ตอนนี้มีเทรนด์ของสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งก็คือการประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นได้มีการเพิ่มกิจกรรมการจำกัดเสรีภาพพลเมืองและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งมาตรการการจำกัดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงวิกฤติโรคระบาดแล้ว และมีแนวโน้มที่ว่าเหล่าบรรดาผู้นำประเทศหลายประเทศนั้นจะเดินไปในทิศทางของระบอบเผด็จการมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ในสัปดาห์นี้ มีข่าวที่สำคัญเกี่ยวกับวงการปราบการทุจริตทั่วโลก ก็คือข่าวการประกาศค่า CPI หรือดัชนีต่อต้านการทุจริต ซึ่งประเทศไทยได้คะแนนอยู่ที่ 36 คะแนน ติดอันดับ 101 ของโลก
อย่างไรก็ตาม องค์การว่าด้วยความโปร่งใสนานาชาติได้มีการประเมินแล้วว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นยังคงมีปัญหาเดิมๆที่ส่งผลกับค่า CPI ก็คือปัญหาในเรื่องของการที่รัฐบาลผูกขาดอำนาจมากเกินไป
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดในดัชนีการรับรู้การต่อต้านการทุจริตหรือที่เรียกว่าค่า CPI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้แก่ประเทศนิวซีแลนด์ที่ได้คะแนน 87 คะแนน ตามมาด้วยสิงคโปร์ได้คะแนน 83 คะแนน และฮ่องกง 76 คะแนน
ขณะที่ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศกัมพูชา ได้แค่ 24 คะแนนเท่านั้น เมียนมาได้ 23 คะแนน และเกาหลีเหนือได้ 17 คะแนน จึงทำให้เป็นกลุ่มประเทศรั้งท้ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
คะแนน CPI ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ปรากฎว่าได้คะแนนเฉลี่ย 45 คะแนน
ขณะที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติหรือ Transparency International หรือ TI เองก็ได้ตั้งข้อสังเกตุว่าบางประเทศนั้นมีความคืบหน้าบางอย่าง แต่สถานการณ์โดยรวมนั้นพบว่าการทุจริตยังคงเป็นเรื่องปกติ และแทบจะไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมากเลยเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
TI รายงานต่อไปด้วยว่าตอนนี้มีเทรนด์ของสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งก็คือการประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นได้มีการเพิ่มกิจกรรมการจำกัดเสรีภาพพลเมืองและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งมาตรการการจำกัดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงวิกฤติโรคระบาดแล้ว และมีแนวโน้มที่ว่าเหล่าบรรดาผู้นำประเทศหลายประเทศนั้นจะเดินไปในทิศทางของระบอบเผด็จการมากขึ้นด้วยเช่นกัน
@รัฐบาลมีการรวมศูนย์อำนาจ และปิดปากผู้เห็นต่าง
TI ได้รายงานต่อไปว่าประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้นั้นมีลักษณะที่เสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในหลายประเทศที่มีประชากรมากที่สุด
“กลุ่มผู้ปกครองประเทศกำลังกระชับอำนาจของตัวเองมากขึ้น ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งนี่จำกัดทั้งเสรีภาพในการพูดหรือการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และเหล่าบรรดาผู้ปกครองประเทศก็ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆเลย เมื่อผู้ที่วิพากวิจารณ์รัฐบาลนั้นต้องติดคุกจากการกระทำที่ท้าทายผู้นำประเทศ” รายงานของ TI ระบุ
เครือข่ายการต่อต้านการทุจริตยังได้ชี้ไปที่ประเทศอินเดีย ที่ในปี 2554 ได้มีการประท้วงเกิดขึ้น จนนำไปสู่ความพยายามที่จะต่อต้านการทุจริตในรัฐบาล ซึ่งนับแต่นั้นรัฐบาลก็ได้มีการกระชับอำนาจและการจำกัดการแสดงความเห็นของสาธารณะมากขึ้นด้วยการให้มี “มาตรการที่เข้มข้นและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการห้ามไม่ให้มีการชุมนุมโดยสงบ”
มีรายงานด้วยว่ารัฐบาลอินเดียได้มีการควบคุมตัวนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสื่อมวลชน ภายใต้กฎหมายที่ชื่อว่า พ.ร.บ.ป้องกันการกระทําที่ผิดกฎหมายหรือ Unlawful Activities Prevention Act และที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือว่ารัฐบาลได้มีการรื้อถอนบ้านของกลุ่มนักเคลื่อนไหวในชุมชนชาวมุสลิม
ส่วนประเทศอื่นๆ อาทิ บังกลาเทศ และกัมพูชา ก็มีการออกกฎหมายที่มีลักษณะเดียวกันเพื่อจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มประชาชนที่ต้องการแสดงความเห็นตามสิทธิเสรีภาพและแสดงออกถึงความไม่พอใจรัฐบาล
