ตัวแทนเยาวชนเครือข่าย SEED Thailand ภายใต้มูลนิธินักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าเพื่อสังคม ได้รับเชิญจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางไปศึกษาดูงานมณทลกุ้ยโจว - ปักกิ่ง ศึกษาโมเดลแก้จน ต่อยอดพัฒนาบ้านเกิด
วันที่ 20 - 31 ต.ค. 67 มูลนิธินักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าเพื่อสังคม (KPISE) จัดโครงการนำคณะเยาวชน SEED Thailand เดินทางศึกษาดูงานที่ประเทศจีน ณ มณฑลกุ้ยโจว และกรุงปักกิ่ง ศึกษาโมเดลแก้จนและการพัฒนาชนบท ภายใต้บทบาทการนำของพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมความสัมพันธ์เยาวชนไทย-จีน
การศึกษาดูงานครั้งนี้ประกอบด้วยการอบรมภาคทฤษฎี การลงพื้นที่ศึกษาดูงานภาคปฏิบัติ และกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์
สำหรับการอบรมภาคทฤษฎีนั้น ทางคณะผู้แทนเยาวชนฯ ได้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมา หลักการและวิธีการพัฒนาประเทศภายใต้การบริหารของพรรคคอมมิวนิสจีนที่ทำให้ชาติเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม เป็นต้น ตัวอย่างหัวข้อการศึกษา ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ เช่น การศึกษาโครงการพัฒนาเศรฐกิจ อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสุขและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับมากกว่าตัวเลข GDP ของประเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ทฤษฎีสองภูเขา สร้างให้ประชาชนรัก และดูแลธรรมชาติ
ด้านเทคโนโลยี เช่น ศูนย์จัดการข้อมูล Big Data, เทคโนโลยีทางการรักษาพยาบาล , การสื่อสาร , การศึกษา และอื่นๆ
ด้านสังคม เช่น การขจัดความยากจน, นโยบายยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ไม่ละทิ้งชนกลุ่มน้อย 56 ชนเผ่าให้อยู่ดีกินดี
ด้านวัฒนธรรม เช่น หมู่บ้านชนเผ่าเมี๊ยว, หมูบ้านบาสเกตบอลชนบท ที่สามารถผสมผสานวัฒนธรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน
การลงพื้นที่ศึกษาดูงานภาคปฏิบัติ ทางคณะผู้แทนเยาวชนฯ ได้เดินทางไปศึกษา ณ มณฑลกุ้ยโจว ทั้งหมด 18 สถานที่ ได้แก่
1. พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดิจิทัลเส้นทางการเดินทัพของพรรคคอมมิวนิสจีน (โครงการ The Red Ribbon) 2. ศูนย์นิทรรศการ National Big Data (Guizhou) Comprehensive Experimental 3. Guizhou Langma Information Technology Co., Ltd. 4. Guizhou Education Base of Poverty Alleviation 5. FAST Pingtang country 6. The Astronomy Experience Center 7. The Diamond Waist awarded the Nobel Prize of bridge engineering 8. The Transformation Black to Green: The Journey of Ecological Civilization Construction in Libo 9. Exploring Libo’s Path to “Lucid Waters and Lush Mountains Are Invaluable Assets” Teory 10. Exploration of Ecological Protection and Restoration of World Heritage Sites 11. Cuigu Waterfall and Nuneji Wetland 12. Comprehensive Water Management System of Karst Landforms in the Core Area of World Natural Heritage Sites 13. ทะเลสาบหยวนหยาง และสระอู่หลง 14. หมู่บ้านชนเผ่าเมี๊ยวในซีเจียง 15. หมู่บ้านบาสเกตบอลชนบท 16. พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การประชุมจุนยี่ 18. เมืองวัฒนธรรมสุราแห่งชาติจีน
ลงพื้นที่ศึกษาดูงานภาคปฏิบัติ ณ กรุงปักกิ่ง ทั้งหมด 8 สถานที่ ได้แก่
1. โรงน้ำชาเหล่าเซ่อ 2. มหาวิทยาลัยปักกิ่ง 3. สำนักงานใหญ่เท็นเซ็น 4. ที่ทำการคณะกรรมการกลาง การระหว่างประเทศของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิส 5. บริษัทหัวเว่ย ณ กรุงปักกิ่ง 6. กำแพงเมืองจีน 7. Tuspark 8. ซานหลี่ถุน
นอกจากนี้ระหว่างการศึกษาดูงานของคณะผู้แทนเยาวชนฯ มี กิจกรรมแลกเปลี่ยนกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-จีน อาทิเช่น การแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ไทย-จีน ในงานเลี้ยงต้อนรับคณะผู้แทนเยาวชน ณ โรงเรียนคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสประจำมณฑลกุ้ยโจว โดยผู้แทนเยาวชนฯ ไทย ได้ใส่ชุดประจำชาติทำการแสดงของ ทั้ง 4 ภาค จำนวน 4 ชุดการแสดง ได้แก่ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ ทางฝั่งจีนเองก็ได้ใส่ชุดประจำชาติเพื่อทำการแสดงรำพัด ร้องเพลง และประสานเสียง เช่นกัน
ในกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ไม่มีเพียงแต่เฉพาะการรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างไทยและจีนเท่านั้น แต่ยังสร้างสัมพันธ์อันดีกับนักศึกษาเอกวิชาภาษาไทย ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความคิด ระบบการศึกษา
ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ซุนบู้จ่าง หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ คณะกรรมการกลาง C.P.C. ให้เข้าพบ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการและกระชับความสัมพันธ์ไทย-จีนในครั้งนี้อีกด้วย
การศึกษาดูงานสำหรับคณะเยาวชนฯ ที่ประเทศจีน ณ มณฑลกุ้ยโจว และกรุงปักกิ่ง ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการ หลักการ แนวความคิด นโยบายต่าง ๆ โมเดลการพัฒนาประเทศได้อย่างเห็นผล ความโดดเด่นของโมเดลการพัฒนาประเทศ คือ การยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ตอบสนองความต้องการของประชาชน เน้นการพัฒนาเทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ เมื่อประชากรมีคุณภาพก็สามารถที่จะขจัดความยากจน ลดการเกิดปัญหาทางสังคม เพื่อให้คณะเยาวชนฯ กลับมาพัฒนาบ้านเกิด นำหลักการ และวิธีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยผู้แทนเยาวชนฯ ไทย จะนำไอเดียการพัฒนาที่ได้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้กลับมาทำโครงการพัฒนาบ้านเกิด ทั้ง 4 ภาค ภาคละ 5 โครงการ รวมทั้งสิ้น 20 โครงการ