จะมิได้มีถ้อยคําว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต แต่การมีลักษณะเป็นการกระทําที่เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น อันอยู่ในความหมายของการกระทําโดยทุจริตด้วยเช่นกัน ในชั้นนี้จึงเห็นว่า กระบวนการขั้นตอนมีมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่พิพาทไม่น่าจะไม่ชอบด้วยกฏหมาย กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะมีคําสั่งทุเลาการบังคับ ตามคําสั่งทางปกครองที่พิพาทได้ตามข้อ 72 วรรคสาม แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
กรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัครบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบเรื่องการขาดคุณสมบัติของนายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากว่านายนิพนธ์นั้นเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 เพราะเคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
ขณะที่ นายนิพนธ์ ได้ออกมาชี้แจงตอบโต้ นายเรืองไกรว่า เมื่อเดือน ม.ค.2566 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยกรณีนี้ไปแล้ว จึงสามารถสมัคร ส.ส.ได้
ก่อนหน้านี้สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง ที่วินิจฉัยให้นายนิพนธ์ สามารถสมัคร ส.ส.ได้ เพราะเป็นกรณีที่จะทําให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้ฟ้องคดีจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลังได้ มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว
- ฉบับเต็ม! คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวศาลปค.กลาง ชี้ 'นิพนธ์' สมัคร ส.ส.ไม่ได้จะเสียหายร้ายแรง
- 'นิพนธ์' โต้ 'เรืองไกร' ยกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวศาลปกครองกลาง ยัน สมัคร ส.ส.ได้
อย่างไรก็ดี ในการออกคำสั่งทุเลาของศาลปกครอง กรณีนี้ มีความเห็นแย้งของตุลาการศาลปกครองเสียงข้างน้อยชื่อว่านายมนูญ พิบูลรัตนากุล ที่ไม่เห็นพ้องกับองค์คณะ และเห็นว่าไม่ควรจะออกคำสั่งทุเลาให้กับนายนิพนธ์
สำนักข่าวอิศรา นำความเห็นฉบับเต็ม ของ นายมนูญ มานำเสนอ ณ ที่นี้
ข้าพเจ้า นายมนูญ พิบูลรัตนากุล ตุลาการฝ่ายเสียงข้างน้อยในองค์คณะ ไม่เห็น พ้องด้วยกับองค์คณะ ที่มีคําสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยข้าพเจ้ามีความเห็น ดังนี้
คดีนี้ ขณะที่ผู้ฟ้องคดีเข้าดํารงตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งกระบวนการจัดซื้อรถซ่อมบํารุงทางอเนกประสงค์ จํานวน 2 คัน ตามสัญญาซื้อขายเลขที่ 22/2556 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 อยู่ในขั้นตอน การส่งมอบรถยนต์และเบิกจ่ายเงินให้บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด ผู้ขาย
โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับรถซ่อมบํารุงทางทั้ง 2 คัน ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และตรวจสอบระบบการทํางานของรถทั้ง 2 คันดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ลงนามในหนังสือมอบอํานาจให้บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด ไปดําเนินการ จดทะเบียนรถทั้ง 2 คัน กับกรมการขนส่งทางบก ทั้งยังแจ้งให้บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด ทดสอบการใช้งานรถซ่อมบํารุงทางทั้ง 2 คัน อีกครั้ง ทําให้มีบุคคลนําเรื่องดังกล่าวร้องเรียน ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
เมื่อการทดสอบการใช้งานรถยนต์ได้แล้วเสร็จในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557 และผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือ ที่ สข 51007/400 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แจ้งขนส่ง จังหวัดสงขลาเกี่ยวกับการมอบอํานาจให้บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด จดทะเบียนรถทั้ง 2 คัน ดังกล่าว ซึ่งบริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด ได้ดําเนินการจดทะเบียนแล้วเสร็จและส่งมอบ ใบคู่มือจดทะเบียนรถและป้ายทะเบียนรถยนต์ของรถซ่อมบํารุงทางทั้ง 2 คัน ให้องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสงขลาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
แต่ผู้ฟ้องคดีไม่อนุมัติเบิกจ่ายเงินให้แก่บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด บริษัทดังกล่าวจึงร้องเรียนต่อจังหวัดสงขลา และสํานักตรวจสอบ พิเศษภาค 15 ต่อมา สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ตม 0055 ส7/149 ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557 แจ้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาว่า การไม่เบิกจ่ายเงิน ให้แก่ผู้ขายเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และจังหวัดสงขลามีหนังสือ ที่ สข 0023.5/046 ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 แจ้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาว่า เมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับพัสดุถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสงขลามีหน้าที่ต้องเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายตามสัญญา
แต่ผู้ฟ้องคดียังคงไม่จ่ายเงิน ตามสัญญาให้แก่บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด โดยอ้างว่ามีผู้ร้องเรียนว่าการดําเนินการจัดซื้อ รถซ่อมบํารุงทางครั้งนี้ไม่โปร่งใส มีพฤติกรรมสมยอมในการเข้าเสนอราคาต่อองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสงขลา หลังจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 879-50/2560 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องร้องกล่าวหาของผู้ขาย หลังจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ 186/2561 ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน
การดําเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงเป็นการดําเนินการตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว มาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตําแหน่ง หรือเงินเดือนประจํา พนักงานหรือบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งมิใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ... “ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง” หมายความว่า (1) ...
