ละเอียดยิบ! เปิดคำสั่งปปง.ยึดอายัด 596.6 ล. กลุ่ม ‘ฉี ซู’ ชาวจีนกับพวก 13 ราย หลอกลงทุน คริปโตฯผ่านแอปปลอม โยงแก๊งคอลเซนเตอร์ ถือครองทรัพย์ในชื่อคน บริษัท อื้อ 32 ราย 133 รายการ นาฬิกา กระเป๋าหรู เงินสด รถยนต์ 14 คัน ที่ดินสิ่งปลูกสร้างรวม 13 แปลง พบถอนเงินพันล. แปลงสภาพเป็นอสังหาฯ
วันที่ 7 ธ.ค.2566 ที่ผ่านมา สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีคำสั่ง คณะกรรมการธุรกรรม ที่ย.240 /2566 ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย นายฉี ชู (MR.Qบ XI หรือ MR.XU QI) สัญชาติจีนหัวหน้าขบวนการ พฤติการณ์หลอกลวงฉ้อโกงประชาขนให้ร่วมลงทุนในลักษณะที่จะได้ผลตอบแทนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กัน โดยการสร้างบัญชีเฟชบุ๊กปลอม สร้างแอปพลิเคชันเทรตเหรียญ คริปโตเคอร์เรนซีปลอม ทรัพย์สินที่ถูกยึดและอายัด รวม 133 รายการ มูลค่ามากถึง 596,609,363.83 บาท อยู่ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ/ผู้ครอบครองทั้งบุคคลและนิติบุคคล 32 ราย (นิติบุคคล บริษัท 11 ราย)
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำคำสั่งและรายละเอียดทรัพย์สินที่ถูกยึดและอายัดมารายงาน
@ ปปง. รับเรื่อง บก.ปอท.
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามหนังสือที่ ตซ 0026.(12)ส1/396 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2566 เรื่อง รายงานการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนและขอให้วิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงินของผู้ต้องหา ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน และความผิดฐานการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ กล่าวคือ
นายไพทูร ไพศาลสุขวิทยา ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทศโนโลยีให้ดำเนินคดีกับ
1. นางสาว จักรีณา ชูขาวศรี
2. MR.LI LOUK TONE
3. นางสาวอัจฉรา เหล่าเกษกรรม
4. นางสาวสุภาวินี เพ็ชร์เอี่ยม
5. นายณัฐฐินันท์ เภาชิต
6. นางสาวสาวิตรี อังคะบุตร
7. นางสาวภัศรา เหล่าเกษกรรม
8. นางสาวลาวัลย์ ทวีอภิรดีพูน
9. นางสาวสุมาลี แซ่พุ่ง
10. นายฉี ชู (MR.QU XI หรือ MR.XU QI)
11. MS.CAI PENGFEI
12. MP.ZHANG JE
13. MS.BIAN QI
@แฉพฤติการณ์หลอกผู้เสียหายลงทุคริปโตฯผ่านแอปพลิเคชั่นปลอม แบ่งหน้าที่กันทำ
มีพฤติการณ์หลอกลวงให้ผู้เสียหายลงทุน และโอนเงินไปลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีผ่านแอปพลิเคชั่นปลอมที่มีชื่อว่า Cboe Global Markets ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้มีการโอนเงินไปร่วมลงทุนและได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวน 12,900,000 บาท ซึ่งพฤติการณ์ของกลุ่มบุคคลดังกล่าวยังมีความเกี่ยวข้องกับขบวนการแก็งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการกระทำความผิด ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศ มีนายฉี ซู (MR.QU XI หรือ MR.XU QI) สัญชาติจีนเป็นหัวหน้าขบวนการ โดยการหลอกลวงฉ้อโกงประชาขนให้ร่วมลงทุนในลักษณะที่จะได้ผลตอบแทนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กัน โดยการสร้างบัญชีเฟชบุ๊กปลอม สร้างแอปพลิเคชันเทรดเหรียญ คริปโตเคอร์เรนซีปลอม มีการอำพรางเส้นทางการเงินด้วยการให้ผู้เสียหายโอนเป็นเหรียญสกุลเงินคริปโตเตอร์เรนซีและมีการโยกย้ายเหรียญสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซีดังกล่าวในลักษณะเป็นทอด ๆ จำนวนหลายทอด มีทีมถอนเงินออกจากบริษัท Exchange ประมาณพันล้านบาท และนำไปแปรสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์หรู พนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์และทำการสอบสวนเป็นคดีอาญาที่ 19/2566 เป็นความผิดในข้อหามีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบตอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนและร่วมกันฟอกเงิน อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 และความผิด ฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 ซึ่งมาตรา 22 บัญญัติให้เป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านายฉี ซู (MR.QU XI หรือ MR.XU QI) กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตังกล่าว
@ตรวจสอบทรัพย์สิน 133 รายการ
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 569/2566 ลงวันที่ 20 กันยายน 2566 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รายนายฉี ซู (MR.QU XI หรือ MR.XU Q) กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบ รายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว
ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า นายฉี ซู (MR.QU XI หรือ MR.XU QI) กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 ซึ่งมาตรา 22 บัญญัติให้เป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