“สื่อมวลชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนนั้นอยู่ภายใต้ความเสี่ยงเป็นพิเศษ เนื่องด้วยรัฐบาลพยายามที่จะข่มขู่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นด้วยการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งในบังกลาเทศและกัมพูชาในปี 2566 รัฐบาลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคืนสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนและทำให้แน่ใจว่าประชาชนสามารถแสดงความเห็นได้” รายงาน TI ระบุ
ส่วนที่ประเทศฟิลิปปินส์นั้นก็พบว่ามีการใช้กฎหมายเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อจะใช้จัดการกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักจัดกิจกรรม และสื่อมวลชนต่างๆด้วยเช่นกัน
@ประเทศอื่นๆที่อันดับลดลง
นอกจากนี้ที่มาเลเซียก็พบการลดลงของอันดับอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยในปีนี้พบว่ามาเลเซียได้คะแนน CPI อยูที่ 47 คะแนน ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าประเทศมาเลเซียกำลังดิ้นรนกับการต่อสู้กับการทุจริตครั้งใหญ่ นับตั้งแต่กรณีการทุจริต 1MDB ที่ถูกเปิดโปงครั้งแรกในปี 2559 ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโปงการทุจริตครั้งใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีทั้งธนาคาร,คนดังและสถาบันต่างๆในหกประเทศเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีทุจริตนี้
พอมาถึงปี 2565 ก็มีกรณีที่อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ต้องเข้าคุกเพราะความเกี่ยวข้องของเขาถึงกรณี 1MDB อย่างไรก็ตาม นี่กลับยังไม่ครอบคลุมถึงการทุจริตในระดับสูงสุดของประเทศ เพราะว่าในช่วงเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานต่อต้านการทุจริตของมาเลเซียก็ได้มีการเปิดการสอบสวนต่อนายกรัฐมนตรีอีกคนหนึ่งด้วยข้อหาว่านายกรัฐมนตรีคนนี้มีส่วนเกี่ยวกับการใช้เงินอย่างไม่ถูกต้องคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4,468,960,000,000 บาท) ในช่วงเวลาที่เขายังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
ขณะที่นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย แม้จะเคยออกมาบอกแล้วว่าต้องการจะปราบปรามการทุจริตและสะสางเรื่องอื้อฉาวต่างๆ แต่ว่ารัฐบาลมาเลเซียในปัจจุบันนั้นมีลักษณะเป็นรัฐบาลที่มาจากการรวมกันของหลายพรรค ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีเองก็เป็นคนที่เคยถูกข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริตในหลายกรณี ดังนั้นนี่จึงเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งว่าอาจจะเกิดกรณีการทุจริตครั้งใหม่ขึ้นมาอีกก็เป็นไปได้
นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศว่าทุจริตเป็นปัญหาใหญ่ (อ้างอิงวิดีโอจาก KiniTV)
ส่วนที่เมียนมา ก็พบว่าคะแนนของประเทศนั้นลดลงไป 5 คะแนนไปอยู่ที่ 23 คะแนน ซึ่งนี่เป็นสัญญาณของความน่ากังวลเนื่องจากกองทัพเมียนมายังคงยึดติดกับอำนาจอย่างเหนียวแน่นนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2564
@โอกาสในปี 2566
แม้ว่าภูมิภาคนี้จะประสบกับความยากลำบากในหลายประการ แต่ก็มีโอกาสอันดีที่ต้องคอยเฝ้าจับตาในปี 2566 สำหรับรัฐบาลในกาให้คำมั่นกับสาธารณชนอีกครั้งเพื่อต่อต้านการทุจริต
โดยการเลือกตั้งใหมทั้งในบังกลาเทศ,ปากีสถาน,ไทย,เมียนมาและกัมพูชา ในปี 2566 นั้นอาจจะเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับประชาชนที่จะทำให้เสียงของพวกเขาได้ยินอีกครั้งหนึ่ง และเพื่อจะจัดการกับข้อกังวลในเรื่องการทุจริตต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อหลายๆคน
ทางเครือข่ายต่อต้านการทุจริตเองยังได้มองว่าอินเดียนั้นจะได้เป็นผู้นำกลุ่มประเทศ G-20 ในปี 2566 ซึ่งนี่อาจจะเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับภูมิภาคที่จะจัดการกับการทุจริตครั้งใหญ่ที่ฝังรากลึก และสามารถนำเอาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
เรียบเรียงจาก:https://www.transparency.org/en/news/cpi-2022-asia-pacific-basic-freedoms-restricted-anti-corruption-efforts-neglected