต่อย่างใด
ข้อเสนอแนะ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการดังนี้
1. ในโอกาสต่อไปหากมีการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้อีก การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายควรมีการประชุมเกษตรกรเพื่อประชาสัมพันธ์ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการให้ทราบทั่วกัน เพื่อให้ได้เกษตรกรที่มีความต้องการและมีความพร้อมในการจัดทำแปลงเรียนรู้อย่างแท้จริง
2. มอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดหาตลาดรับซื้อผลผลิตสับปะรดคุณภาพตาม มาตรฐาน GAP ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับผลผลิตและเป็นการจูงใจให้เกษตรกรผลิตสับปะรดคุณภาพตามมาตรฐาน GAP อย่างยั่งยืน
3. สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ควรจัดให้มีคณะทำงานในการติดตามประเมินผลแปลงเรียนรู้ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2556 – 2558 ทั้ง 35 แปลง เพื่อให้ทราบปัญหาในการดำเนินกิจกรรม และนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวให้มีความคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป
ข้อตรวจพบที่ 3 การบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร : สับปะรดไม่เป็นปัจจุบัน
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร : สับปะรด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดทิศทางการพัฒนาการปลูกสับปะรด กระบวนการผลิต และการแปรรูปสับปะรดให้ตรงกับความต้องการของตลาด และการเพิ่มมูลค่าการส่งออก เพื่อจัดทำระบบทะเบียนข้อมูลผู้ปลูกสับปะรด และโรงงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับการประเมินความพร้อมของจังหวัดที่เข้าสู่กระบวนการรับรองระบบการจัดการ คุณภาพพืช : สับปะรด และเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการติดตามการเพิ่มขึ้นของโรงงานแปรรูปสับปะรด และมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่มีต่อปริมาณการผลิตและการส่งออกของเกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรม
จากการตรวจสอบเอกสาร พบว่า ในช่วงก่อนเริ่มดำเนินโครงการนั้น สำนักงานเกษตรจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะมีการบันทึกข้อมลูด้านการปลูกพืชสับปะรด โรงงานและการส่งออกเปน็ข้อมูลของตนเองในแต่ละหน่วยงาน เมื่อสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดทำระบบฐานข้อมูลผู้ปลูกสับปะรด โรงงานอุตสาหกรรม และข้อมูลการค้าสับปะรดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยระบบจะทำการบันทึกการจัดเก็บ การค้นหา และรายงาน ข้อมูลของผู้ปลูกสับปะรดและโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และทำการเผยแพร่ข้อมูล ผ่านเว็บไซต์ http://www.industagro-prachuap.com/ เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วยข้อมูลใน 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
1. ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสับปะรด ซึ่งประกอบไปด้วย ทะเบียนเกษตรกร แบบสำรวจข้อมูลการผลิตสับปะรด ข้อมูลปริมาณและมูลค่าการขายสับปะรดทั้งในและต่างประเทศ ทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. ข้อมูลหน้าเว็บไซต์แสดงข้อมูลข่าวการประชาสัมพันธ์และภาพกิจกรรมของทั้ง 3 หน่วยงาน
จากการตรวจสอบสังเกตการณ์ระบบเผยแพร่ข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร : สับปะรด ที่ปรากฏในเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560 พบว่า ระบบฐานข้อมูลสับปะรดที่แสดงในเว็บไซต์ http://www.industagro-prachuap.com/ ยังเป็นข้อมูลเดิมในปี 2556 - 2557 ไม่มีการอัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ให้ข้อมูลว่า ไม่เคยเข้าไปใช้งานระบบฐานข้อมูลในการตรวจสอบข้อมูล หรือสืบค้นข้อมูลจากระบบ เนื่องจากข้อมูลในระบบไม่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมจึง สืบค้นจากเว็บไซด์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก และบางครั้งจะทำหนังสือราชการเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นครั้งคราวไป
อนึ่ง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค 12 (จ.เพชรบุรี) ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีการไม่ใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลดังกล่าว ตามหนังสือ ที่ ตผ 0058พบ/525 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2560 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมในระบบ และประสานงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้กรอกข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาในระบบดังกล่าว ให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบ แต่จากการสุ่มทดสอบเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและ การเกษตร : สับปะรด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 พบว่า มีการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเฉพาะในส่วนของข่าวการประชาสัมพันธ์และภาพกิจกรรม แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดกรอกข้อมูลลงระบบฐานข้อมูลด้าน อุตสาหกรรมและการเกษตร : สับปะรด ให้เป็นปัจจุบัน
ผลกระทบ
1. การไม่บันทึกข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูลสับปะรดให้เป็นปัจจุบันและไม่สามารถใช้ประโยชน์ระบบดังกล่าวได้ ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการใช้เงินงบประมาณจัดจ้างทำระบบฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร : สับปะรด คิดเป็นมูลค่ารวม 299,360.00 บาท
2. ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ไม่มีฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดทิศทางการพัฒนาการปลูกสับปะรด และติดตามผลการผลิต การแปรรูปสับปะรด เพื่อพัฒนากระบวนการแปรรูปสับปะรดสู่มาตรฐานสากลได้
3. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่มีฐานข้อมูลในการติดตามข้อมูลปริมาณ การเพิ่มขึ้นของโรงงานแปรรูปสับปะรดและมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งปัจจัยและปัญหา อุปสรรคที่มีต่อปริมาณการผลิตและการส่งออกของเกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรม
สาเหตุ
1. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อประสานขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบันทึกข้อมูลในระบบให้เป็นปัจจุบัน
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่ให้ความสำคัญในการบันทึกข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสับปะรดในระบบ
ข้อเสนอแนะ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แจ้งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการดังนี้
1. ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากผู้รับจ้าง (หากมี) หรือผู้ที่มีความรู้ในการบันทึกข้อมูลในระบบฯ ดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสับปะรดในส่วนที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน และมีการติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อมูลในระบบครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
2. เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูลในระบบให้เป็นปัจจุบันแล้ว สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ควรนำข้อมูลที่ได้จากระบบมาใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดทิศทางการพัฒนาการปลูกสับปะรดและติดตามผลการผลิตการแปรรูปสับปะรด เพื่อพัฒนากระบวนการแปรรูปสับปะรดสู่มาตรฐานสากล แทนการขอข้อมูลเป็นเอกสารจากหน่วยงาน
3. ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ทั้งในภาคเกษตรกรผู้ประกอบการ อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการรับซื้อสับปะรด รวมทั้งประชาชนทั่วไปให้ใช้ประโยชน์จากข้อมลูในระบบได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อสังเกต สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สร้างสระน้ำในเขตชลประทาน
ตามที่สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสับปะรดครบวงจร ในปีงบประมาณ 2556 – 2557 กิจกรรมขุดสระน้ำนอกเขตชลประทาน ความจุขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 200 สระ ซึ่งตามแนวทางในการดำเนินงานตามคู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กันยายน 2555) ข้อ 3.2 ระบุว่า “การขุดสระน้ำต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน ขาดแคลนระบบที่จะจัดส่งน้ำไปถึงได้ตลอดปี และประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำหรือแล้งซ้ำซาก”
จากการตรวจสอบเอกสารและสังเกตการณ์สระน้ำที่ขุดในปีงบประมาณ 2556 – 2557 พบ สระน้ำที่สร้างอยู่ในเขตชลประทาน จำนวน 4 สระ ดังนี้
1. สระน้ำของ นายประจักษ์ พงศ์เพ็ชร (ปีงบประมาณ 2556) พื้นที่ขุดสระ หมู่ที่ 6 ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี
2. สระน้ำของ นายพวง อ้อนวร (ปีงบประมาณ 2557) พื้นที่ขุดสระ หมู่ที่ 2 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี
3. สระน้ำของ นายพรชัย ศิริภูมิ (ปีงบประมาณ 2557) พื้นที่ขุดสระ หมู่ที่ 11 ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี
4. สระน้ำของ นายสง่า เคียงอ่อน (ปีงบประมาณ 2557) พื้นที่ขุดสระ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี
สาเหตุ
สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่มีการสำรวจพื้นที่สำหรับสร้างสระน้ำให้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินงานตามคู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน
ข้อเสนอแนะ ให้สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการให้ปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ดำเนินการซึ่งจะต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานขาดแคลนระบบที่จะจัดส่งน้ำไปถึงได้ตลอดปี และประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำหรือแล้งซ้ำซาก
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(40) เครื่องมือตรวจอากาศกรมอุตุฯ ชำรุด - ใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(41) กองทุนพัฒนาสตรีมุกดาหาร ถูกสวมสิทธิไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา
เปิดกรุผลสอบสตง.(42) สวนปาล์มนาร้างชุมพร นายทุน/ขรก.ร่วมเพียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(43) แขวงการทางสุราษฎร์ฯ แก้น้ำท่วมขังถนนรอบสมุย รำรางเล็ก-บางจุดไม่สำเร็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(44) ชลประทานพังงา ก่อสร้างแหล่งน้ำชนบท ล่าช้า-ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(45) พัฒนาสาขาท่องเที่ยวหนองคาย ไม่มีประสิทธิภาพ ราคากลางแพง-ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(46) โรงงานปุ๋ย/ธ.เมล็ดพันธุ์ประจวบฯ/ตึกสนง./เครื่องจักร ไม่เปิดใช้งาน
เปิดกรุผลสอบสตง.(47) ซ่อมอู่เรือสัตหีบ ช้ากว่าเป้าหมาย-อุปกรณ์บางอย่างใช้ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(48) ปรับภูมิทัศน์อบต.หาดทรายรีชุมพร ก่อสร้างอาคาร-อุปกรณ์ ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(49) อปท. กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด สร้างลานกีฬา ไร้มาตรฐาน-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(50) โครงการบำบัดน้ำเสียรวม กทม. ขาดความพร้อม-สูญงบ 381 ล.
เปิดกรุผลสอบสตง.(51) องค์การเภสัชฯ ผลิตยาไม่ทัน-ขายแพงกว่าเอกชน
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/