"...เกษตรกรแต่ละรายมีจำนวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการไม่เท่ากัน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จำนวน 220 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 83.97 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการน้อยกว่า 13.25 ไร่ ซึ่งเป็นขนาดพื้นที่ขั้นต่ำตามหลักวิชาการที่จะสามารถรองรับปัจจัยการ ผลิตที่ได้รับการสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านพืชและด้านประมงที่ไม่คุ้มค่า และเกินความจำเป็น เนื่องจากปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรได้รับมีจำนวนมากเกินสัดส่วนของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานตรวจสอบสำคัญของไทย มีหน้าที่ในการป้องกันดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ที่ถูกใช้จ่ายไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ที่ผ่านมา สตง.ได้มีการเผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินที่สำคัญไว้หลายเรื่อง สำนักข่าวอิศรา จึงขอเปิดพื้นที่ตรงนี้ ทุกวันเสาร์ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบที่สำคัญมานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ
ในสัปดาห์ที่ 30 จะเป็นการนำเสนอผลการตรวจสอบการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแพร่ สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
@ โครงการส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแพร่ สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โครงการส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแพร่ ประจำปีงบประมาณ 2558 งบประมาณ 25,513,655 บาท เป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการส่งเสริมอาชีพตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างมลูค่าสินค้าทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดให้มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่เป็นหน่วยงานดำเนินการตามหนังสือที่ พร 0018.1/ว 3395 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2558 เรื่อง การดำเนินมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือกิจกรรมการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่งบประมาณ 23,406,750 บาท กิจกรรมจุดเรียนรู้การเกษตรทฤษฎีใหม่และการอารักขาพืชงบประมาณ 1,817,100 บาท และ กิจกรรมบริหารจัดการ อำนวยการ ติดตาม งบประมาณ 289,805 บาท ทั้งนี้ในการดำเนินการได้เบิกจ่ายงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 22,070,688 บาท
โครงการส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแพร่ ได้ให้ความสำคัญกับการน้อม นำกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบของระบบเกษตรกรรมที่พอเพียงและยั่งยืน โดยใช้หลักในการบริหารจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ดำเนินการตรวจสอบโครงการส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแพร่ ประจำปีงบประมาณ 2558 เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานและผลการดำเนินงานตามโครงการมีผลกระทบต่อการเกษตรทฤษฎีใหม่ของจังหวัดแพร่ รวมทั้งเพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้เป็นแนวทางในการผลิตทางการเกษตร โดยคาดหวังว่าผลการตรวจสอบจะนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของจังหวัดแพร่ในอนาคต รวมทั้งเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจสอบมาใช้เป็นหลักเกณฑ์และแนวทางในการน้อมนำแนวพระราชดำริ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มาเป็นแนวทางในการผลิตทางการเกษตรได้อย่างพอเพียงและยั่งยืนตามวัตถุประสงค์และเป้าห
มายของโครงการ และสามารถดำเนินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประหยัดคุ้มค่าต่อไป
ผลการตรวจสอบ
ข้อตรวจพบที่ 1 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ
จากการตรวจสอบพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ โครงการกำหนดไว้ ดังนี้
1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่การเกษตรน้อยกว่า 15 ไร่
จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานแสดงรายละเอียดพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 262 ราย พบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่จำนวน 227 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 86.64 ของ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีพื้นที่การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือมีพื้นที่ การเกษตรน้อยกว่า 15 ไร่
ในจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 227 รายดังกล่าวข้างต้นนั้น พบว่ามีเกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการจำนวนมากถึง 199 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 87.66 ที่มีพื้นที่การเกษตรเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ 10 ไร่ลงมา และที่สำคัญมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่มีพื้นที่การเกษตรตั้งแต่ 5 ไร่ลงมา เป็นจำนวนถึง 100 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 44.05 ของเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรเข้าร่วมโครงการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยในจำนวนนี้มีเกษตรกร จำนวน 31 ราย ที่มีพื้นที่การเกษตรเข้าร่วมโครงการไม่เกิน 3 ไร่
2. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรให้เป็นไปตามอัตราส่วนตาม แนวทางที่โครงการกำหนดไว้
จากการสุ่มตรวจสอบสังเกตการณ์ผลการดำเนินงานของเกษตรกรจำนวน 70 ราย จากเกษตรกรที่ เข้าร่วมโครงการจำนวน 262 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample random sampling) พบว่า
2.1 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งหมด 70 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มตัวอย่าง ไม่ดำเนินการปรับพื้นที่การเกษตรให้เป็นไปตามอัตราส่วนตามแนวพระราชดำริที่กำหนดไว้ คือ อัตราส่วน 30:30:30:10 ประกอบด้วย พื้นที่ขุดสระร้อยละ 30 พื้นที่ปลูกข้าวร้อยละ 30 พื้นที่ปลูกพืชไร่และพืชสวนร้อยละ 30 และ พื้นที่อยู่อาศัยและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 10
ทั้งนี้จากการสังเกตการณ์ผลการดำเนินงานของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 ราย พบว่าเกษตรกร ที่มีพื้นที่ขุดสระน้อยกวา่ร้อยละ 10 ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 55 ราย ส่วนเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกพืชไร่และพืชสวนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 11 ราย
หากพิจารณาจากจำนวนพื้นที่การเกษตรที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการใช้ในการขุดสระและใช้ในการปลูกพืชไร่และพืชสวน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการสนับสนุนปัจจัยการผลิตตามโครงการ พบว่ามีข้อตรวจพบที่มีนัยสำคัญ ดังนี้
1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่ที่ใช้ในการขุดสระตั้งแต่ 0-2.76 ไร่ โดยในจำนวนนี้ไม่มีการขุดสระเลยจำนวน 5 ราย และมีเกษตรกรที่ขุดสระตั้งแต่ 1 ไร่ลงมาจำนวน 60 ราย
2) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่ปลูกพืชไร่และพืชสวนตั้งแต่ 0 – 40.18 ไร่ โดยใน จำนวนนี้ไม่มีพื้นที่ปลูกพืชไร่และพืชสวนเลยจำนวน 5 ราย และมีพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 7 ไร่ลงมาจำนวน 44 ราย โดยแยกเป็นพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 4 ไร่ลงมาจำนวน 34 ราย ตั้งแต่ 2 ไร่ลงมาจำนวน 24 ราย และตั้งแต่ 1 ไร่ลงมามีจำนวน 15 ราย
2.2. จากการตรวจสอบสภาพพื้นที่ดำเนินการของนายประสิทธิ์ เลาหล้า เกษตรกรอำเภอหนองม่วงไข่ พบว่าพื้นที่ดำเนินการดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุจำนวน 4 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนหนองม่วงไข่พิทยาคม โดยนายประสิทธิ์ได้นำที่ดินดังกล่าวมาแจ้งในการเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้จากการสังเกตการณ์สภาพพื้นที่ดำเนินการและผลการดำเนินงานตามโครงการของนายประสิทธิ์ พบว่า สภาพพื้นที่ดำเนินการเป็นโรงเรียน มีการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยพื้นที่ทำการเกษตรมีเพียงสระน้ำ สำหรับใช้เลี้ยงปลาตามโครงการเท่านั้น ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกข้าว พื้นที่ปลูกพืชไร่ และพืชสวน และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ กรณีดังกล่าวจึงเป็นพื้นที่ที่มีขนาดและอัตราส่วนไม่สอดคล้องตาม หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และไม่ใช่พื้นที่การเกษตรของเกษตรกรตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
ข้อเสนอแนะ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ และเกษตรจังหวัดแพร่พิจารณาดำเนินการดังนี้
1. ในกรณีที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเกิดปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการดำเนินโครงการ กำชับให้หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการดำเนินงานตามโครงการอย่างเร่งด่วน เพื่อรับทราบและสามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนแก้ไขรายละเอียดและแนวทางของโครงการให้สอดคล้องกับสภาพ ข้อเท็จจริงได้อย่างทันท่วงที และป้องกันการสูญเสียของเงินงบประมาณ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์เงื่อนไขทางด้านขนาดพื้นที่เข้าร่วมโครงการและอัตราส่วนของพื้นที่ดำเนินการตามแนวพระราชดำริพร้อมทั้งพิจารณาโทษทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกรายตามควรแก่กรณี
3. กำชับให้กลุ่มงานผู้รับผิดชอบโครงการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รบัผิดชอบโครงการในระดับต่างๆ ให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งประสานงานในรายละเอียดของโครงการเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางที่กำหนดไว้
4. กำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมดำเนินโครงการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อนเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งตรวจสอบสภาพพื้นที่และความพร้อมของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ
