เผยรายงาน จากสิงคโปร์ ชี้-เอเชียใต้-อาเซียนมีผู้ติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ตระกูลโคโรน่าต้นเหตุโควิด-19 ทุกปี มากกว่า 4 แสนคน คาด ไทย-ญี่ปุ่น-จีน-ฟิลิปปินส์เป็นจุดศูนย์รวมค้างคาว ก่อนแพร่กระจายสู่คน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่ามีการศึกษาจากต่างประเทศพบว่ามีประชากรอย่างน้อย 400,000 คน ในภูมิเอชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นอาจจะมีการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในทุกๆปี
ซึ่งการศึกษาดังกล่าวนั้นเป็นการศึกษาโดยนักวิจัยจากวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยดุ๊กจากประเทศสิงคโปร์และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร EcoHealth Alliance จากสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นจากไวรัสโคโรน่า (SARSr-CoVs)อันมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว (อาทิโรคซาร์ส,โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง,ไข้หวัดสุกร) นั้นส่งผลให้ชะงักงันต่อวงการสาธารณสุขและเศรษฐกิจโลกมาเป็นระยะเวลา 20 ปีแล้ว
หลักฐานใหม่ซึ่งยังไม่ได้มีการตรวจทานจากนักวิจัยรายอื่นนั้นได้ถูกตีพิมพ์ลงวารสาร Medrxiv ยังได้ระบุต่อไปอีกว่าพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนว่าค้างคาวที่เป็นพาหะไวรัส SARSr-CoVs นั้นสามารถติดสู่มนุษย์ได้โดยตรงและการหลั่งไหลของประชากรค้างคาวก็เกิดขึ้นมากกว่าที่ได้เคยคาดการณ์กันเอาไว้
“การหลั่งไหลของปริมาณโรคอุบัติใหม่ที่มาจากสัตว์เข้าสู่คนนั้นนำเสนอโอกาสการปรับตัวเพื่อที่เราจะสามารถรับมือกับการระบาดในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการหาปริมาณขอบเขตของการรั่วไหลที่ซ่อนอยู่ดังกล่าวนั้นอาจทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายการป้องกันโรคในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ”
ทั้งนี้ในการศึกษา ทีมได้มีการเปรียบเทียบการกระจายของปริมาณค้างคาวอันเป็นพาหะของไวรัสทับซ้อนด้วยประมาณของประชากรมนุษย์ โดยมีการประเมินความเสี่ยงที่จะเป็นไปได้และข้อมูลการติดต่อระหว่างมนุษย์กับค้างคาว,ข้อมูลความชุกของไวรัส Sars-Cov ในมนุษย์ และข้อมูลสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ที่คงอยู่ในร่างกายก็พบข้อมูลว่าในทุกปี ในพื้นที่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรจำนวนอย่างน้อย 400,000 คนติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรน่าไวรัสในทุกๆปี
อย่างไรก็ตาม จนถึง ณ เวลานี้ก็ยังไม่สามารถจะหาต้นตอที่ชัดเจนได้ว่าอะไรคือต้นกำเนิดของไวรัส SARS-CoV-2 อันเป็นต้นกำเนิดของโควิด-19 และยังไม่หาคำตอบที่ชัดเจนได้ว่าการระบาดของโควิด-19 นั้นเกิดขึ้นเพราะว่าไวรัสจากค้างคาวเกือกม้าสามารถแพร่เชื้อมายังมนุษย์ได้โดยตรงเลยหรือว่าต้องผ่านสัตว์ชนิดอื่นเป็นพาหะตัวกลางก่อน เช่นตัวนิ่มเป็นต้น
โดยค้างคาวเกือกม้านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสโคโรน่าอยู่หลากหลายชนิดมาก และจากการถอดพันธุกรรมก็พบว่าค้าวคาวชนิดนี้มีไวรัสโคโรน่าอันมีพันธุกรรมคล้ายกับสายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 และสายพันธุ์ของโรคซาร์ส
และยังมีการศึกษาอีกรายการที่ถูกเผยแพร่ในวารสาร Nature Food ก็ได้ระบุว่าประเทศจีน,ประเทศญี่ปุ่น,ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทยนั้นอาจจะกลายเป็นจุดฮอทสปอต หรือจุดศูนย์รวมของค้างคาวที่เป็นพาหะของไวรัสโคโรน่าและมีเงื่อนไขที่ดี เหมาะสมพอที่จะเกิดการระบาดจากค้างคาวไปสู่คน ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวที่ว่านั้นก็รวมถึงกรณีการแผ้วถางป่า และการขยายตัวทั้งทางภาคเกษตรกรรม การทำปศุสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น
เรียบเรียงจาก:https://www.news18.com/news/buzz/coronavirus-linked-to-bats-are-more-common-than-earlier-thought-finds-study-4208423.html
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage