ศรีสุวรรณ จรรยา ออกแถลงการณ์คัดค้านกรณีที่กสทช.จะเปิดให้เอกชนประมูลวงโคจรดาวเทียม ชี้ขัดกับรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 60
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย โพสต์เฟสบุ๊ก ศรีสุวรรณ จรรยา เกี่ยวกับการออกแถลงการณ์คัดค้านคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่จะเปิดประมูลสิทธิการเข้าใช้งานวงโคจรดาวเทียมของชาติในวันที่ 15 ม.ค. 2566 ซึ่งเป็นการดำเนินการขัดรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 60 'รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ' มีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย คัดค้านการประเคนวงโคจรดาวเทียมให้เอกชนซึ่งขัดต่อ รธน.มาตรา 60
ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พยายามที่จะเปิดการประมูลสิทธิการเข้าใช้งานวงโคจรดาวเทียมของชาติในวันที่ 15 ม.ค.2566 นี้ เนื่องจากวง โคจรดาวเทียมถือว่าเป็นสมบัติของชาติตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 60 ซึ่งระบุไว้ชัดว่า รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่น ความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน
ทั้งนี้สืบเนื่องจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความพยายามที่จะนําวงโคจรดาวเทียมของชาติมาจัดประมูลและให้สิทธิแก่เอกชนเป็นผู้ดําเนินการ โดยเริ่มเปิดรับซองประมูลจากเอกชนตั้งแต่ 27 ธ.ค.65 ที่ผ่านมา และได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านและมีสิทธิเข้าร่วม การประมูลแล้วเมื่อ 9 ม.ค.66 ซึ่งมี 3 รายเท่านั้น โดยจะทําการ Mock Auction ในวันที่ 14 ม.ค.66 และทําการ ประมูลสิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะชุด (5 Package) ในวันอาทิตย์ที่ 15 ม.ค.66 นี้ รวมราคา เริ่มต้นเพียง 1,841 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การนําสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติมาเปิดประมูลประเคนให้เอกชนดังกล่าว เป็นการดําเนินการที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 60 ที่บัญญัติให้รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อ ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นการให้ เอกชนเข้ามาครอบครองวงโคจรดาวเทียมก็เท่ากับว่า ประเทศชาติมีความเสี่ยงทางด้านความมั่นคงโดยชัดแจ้ง
ส่วนการที่มีกรรมการ กสทช.ออกมาชี้แจงว่า การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายในการส่งเสริม การแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรมในการประกอบกิจการดาวเทียมนั้น ไม่น่าจะถูกต้องเพราะนโยบายใดๆของรัฐ หรือหน่วยงานรัฐ จะมาอยู่เหนือเจตนารมณ์ที่เป็นสาระบัญญัติตามที่รัฐธรรมนูญกําหนดมิได้ และเรื่องนี้เป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ จะยกเอา ม.75 วรรคสอง ที่ว่ารัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการ แข่งขันกับเอกชนมากล่าวอ้างมิได้ เพราะมาตราดังกล่าวมีข้อยกเว้นไว้ คือ เว้นแต่กรณีที่มีความจําเป็นเพื่อ ประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือการจัดทําบริการสาธารณะ ดังนั้น กสทช. จึงบังอาจฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้ง
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงขอเรียกร้องไปยัง กสทช.ให้ทบทวนและ ยกเลิกการน่าวงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติมาเปิดประมูลประเคนให้เอกชนเสีย หากยังคงเดินหน้าไม่ฟังเสียงทัดท้าน สมาคมฯจําเป็นจําต้องใช้สิทธิทางศาลในการยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อระงับการดําเนินการดังกล่าวต่อไป
แถลงมา ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2566