หน่วยพิเศษ ตำรวจอินเดียรวบขบวนการฉ้อโกงบัตรฟอเร็กซ์ พบมีอดีตลูกจ้างธนาคารมีเอี่ยวด้วย เผยใช้วิธีการแกล้งทำตัวเป็นลูกค้าโทรไปหาธนาคารแจ้งปัญหา ก่อนเปลี่ยนข้อมูลเบอร์โทร-อีเมล หลังจากนั้นถอนเงินจากหลายที่รวมถึงจากกรุงเทพ ด้านผู้ต้องหาเผยมีคนไทยให้การช่วยเหลือด้วย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การฉ้อโกงในอินเดียที่โยงกับประเทศไทยว่าเจ้าหน้าที่พิเศษของตำรวจภูธรภาคเหนือของอินเดียได้ดำเนินการจับกุมกลุ่มอาชญากรนานาชาติ ที่ถูกกล่าวหาว่าได้มีการโอนเงินทั้งเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ,เงินยูโร และเงินเดอร์แฮมตากบัตรฟอเร็กซ์ของลูกค้าของธนาคารรายใหญ่ไปยังตัวเอง และดำเนินการถอนเงินที่ถูกฟอกดังกล่าวนี้ผ่านในหลายแห่งด้วยกันทั้งในกรุงเทพ,ในดูไบ และในฮ่องกง ซึ่งเงินที่ถูกถอนตากที่ต่างๆพบว่าถูกส่งกลับไปที่อินเดียผ่านทางระบบการโอนแบบไม่เป็นทางการที่เรียกว่าฮาวาลาและช่องทางที่เกี่ยวกับการพนัน
(Hawala เป็นวิธีการโอนเงินอย่างไม่เป็นทางการ โดยโอนจากคนๆหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยไม่ผ่านสถาบันการเงินแต่อย่างใด)
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ระบุตัวตนของผู้ต้องสงสัยเบื้องต้นว่าได้แก่นายโซนัลและนายปาราส เชาฮัน อดีตพนักงานธนาคาร ซึ่งในช่วงเวลาสามปี แก๊งนี้สามารถหลอกลูกค้าไปได้เป็นจำนวนเงินมากกว่าสิบล้านรูปี (4,192,631 บาท)
ทั้งนี้การหลอกลวงดังกล่าวเกิดขึ้นมานานแล้ว และถูกเปิดโปงจากกรณีที่ผู้หญิงคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย Civil Lines กรุงเดลี จะติดต่อเข้าหาตำรวจเมื่อปี 2565 โดยเธอกล่าวว่าในช่วงเวลาที่เธออยู่ในสหราชอาณาจักร เงินจำนวนกว่า 1.1 ล้านรูปี (461,483 บาท) ที่ได้ถูกเติมเข้าไปในบัตรฟอเร็กซ์ของเธอนั้นถูกถอนออกอย่างไม่ชอบมาพากล เมื่อกลับไปถึงอินเดีย เธอจึงได้นำเรื่องนี้ไปร้องเรียนต่อธนาคารและตำรวจ
ต่อมาธนาคารได้แจ้งตํารวจว่าเหตุการณ์ที่คล้ายกันได้เกิดขึ้นกับผู้ถือบัตรฟอเร็กซ์อีกหลายคน พบว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนและรหัสอีเมลของผู้เสียหายถูกเปลี่ยนหลังจากได้รับสายในการดูแลลูกค้าและเงินจะถูกโอนจากบัตรเก่าไปยังบัตรใหม่
“มีรายงานว่าเงินจำนวนกว่า 6.4 ล้านรูปี (2,685,396 บาท) ได้ถูกถอนออกจากหลายสถานที่ในประเทศไทยนับตั้งแต่เดือน เม.ย.-พ.ค.2565 โดยคดีดังกล่าวนั้นพบว่าถูกลงทะเบียนอยู่ที่เขต Bara Hindu Rao ในกรุงเดลี ทั้งนี้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการทำธุรกรรมบัตรฟอเร็กซ์นั้นพบว่าถูกรวบรวมขากธนาคาร และขณะนี้กำลังมีการตรวจสอบการโทรไปหาลูกค้าธนาคารเป็นจำนวนนับหลายพันครั้ง” เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าว