รวมทั้งจากการรวบรวมพยานหลักฐาน ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าว ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 133 รายการ พร้อมดอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้ประกอบด้วยสังทาริมทรัพย์ประเภท เงินสต ทองรูปพรรณ เครื่องประดับ นาฬิกา กระเป๋า สินค้าแบรนด์เนม ตู้นิรภัย อันเป็นทรัพย์สินที่ไม่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียน โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองสามารถโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิดหรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย สังหาริมทรัพย์ประเภทรถยนต์ อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานในทางทะเบียน ในการควบคุม การเสียภาษี หรือการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าว
โดยผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองอาจดำเนินการโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิครอบครองในทางทะเบียนได้โดยง่าย อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ตินตามโฉนตที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียน ในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครอง โดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีสิทธิครอบครอง อาจดำเนินการทางนิติกรรมโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครอง ในทางทะเบียนได้ และสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถ โอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นไต้โดยง่าย
หากมิได้มีการออกคำสั่งให้ยึดและอายัตทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินตำเนินการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้น ทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตังกล่าวตกเป็นของแผ่นติน สำนักงาน ปปง.อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านายฉี ซู(MR.QU XIหรือ MR.XU QI) กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้ายปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
@คดีอาญา ผู้ต้องหา 19 ราย ร่วมกันฟอกเงิน คดีอยู่ที่อัยการ
นอกจากนี้ เนื่องจากปรากฏพยานหลักฐานในคดีดังกล่าว พนักงานสอบสวนได้มีการรวบรวมพยานหลักฐานประกอบรายงานการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน และรายงานการตรวจพิสูจน์ทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้ง 19 ราย ปรากฎพยานหลักฐานยืนยันการกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 ถึงผู้ต้องหาที่ 10 เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ประชาชนโดยการแสดงตนเป็นคนอื่น ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งทมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน การกระทำผู้ต้องหาที่ 1 ถึงผู้ต้องหาที่ 19 เป็นความผิดฐานร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์การอาชญากรรมข้ามชาติ สมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และร่วมกันฟอกเงิน กระทำของผู้ต้องหาที่ 15 ผู้ต้องหาที่ 16 ผู้ต้องหาที่ 18 และผู้ต้องหาที่ 19 เป็นความผิดฐานร่วมกันสนับสนุนการกระทำความผิด หรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด หรือกระทำการใด เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ทางคดีพยานหลักฐาน พอฟ้อง จึงเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 ถึงผู้ต้องหาที่ 19 ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการ
กรณีปรากฎพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า นายฉี ซู (MR.QU XI หรือ MR.XU Q) กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 คณะกรรมการธุรกรรมในการประชุมครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 จึงมีมติให้เพิ่มความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน รายนายฉี ซู (MR.QU XI หรือ MR.XU QI) กับพวกอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประขุมครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่องการตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรม จึงมีคำสั่งยึดและอายัตทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว จำนวน 133 รายการ พร้อมดอกผลมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2567 โดยมีรายการทรัพย์สินที่ยืดและอายัดปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคำสั่งนี้
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ไต้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินตังกล่าวหรือสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวด้วย
@เปิดรายงานทรัพยสิน 133 รายการ รถ14 คัน ที่ดิน 13 แปลง
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ทรัพย์สิน 133 รายการที่ถูกยึดและอายัด แบ่งเป็นทรัพย์สินที่ถูกยึด จำนวน 125 รายการ รวมมูลค่า 595,478,795.71 บาท ประกอบด้วย นาฬิกาข้อมือ กระเป๋าหรู สร้อยข้อมือ สร้อยคอ กระเป๋าสะพาย แว่นตากันแดด เงินสด (ธนบัตรไทยและธนบัตรต่างชาติ) กำไลข้อเท้า จี้ทองคำ ช้อน ตู้นิรภัย เครื่องนับธนบัตร รองเท้า รองเท้าผ้าใบ รถยนต์นั่ง 14 คัน ที่ดิน และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 13 แปลง ซึ่งอยู่ในชื่อของบุคคล อาทิ นางสาว จักรีณา ชูขาวศรี และนิติบุคคล เป็นต้น
ทรัพย์สินที่ถูกอายัด ได้แก่เงินในบัญชีเงินฝาก 8 รายการ (บัญชี) รวม 1,121,568.12 บาท
รวมทรัพย์สินที่ยึดและอายัด 133 รายการ 596,609,363.83 บาท (ดูรายละเอียดในไฟล์เอกสารแนบ)