เอกสารทางกฎหมายสหรัฐฯ เผยข้อมูลช่วงปี 63-64 สหรัฐฯ สกัดจับวัตถุโบราณอียิปต์ลักลอบขนนำเข้าสหรัฐฯ ได้นับสิบชิ้น พบต้นทางวัตถุโบราณอายุนับพันปี ส่วนมากมาจากไทย ก่อนขนส่งให้กับนักสะสมของเก่า ขณะเจ้าตัวแจงซื้อผ่านอีเบย์มูลค่าทั้งหมดคิดเป็นเงินไทย 67,000 บาท
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวอ้างอิงรายงานข่าวเว็บไซต์ข่าว ARTnews ที่รายงานข่าวเกี่ยวกับแวดวงศิลปะ โบราณวัตถุว่า เมื่อต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยข้อมูลจากเอกสารทางกฎหมายว่าในช่วงระหว่างปี 2563-2564 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มีการยึดโบราณวัตถุอียิปต์ในยุคโบราณจำนวน 13 ชิ้น โดยมีรายงานว่าต้นทางส่วนหนึ่งของโบราณวัตถุเหล่านี้มาจากประเทศไทย
โดยนายอารอน ไคลน์ (Aaron Klein) เจ้าหน้าที่สืบสวนกระทรวงความมั่นคงมาตภูมิได้เป็นผู้ยืนยันว่าทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งของ 14 ชิ้นที่ถูกยึดภายในขบวนการอาชญากรรมที่ลักลอบขนสินค้าเข้ามายังสหรัฐอเมริกา
โบราณวัตถุดังกล่าวพบว่ามีทั้งเครื่องรางไฟของเทพธิดาฮัตเมฮิต (Hatmehyt) จากยุคปลายของอียิปต์ หรือในช่วง 664 ปี ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล ฝาโถไม้อียิปต์จากยุคอาณาจักรใหม่ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 19 ของอียิปต์โบราณ หรือใหม่กว่า อยู่ในช่วง 1,300 ปีก่อนคริสตกาล แจกันทรงเรือ และตุ๊กตาเตียงหินปูนทาสีจากยุคอาณาจักรใหม่ของอียิปต์โบราณ ในช่วงปี 1,549-1,075 ปีก่อนคริสตกาล ตุ๊กตาลึงค์สองตัว จากช่วง 664–30 ปีก่อนคริสตกาล แจกันก่อนราชวงศ์ตั้งแต่ 3500 ปี– 3200 ปีก่อนคริสตกาล และโถด้ามจับหินปู จากช่วง 3,000-2600 ปีก่อนคริสตกาล
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีรูปปั้นงานศพทำจากหินปูนโบราณ ถูกยึดได้ที่นครแองเคอเรจ อลาสกา มูลค่าประมาณ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (201,213,000 บาท)
ในเอกสารของนายไคลน์จำนวน 22 หน้ามีการระบุชื่อบริษัทเอกชนและบุคคลรวม 6 แห่ง รวมไปถึงบริษัทชิปปิ้งจำนวน 3 แห่งในประเทศไทย และในฮ่องกง ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวถูกยื่นต่อศาลแขวงสหรัฐฯ เขตแมริแลนด์เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567
เอกสารได้ระบุชื่อนายมาร์ค เรแกน นักสะสมของเก่า ว่าเป็นผู้ซื้อโบราณวัตถุ 8 จาก 14 ชิ้นที่ถูกหน่วยงานศุลกากรและการป้องกันชายแดน (CBP) สกัดจับ ขณะที่นายเรแกนให้สัมภาษณ์กับ ARTnews ว่าตัวเขาได้ซื้อเครื่องรางไฟมาจากจากนักสะสมชาวอังกฤษรายหนึ่งที่ได้โบราณวัตถุมาอีกทอดผ่านการประมูลในงาน
ในขณะที่เครื่องรางกำลังถูกจัดส่งจากอังกฤษมายังสหรัฐฯ ปรากฏว่านายเรแกนได้มีการสั่งโบราณวัตถุอีก 6 ชิ้น ผ่านผู้ขายบนเว็บไซต์อีเบย์ ที่ใช้ผู้ใช้งานชื่อบนเว็บไซต์ว่า CENTURYART โดยผู้ขายรายนี้อ้างว่าตัวเองอยู่ที่เมืองซานอันโตนิโอ เท็กซัส
นายเรแกนกล่าวประเมินว่าการซื้อโบราณวัตถุของเขาน่าจะมีมูลค่ารวม 2,000 ดอลลาร์สสหรัฐฯ (67,000 บาท) ซึ่งถ้าหากมันเป็นของแท้จริง มันก็ถือว่ามีราคาที่ถูกมาก
ขณะที่เอกสารของนายไคลน์กล่าวว่าแท้จริงแล้วผู้ใช้งานอีเบย์ชื่อว่า CENTURYART ก็คือนางซิลเวีย อิเวตต์ บาร์เรร่า (Sylvia Ivette Barrera) โดยนายเรแกนได้สอบถามนางบาร์เรร่าว่าโบราณวัตถุเหล่านี้มาจากไหนกันแน่ ซึ่งไม่มีข้อบ่งชี้ว่านางบาร์เรร่ารู้หรือไม่ว่าสิ่งของเหล่านี้มีอายุที่แท้จริงเท่าไหร่ แต่เธอได้บอกนายเรแกนไปว่าสิ่งของเหล่านี้มาจากพ่อของผู้ขายอีกทีหนึ่ง
“ผมไม่คิดว่าเธอรู้ว่าเธอได้ครอบครองอะไร นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมคิดว่าเธอไม่น่าจะทำงานให้กับผู้ลักลอบขนของเถื่อนหรืออะไรทำนองนี้ และสุดท้ายก็ปรากฏว่าโบราณวัตถุเหล่านี้ มาจากประเทศไทย” นายเรแกนกล่าว
มีรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 17-20 กันยายน 2563 มีการจัดส่งโถไม้หลังคาภาชนะ,เครื่องถ้วยแกนไซปรัส รูปปั้นชาบติสามตัว รูปแกะสลักสี่ตัว และแจกันยุคก่อนราชวงศ์ โดยส่งมาจากบริษัทชื่อว่าเซนจูรี่ (ขอสงวนชื่อเต็มบริษัท) ในประเทศไทย มาให้กับที่อยู่บ้านของนายเรแกน ในเมือง เอดจ์วอเตอร์ แมริแลนด์ โดยมีบริษัทขนส่ง DHL สัญชาติเยอรมนีเป็นผู้ดำเนินการจัดส่ง หลังจากสินค้ารายการเหล่านี้มาถึงสหรัฐอเมริกา CBP ได้ตรวจสอบแล้วโอนไปยังหน่วยงานที่นิวยอร์กเพื่อทําการวิเคราะห์เพิ่มเติม
"ภัณฑารักษ์ของสหรัฐฯ ได้ตรวจสอบสิ่งของที่มีอยู่ในการขนส่งและพิจารณาว่าเป็นโบราณวัตถุของอียิปต์ที่แท้จริง" นายไคลน์ระบุและระบุอีกว่า "ไม่มีการจัดส่งใดที่มีเอกสารใด ๆ ที่ระบุว่าเป็นโบราณวัตถุหรืออธิบายที่มาหรือที่มาของโบราณวัตถุดังกล่าว