“...ขาดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการบริหารสัญญาและการกำกับดูแลโครงการยังขาดการประสานงานภายในองค์กรเองด้วย รวมทั้งเมื่อผู้รับจ้างรายแรกทิ้งงาน กระบวนการเพื่อหาผู้รับจ้างรายใหม่ใช้เวลาค่อนข้างล่าช้ารวม 18 เดือน ส่งผลให้เงิน ลงทุนโครงการฯ โดยรวมสูงกว่าที่ควรจำนวน 1,065.62 ล้านบาท และในจำนวนนี้ทำให้รัฐและ กทม. ต้องเสียงบประมาณโดยสูญเปล่าเป็นจำนวนเงิน 381.32 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ซ่อมแซมโรงบำบัดน้ำเสียและรวบรวมน้ำเสีย และค่าก่อสร้างซึ่งเพิ่มสูงขึ้น...”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 50 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบดำเนินงานโครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร
@ โครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร
ปัญหาน้ำเสียในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ไหลผ่านคลองต่าง ๆ ในกทม. ลงสู่แม้น้ำเจ้าพระยา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม กทม. จึงได้กำหนดแผนหลักระบบบำบัดน้ำเสียในบริเวณพื้นที่ชั้นในของ กทม. ในโครงการต่าง ๆ ซึ่งโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 1 เป็นโครงการหนึ่งในแผนดังกล่าว
โครงการระบบบำบัดน้ำเสียรวม ระยะที่ 1 ของกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการภายใต้แผนงานโครงการระบบบำบัดน้ำเสียและระบบการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองปริมณฑล และเมืองภูมิภาค ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2534 เห็นชอบในหลักการให้ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาออกแบบรวมก่อสร้าง โดยมีสัดส่วนการลงทุนระหว่างรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร เท่ากับ 75 : 25
ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 อนุมัติวงเงินให้ดำเนินการจำนวนเงิน 5,775 ล้านบาท (วงเงินในการก่อสร้างประมาณ 7,700 ล้านบาท)
การดำเนินโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการ คือ คลองโอ่งอ่าง คลองบางลำพู คลองมหานาค คลองแสนแสบ คลองเปรมประชากร และคลองสามเสน โดยมีเป้าหมายที่จะจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ราชเทวี และบางส่วนของเขตพระนคร ดุสิต พญาไท และห้วยขวาง ซึ่งจะเป็น พื้นที่รวมกันประมาณ 37 ตารางกิโลเมตร สามารถบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่โครงการได้เฉลี่ยวันละ 350,000 ลูกบาศก์เมตร
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้กำหนดให้มีการตรวจสอบการดำเนินงาน การก่อสร้างระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร โดยเลือกตรวจสอบโครงการระบบบำบัดน้ำเสีย รวมระยะที่ 1 ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่กรุงเทพมหานครและประเทศไทยเคยก่อสร้างมา
ผลการตรวจสอบ
1. ระบบบำบัดน้ำเสียมีการใช้งานไม่เต็มศักยภาพตามที่กำหนด กล่าวคือ ระบบ บำบัดน้ำเสียสามารถบำบัดได้ วันละ 350,000 ลบ.ม.ต่อวัน แต่มีน้ำเสียเข้าระบบบำบัดจริงปริมาณเฉลี่ยเพียง 173,419 ลบ.ม.ต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 49.55
ค่าความต้องการออกซิเจนจากสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand : BOD) ระบบบำบัดก่อสร้างให้มีศักยภาพในการรองรับค่า BOD สูงสุด 150 mg/l แต่น้ำเสียที่เข้าระบบบำบัดจริงมีค่า BOD เฉลี่ยเพียง 32.10 mg/l
โดยในขณะก่อสร้างโครงการปรากฏว่า ประชากรในพื้นที่มีจำนวนลดลง รวมทั้งมีหน่วยงานหลายแห่งในภาครัฐและเอกชนย้ายออกจากพื้นที่ แต่ กทม. ไม่ได้นำข้อมูลดังกล่าวไปพิจารณาปรับปรุงการก่อสร้างโครงการทั้งที่เป็นการก่อสร้างในระบบ Turnkey
2. ผลการดำเนินงานในการจัดการคุณภาพน้ำคลองในพื้นที่โครงการฯ และแม่น้ำเจ้าพระยาดีขึ้น แต่ยังไม่ได้ตามเป้าหมายของโครงการฯ เนื่องจาก การเชื่อมต่อท่อรวบรวมน้ำเสียยังไม่ครอบคลุมพื้นที่แหล่งกำเนิดน้ำเสียในโครงการทั้งหมด จึงมีการระบายน้ำเสียลงคลองโดยตรง รวมถึงมีการทิ้งสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงในคลองอีกด้วย นอกจากนี้คลองต่าง ๆ ใน พื้นที่โครงการยังเชื่อมต่อกับคลองต่าง ๆ นอกพื้นที่โครงการ ซึ่งยังไม่มีโรงบำบัดน้ำเสีย โดยในปี 2548 ถึง 2551 กทม. ได้ใช้งบประมาณไปในการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในคลองต่าง ๆ ด้วยการจัดทำโครงการคลองสวยน ใส ใช้เงินงบประมาณจำนวน 234.01 ล้านบาท ภายหลังจากมีการเดินระบบบำบัดคุณภาพน้ำคลองในพื้นที่โครงการมีคุณภาพดีขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินจากประเภทที่ 5 เป็นประเภทที่ 4 และคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินจากประเภทที่ 4 เป็น ประเภทที่ 3
3. กทม. ยังมีความพร้อมไม่เพียงพอในการจัดการและบริหารโครงการฯ โดยเฉพาะการจัดเตรียมพื้นที่และการประสานงาน การดำเนินโครงการภายใต้การทำสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนการจัดเตรียมรายละเอียดโครงการใน เรื่องที่ดินยังไม่มีความพร้อม ขาดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการบริหารสัญญาและการกำกับดูแลโครงการยังขาดการประสานงานภายในองค์กรเองด้วย รวมทั้งเมื่อผู้รับจ้าง รายแรกทิ้งงาน กระบวนการเพื่อหาผู้รับจ้างรายใหม่ใช้เวลาค่อนข้างล่าช้ารวม 18 เดือน ส่งผลให้เงิน ลงทุนโครงการฯ โดยรวมสูงกว่าที่ควรจำนวน 1,065.62 ล้านบาท และในจำนวนนี้ทำให้รัฐและ กทม. ต้องเสียงบประมาณโดยสูญเปล่าเป็นจำนวนเงิน 381.32 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ซ่อมแซมโรงบำบัดน้ำเสียและรวบรวมน้ำเสีย และค่าก่อสร้างซึ่งเพิ่มสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. พิจารณาหาแนวทางใช้ประโยชน์ศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียที่เหลืออยู่ประมาณ ร้อยละ 50 ของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการขยายพื้นที่รับผิดชอบในการรวบรวมน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงให้มากขึ้น รวมทั้งพิจารณาการเชื่อมต่อท่อรวบรวมน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่โครงการทั้งหมด เพื่อป้องกันการระบายน้ำเสียลงสู่คลองโดยตรง
2. พิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทการจัดการน้ำเสียและแผนการลงทุนก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ทั้งหมด โดยการหาแนวทางเพิ่มหรือขยายเขต พื้นที่รวบรวมน้ำเสียของโรงบำบัดที่มีศักยภาพคงเหลืออยู่ค่อนข้างมาก เช่น ขยายเขตพื้นที่รวบรวมน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ซึ่งมีศักยภาพในการรองรับน้ำเสียเหลืออยู่อีกประมาณ 175,000 ลบ.ม./วัน หรือประมาณร้อยละ 50 ของศักยภาพที่มีอยู่ ให้ไปรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่อื่น ๆ บริเวณใกล้เคียงที่ยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย
3. การออกแบบก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียที่จะดำเนินการก่อสร้างในอนาคต ควรกำหนดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของโครงการอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพยากรณ์ปริมาณน้ำเสียในพื้นที่ดำเนินโครงการ และการศึกษาคุณลักษณะน้ำเสียในพื้นที่ดำเนินโครงการอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการออกแบบก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียเกินความจำเป็นอีก
4. ในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโครงการนี้ ใช้ค่า 5 DWF เป็น ตัวกำหนดขนาดของส่วนประกอบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งค่า 5 DWF เป็นค่าที่ใช้ในการออกแบบระบบของต่างประเทศ ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการศึกษาค่าที่เหมาะสม และ กทม. ยังต้องมีการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียอีกจำนวนมาก กทม. จึงควรทำการศึกษาหาค่าที่เหมาะสม