โดยการสอบสวนนี้นั้นกินระยะเวลานานถึงห้าเดือน ทำให้สามารถระบุมายเลขโทรศัพท์มือถือและตำแหน่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการโทรศัพท์ได้ และทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้มีการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของผู้ถือหนังสือเดินทางอินเดียมายังประเทศไทยในวันและเวลาต่างๆที่มีการระบุเอาไว้ รวมถึงได้มีการติดตามบันทึกการโทรศัพท์และรายละเอียดขั้นตอนทางอินเทอร์เน็ตก็ได้ถูกรวบรวมเอาไว้เช่นกัน
และหลังจากจับคู่ข้อมูลทั้งหมดกับข้อมูลการเดินทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถระบุตัวตนของผู้ต้องสงสัยที่อาศัยอยู่ในท้องที่ Paschim Vihar ในกรุงเดลีได้ ซึ่งก็คือนายโซนัลที่พบว่าอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับในช่วงเวลาที่ได้มีการโทรศัพท์ไปยังฝ่ายดูแลลูกค้าของธนาคาร
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เริ่มติดตามนายโซนัล จนพบว่าเมื่อนายโซนัลได้เดินทางออกจากประเทศไทยอีกครั้งในเดือน เม.ย.หรือก็คือในเดือนนี้ ทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เฝ้ารออยู่ที่สนามบินและจับตัวนายโซนัลทันทีที่มาถึงอินเดีย
พอหลังจากการสอบปากคำ นายโซนัลให้การรับสารภาพว่าเขาได้มีการเก็บข้อมูลของผู้ถือบัตรฟอเร็กซ์และบัตรฟอเร็กซ์ที่ไม่มีเครื่องหมายจากนายปาราส ลูกจ้างของธนาคารในช่วงปี 2562
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่านายปาราสนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้และก็ได้มีการแชร์ข้อมูลดังกล่าวนี้ไปยังเพื่อนร่วมชบวนการ ซึ่งขบวนการนี้ก็จะดำเนินการโทรหาฝ่ายบริการลูกค้าของธนาคารและแสร้งทำตัวว่ามีปัญหาเกี่ยวกับบัตรฟอเร็กซ์ใบเดิม หลังจากนั้นพวกเขาก็จะดำเนินการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์และอีเมลทันที ส่งผลทำให้ลูกค้าไม่รู้เลยเกี่ยวกับเงินที่ถูกโอนไปหรือว่าบัตรใบใหม่ที่ไม่มีเครื่องหมายใดๆ
ทั้งนี้นายโซนัลและผู้ร่วมขบวนการอีกรายได้แก่นาย Sandeep Ojha ถูกกล่าวหาว่าได้มีการจัดหาซิมการ์ดและดำเนินการโทรไปหาฝ่ายบริการลูกค้าตั้งแต่เดือน ก.พ. 2565 โดยโทรครั้งแรกจากท้องที่ Noida และต่อมาก็จาก Paschim Vihar จากนั้นพวกเขาก็เดินทางไปยังกรุงเทพในเดือน เม.ย.-พ.ค. 2565 ซึ่งที่กรุงเทพ พวกเขาได้ดำเนินการถอนเงินโดยใช้บัตรฟอเร็กซ์ โดยพบว่าในกรณีนี้มีชายคนไทยคนหนึ่งชื่อว่านายอนุรักษ์ได้ให้การช่วยเหลือด้วย
ผู้ต้องหายังได้สารภาพต่อตำรวจอีกว่าก่อนหน้านี้ในปี 2562 พวกเขาได้เคยถอนเงินจกฮ่องกงและดูไบโดยใช้วิธีการเดียวกัน