5. ในกรณีที่เกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุกลำดับชั้น รายงานสภาพปัญหาอุปสรรคต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเร่งด่วน เพื่อรับทราบและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
6. ในกรณีที่เกิดปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงานตามโครงการ ทำให้ไม่สามารถดำเนิน โครงการได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ให้เกษตรจังหวัดแพร่รายงานปัญหาและอุปสรรค ดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เพื่อรับทราบและดำเนินการปรับเปลี่ยนแก้ไขรายละเอียดโครงการให้สอดคล้องกับ สภาพข้อเท็จจริงของโครงการหรือปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ต่อไป
7. ในกรณีที่นายประสิทธิ์ เลาหล้า เกษตรกรอำเภอหนองม่วงไข่ นำที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน หนองม่วงไข่พิทยาคมมาใช้ประกอบในการเข้าร่วมโครงการ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการ พิจารณาคัดเลือกเกษตรกรรายดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งพิจารณาโทษทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุก รายตามควรแก่กรณี
ข้อตรวจพบที่ 2 สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่สนับสนุนและแจกจ่ายปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เกินความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ดำเนินการ
จากการตรวจสอบผลการสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านพืชและด้านประมงของสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ พบว่าสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่แจกจ่ายปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 262 ราย ในปริมาณที่เท่ากันทุกราย คือ เกษตรกรทุกรายจะได้รับต้นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจำนวน 100 ต้น ต้นเงาะจำนวน 100 ต้น ต้นมะนาวจำนวน 100 ต้น ปลานิลจำนวน 3,000 ตัว ปลาตะเพียนจำนวน 2,500 ตัว ปลายี่สกจำนวน 2,500 ตัว ปลาสวายจำนวน 2,500 ตัว และปลาจีนจำนวน 2,000 ตัว กรณีดังกล่าวจึงเป็นการสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่ไม่สอดคล้องกับขนาดพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการของเกษตร เนื่องจากเกษตรกรแต่ละรายมีจำนวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการไม่เท่ากัน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จำนวน 220 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 83.97 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการน้อยกว่า 13.25 ไร่ ซึ่งเป็นขนาดพื้นที่ขั้นต่ำตามหลักวิชาการที่จะสามารถรองรับปัจจัยการ ผลิตที่ได้รับการสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านพืชและด้านประมงที่ไม่คุ้มค่า และเกินความจำเป็น เนื่องจากปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรได้รับมีจำนวนมากเกินสัดส่วนของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ
ข้อเสนอแนะ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ และเกษตรจังหวัดแพร่พิจารณาดำเนินการดังนี้
1. กรณีสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่จัดซื้อปัจจัยการผลิตด้านพืชและด้านประมง งบประมาณ 12,877,400 บาท ซึ่งเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ดำเนินการและเกินความจำเป็น จำนวน 5,798,085 บาท ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหาผู้รับผิดทางละเมิด เพื่อชดใช้เงินและนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป พร้อมทั้งพิจารณาโทษทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกรายตามควรแก่กรณี
2. กรณีเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 ราย ไม่มีต้นไม้ผลให้ตรวจนับจำนวน 7,331 ต้น มูลค่า 404,760 บาท ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงถึงผลการดำเนินการปลูกต้นไม้ผลของเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการสุ่มตรวจสอบสังเกตการณ์อีกจำนวน 192 ราย พร้อมทั้งสรุปผลการสอบข้อเท็จจริงของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 262 ราย หากพบว่าเกษตรกรรายใดไม่มีต้นไม้ผลให้ตรวจนับให้หาผู้รับผิดทางละเมิดเพื่อชดใช้เงินและนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป พร้อมทั้งพิจารณาโทษทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกรายตามควรแก่กรณี
3. กำชับให้หัวหน้าส่วนราชการและผู้จัดทำโครงการในลักษณะที่ต้องใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำโครงการทำการสำรวจตรวจสอบข้อเท็จจริงของสภาพพื้นที่ดำเนินการและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้แน่ชัดก่อน และนำข้อมลูดังกล่าวมาใช้ประกอบในการพิจารณาจัดทำโครงการเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิด ความสูญเสียแก่ทางราชการอย่างกรณีเช่นนี้อีก
4. ในการจัดทำโครงการที่มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อนทกุครั้ง ทั้งนี้เพื่อทราบปริมาณของปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดำเนินการ และเพื่อทราบจำนวนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านเงื่อนไข ตามหลักเกณฑ์ของโครงการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียงบประมาณที่เกินความจำเป็นและป้องกันความเสี่ยงที่ผลการดำเนินงานจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