5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงความรุนแรงของปัญหาน้ำเสีย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ความสำคัญและความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งควรประสานงานขอความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว
6. ควรดำเนินการประสานงานทั้งหน่วยงานภายในของ กทม. และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องถึงแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง ที่ยากต่อการแก้ไข
7. ในโอกาสต่อไป กรณีก่อสร้างโครงการใหญ่หากมีการบอกเลิกสัญญากับผู้รับจ้าง กทม. ควรเร่งรัดสรุปผลการดำเนินงานโครงการที่เกิดขึ้น พร้อมวิธีการและแนวทางในการดำเนินการ โครงการต่อคณะกรรมการกำกับโครงการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หากได้รับการอนุมัติ กทม. ควรดำเนินการโดยเร็วเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการทิ้งงานนาน
8. กรณีมีปัญหาการดำเนินการที่มีข้อพิพาทอยู่ ควรพิจารณาเตรียมการหาทางออกด้านกฎหมายเพื่อให้สัญญาที่มีข้อพิพาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการได้มีการดำเนินการโดยเร็วที่สุด
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(30) โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.แพร่ แจกปัจจัยเกินจำเป็น-ไม่สอดคล้องหลักการ
เปิดกรุผลสอบสตง.(31) ปศุสัตว์ปลอดภัย จ.พะเยา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(32) การแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.ร้อยเอ็ด ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(33) แผนพัฒนาเกษตรบรรเทาแล้งศรีสะเกษ เสียหาย-บริหารต่อไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(34) อบจ.อุดรฯ ซื้อผ้าห่มแจกต้านภัยหนาวปี57 แพงกว่าราคาตลาด
เปิดกรุผลสอบสตง.(35) อบจ.ชลบุรี ติดกล้องวงจรปิดปี52-59 ใช้งานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(36) การเช่าที่ราชพัสดุ สนง.ธนารักษ์ขอนแก่น ผิดกม.-ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(37) การคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ล่าช้า-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(38) พัฒนาท่องเที่ยวสู่อาเซียนพัทลุง เบิกจ่ายผิดระเบียบ-ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(39) สนง.พัฒนาที่ดินโคราช ขุดแหล่งน้ำผิดระเบียบ-ใช้ประโยชน์ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(40) เครื่องมือตรวจอากาศกรมอุตุฯ ชำรุด - ใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(41) กองทุนพัฒนาสตรีมุกดาหาร ถูกสวมสิทธิไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา
เปิดกรุผลสอบสตง.(42) สวนปาล์มนาร้างชุมพร นายทุน/ขรก.ร่วมเพียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(43) แขวงการทางสุราษฎร์ฯ แก้น้ำท่วมขังถนนรอบสมุย รำรางเล็ก-บางจุดไม่สำเร็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(44) ชลประทานพังงา ก่อสร้างแหล่งน้ำชนบท ล่าช้า-ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(45) พัฒนาสาขาท่องเที่ยวหนองคาย ไม่มีประสิทธิภาพ ราคากลางแพง-ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(46) โรงงานปุ๋ย/ธ.เมล็ดพันธุ์ประจวบฯ/ตึกสนง./เครื่องจักร ไม่เปิดใช้งาน
เปิดกรุผลสอบสตง.(47) ซ่อมอู่เรือสัตหีบ ช้ากว่าเป้าหมาย-อุปกรณ์บางอย่างใช้ไม่ได้
เปิดกรุผลสอบสตง.(48) ปรับภูมิทัศน์อบต.หาดทรายรีชุมพร ก่อสร้างอาคาร-อุปกรณ์ ไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(49) อปท. กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด สร้างลานกีฬา ไร้มาตรฐาน-ไม่คุ้มค่า
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/