(7) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้ หรืองบประมาณไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กําหนด ... มาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ... (3) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทําความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ที่ราชการ ... มาตรา 66 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีผู้เสียหายกล่าวหาว่าผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ... หรือข้าราชการการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ กระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ให้ผู้เสียหายยื่นคําร้อง เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. การที่ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสงขลา จึงเป็นผู้บริหารท้องถิ่นและเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ในชั้นนี้ว่า ขณะผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สงขลา มีผู้เสียหายร้องเรียนต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มอบอํานาจให้บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด เป็นตัวแทนในการจดทะเบียนรถซ่อมบํารุงทาง เอนกประสงค์ ชนิด 10 ล้อ เครื่องยนต์ดีเซล จํานวน 2 คัน และละเว้นไม่อนุมัติเบิกจ่ายเงิน ค่ารถทั้งสองคันให้แก่ผู้ขาย ตามสัญญาซื้อขายเลขที่ 22/2556 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 อันเป็นการกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและเป็นผู้บริหารท้องถิ่น กระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการและกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
คือ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงมีอํานาจไต่สวนและวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนดังกล่าวตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ต่อมา มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ศาลปกครองกลางเป็นต้นไป โดยมาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการดําเนินการตรวจรับคํากล่าวหา แสวงหา ข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน ไต่สวนและมีความเห็นหรือวินิจฉัย... บรรดาที่ดําเนินการ ไปโดยชอบอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้
และให้ดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยถือว่าพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งบรรดาระเบียบ ข้อกําหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เกี่ยวข้องที่ใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ยังมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป
ทั้งนี้เว้นแต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะมีมติให้ดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องดําเนินการในขั้นตอนการตรวจรับคํากล่าวหา แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานจนถึงการไต่สวนและมีความเห็นหรือวินิจฉัยไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เท่านั้น
แต่ไม่ได้บัญญัติโดยชัดแจ้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องส่งสํานวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจ แต่งตั้งถอดถอนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ด้วย ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนแล้วมีมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระท่า ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ... หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน ให้ดําเนินการดังนี้
(1) ถ้ามีมูล ความผิดทางอาญา ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งรายงาน สํานวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สําเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคําวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุดภายในสามสิบวันเพื่อให้อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องคดีต่อไป และมาตรา 98 วรรคสี่ บัญญัติว่า สําหรับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทํา ความผิดในเรื่องที่ถูกกล่าวหานั้น ให้ส่งสํานวนการไต่สวนไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจ แต่งตั้งถอดถอนเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 91 และมาตรา 98 ถือเป็นกฎหมายวิธีบัญญัติ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงต้องส่งสํานวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดและผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดําเนินการกับผู้ฟ้องคดีตามอํานาจหน้าที่ ตามมาตรา 91 (1) และมาตรา 98 วรรคสี่ แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