5. กรณีที่มีการแจกจ่ายปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก ลำดับชั้น ดำเนินการควบคุมและติดตามปัจจัยการผลิตให้ดำเนินการในพื้นที่ที่แจ้งเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
6. ในโอกาสต่อไป กรณีที่เกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการให้รายงานสภาพปัญหา อุปสรรคต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเร่งด่วน เพื่อรับทราบและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
7. ให้นำข้อมูลการให้ความร่วมมือของเกษตรกรที่ได้จากการควบคุมและติดตามผลการดำเนิน โครงการ มาใช้ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการของสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ในโอกาสต่อไป
8. ในกรณีที่เกิดปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงานตามโครงการ ทำให้ไม่สามารถดำเนิน โครงการได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ให้เกษตรจังหวัดแพร่รายงานปัญหาและอุปสรรค ดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เพื่อรับทราบและดำเนินการปรับเปลี่ยนแก้ไขรายละเอียดโครงการให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของโครงการหรือปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ต่อไป
----
ในสัปดาห์หน้า สำนักข่าวอิศราจะนำเสนอผลการตรวจสอบที่สำคัญของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรื่องใด โปรดติดตาม
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/
อ่านประกอบ :
เปิดกรุผลสอบสตง.(1) ชำแหละงบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกาญฯ ไม่คุ้มค่า ห้องอาบน้ำแร่ถูกทิ้งร้าง
เปิดกรุผลสอบสตง.(2) ตรวจงบยกระดับหมู่บ้านโคราช ใช้ภาพเดียวเบิกเงิน 6 โครงการรวด
เปิดกรุผลสอบสตง.(3) ตรวจการผลิต-ใช้พลังงานทดแทน ‘กรมการพลังงานทหาร’ ล้มเหลวไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(4) ตรวจนโยบายร.ร.ดีใกล้บ้าน ยกระดับการศึกษาล้ม-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(5) ตรวจโครงการพัฒนาลำเชียงไกรโคราช ไม่เสร็จตามแผน-ซื้อของเกินจำเป็น
เปิดกรุผลสอบสตง.(6) ตรวจโครงการพัฒนาพืช-พลังงาน จ.ขอนแก่น 113ล. ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(7) ตรวจโครงการพลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้า-ประปาจ.กาญจนฯ ล้มเหลว-เบิกจ่ายเท็จ
เปิดกรุผลสอบสตง.(8) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลนคร/เมือง ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(9) ตรวจการควบคุมเคมีทางเกษตร พบสารต้องห้าม-ร้านขายไม่ปลอดภัย-ผิดกม.
เปิดกรุผลสอบสตง.(10) ตรวจโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด อปท.ลำปาง ไม่คุ้มงบ-ผิดวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(11) ตรวจโครงการสินค้าเกษตร 4.0 สุพรรณฯ ไม่พร้อมดำเนินการ-ไม่คุ้มงบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(12) ตรวจโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ขาดความต่อเนื่อง-ไม่ยั่งยืน
เปิดกรุผลสอบสตง.(13) ตรวจศูนย์อาชีพผู้สูงอายุ ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์-จัดซื้อไม่คุ้มค่า
เปิดกรุผลสอบสตง.(14) ตรวจโครงการแพทย์ฉุกเฉิน อบจ.มหาสารคาม มอบรถพยาบาลช้า-ใช้ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(15) ตรวจสหกรณ์จ.สุราษฎร์ฯ-ชุมพร ตั้งโรงงานยางพารา แต่ไม่เดินสายพานผลิต
เปิดกรุผลสอบสตง.(16) ตรวจการเก็บค่าภาคหลวงแร่ กรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฯ ไม่เป็นตามกฎหาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(17) ตรวจโครงการนาขั้นบันไดจ.น่าน ไม่ตรงเป้าหมาย-เบิกจ่ายเท็จ/ผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(18) ตรวจศูนย์เด็กเล็ก อปท.นครศรีธรรมราช ไร้ประสิทธิภาพ-ไม่ปลอดภัย
เปิดกรุผลสอบสตง.(19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี ไร้ประสิทธิภาพ-จบช้า/น้อย-พบนศ.ผี
เปิดกรุผลสอบสตง.(20) ตรวจโครงการเกษตรอินทรีย์กาญจนฯ ไม่บรรลุประสงค์-จัดซื้อผิดระเบียบ
เปิดกรุผลสอบสตง.(21) ตรวจโครงการความปลอดภัยทางทะเลพัทยา ระบบ/อุปกรณ์ไม่ตรงตาม TOR
เปิดกรุผลสอบสตง.(22) ตรวจการกำจัดขยะ อปท. นครสวรรค์/พิจิตร ไม่ได้มาตรฐาน-ไม่ตามโรดแม็พ
เปิดกรุผลสอบสตง.(23) ตรวจการพัฒนาชลประทานฉะเชิงเทรา ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(24) ตรวจโครงการช่วยเกษตรกร/คนจน กำแพงเพชร ผิดระเบียบ-ไม่บรรลุเป้าหมาย
เปิดกรุผลสอบสตง.(25) ตรวจโครงการควมคุมอาคารเขตเทศบาลตำบล/อบต. ไม่ปลอดภัย-ผิดกม.อื้อ
เปิดกรุผลสอบสตง.(26) ตรวจโครงการเกษตรผสมผสานอีสานล่าง 2 ผิดวัตถุประสงค์-ไม่มีประสิทธิภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(27) ตรวจสอบการประปาเทศบาลนครศรีธรรมราช ขาดประสิทธิภาพ-ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ
เปิดกรุผลสอบสตง.(29) ตรวจสอบระบบจัดการขยะ จ.เชียงราย ไม่เป็นระบบ-ขาดประสิทธิภาพ