และโดยที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2561 เรื่อง การแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มาตรา 8 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจในการตีความและ วินิจฉัย ทั้งนี้ มติในการวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อาศัยอํานาจตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว มีมติให้ถือปฏิบัติว่าให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาดําเนินการตาม หน้าที่และอํานาจ ตามมาตรา 98 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 98 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2556
และให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ป.ป.ช.ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ปรากฏตามหนังสือสํานักงาน ที่ ปช 0026/0036 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2564
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงต้องผูกพันปฏิบัติตาม มติดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติว่าการกระทําของผู้ฟ้องคดี มีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา (ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด) และมีมูลความผิดฐานละเลยไม่ปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
จะมิได้มีถ้อยคําว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต แต่การมีลักษณะเป็นการกระทําที่เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น อันอยู่ในความหมายของการกระทําโดยทุจริตด้วยเช่นกัน ในชั้นนี้จึงเห็นว่า กระบวนการขั้นตอนมีมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่พิพาทไม่น่าจะไม่ชอบด้วยกฏหมาย กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะมีคําสั่งทุเลาการบังคับ ตามคําสั่งทางปกครองที่พิพาทได้ตามข้อ 72 วรรคสาม แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
สําหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า บทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ใช้สําหรับการ ดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยเฉพาะเกี่ยวกับส่วนที่ 1 การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และการตรวจสอบ เท่านั้น ไม่อาจ นํามาใช้กับหมวด 4 การดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ นั้น
เห็นว่า กรณีดังกล่าว เป็นเพียงเหตุผล ในการขอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 อันเป็นการแก้ไขปัญหาประการเดียวที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่หลักในการตรากฎหมายจะต้องให้มีผลบังคับเป็นการทั่วไป หากจะให้มีผลเป็นการเฉพาะกรณีใด ต้องระบุ กรณีนั้นให้ชัดเจน ซึ่งหากเป็นไปตามข้ออ้างของผู้ฟ้องคดี ข้อความของบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง จะต้องบัญญัติไว้ในส่วนที่ 1 ของหมวดที่ 5 เพื่อให้มีผลใช้เฉพาะกรณีในส่วนนี้เท่านั้น และหากมีปัญหาในการปฏิบัติเรื่องอื่นอีก จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอํานาจวินิจฉัยปัญหาการปฏิบัติในเรื่องนั้นอีก ซึ่งย่อมต้อง เกิดข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดังนั้น การที่บัญญัติเพิ่มเติมวรรคสองของ มาตรา 8 จึงต้องมีเจตนาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอํานาจวินิจฉัยปัญหาอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีจึงฟังไม่ขึ้น
ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรที่องค์คณะจะมีคําสั่งยกคําขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามคําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา
***************
อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับกรณีนี้ สำนักข่าวอิศรา รายงานไปแล้วว่า ในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน นายนิพนธ์ ระบุชัดเจนว่า เรื่องนี้ อยู่ในระหว่างการคุ้มครองคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งของกระทรวงมหาดไทย จึงทำให้คุณสมบัติในการสมัครเลือกตั้งนั้นยังมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ และขอยืนยันว่าในการปฏิบัติหน้าที่ช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบทุกอย่าง โดยได้อยู่บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินตามที่ได้เคยชี้แจงไปก่อนหน้านี้แล้วและเรื่องนี้ ป.ป.ช. ฟ้องเรื่องการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้นไม่ได้ฟ้องเรื่องทุจริตแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันขอชี้แจงให้ทราบ บริษัทผู้ชนะการประมูลงานและผู้เกี่ยวข้องตอนนี้ถูกออกหมายจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ ศาลอาญาทุจริตฯ ภาค 9 , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และเป็นการออกหมายจับแบบไม่มีอายุความอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันผู้ชนะการประมูลหลบหนีอยู่ต่างประเทศ
“สำหรับกรณีที่นายเรืองไกร ได้ร้องให้กกต.ตรวจสอบคุณสมบัตินั้น ขอเตือนไปยังคุณเรืองไกรด้วยว่า คุณก็เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ มีเจตนาเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จผ่านสื่อ อาจเข้าข่ายการใส่ร้ายป้ายสีในช่วงเลือกตั้งเป็นโทษทางอาญา” นายนิพนธ์กล่าว
ผลจากเรื่องนี้เป็นอย่างไร ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป