"...เราไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ของเราในอนาคตจะเลวร้ายขนาดไหน ถ้าเลวร้ายถึงกับต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ DIY อันนั้นแปลว่าเรามีผู้ป่วยล้นหลามมากหมายจริงๆ ซึ่งก่อนจะถึงจุดนั้น supply อื่นๆ ที่มีความจำเป็นจะถูกใช้ไปหมดแล้ว เราจึงอยากให้ทุ่มเททรัพยากรและทีมงานวิศวกรรมไปเพื่อพัฒนาสิ่งที่จะขาดแคลนเสียก่อน..."
นพ.เดชอาจิณ ชุณหสวัสดิกุล คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดีส่งข้อความในไลน์กลุ่มของบุคคลากรในคณะแพทย์ศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับการสร้างเครื่องช่วยหายใจมีใจความว่า.......
*ขอบคุณในความหวังดีของทุกฝ่ายครับ
แต่ก่อนจะไประดมทุน ผมขอเน้นย้ำความต้องการทางการแพทย์ว่าเครื่องที่ทำงานโดยบีบ ambu bag นั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์
*ถ้ามีความสงสัย รบกวนดูใน e-lecture ที่ผมทำไว้นะครับ
นพ.เดชอาจิณ รามาฯ
จากนั้น เป็นคลิปที่มีความยาวประมาณ 15 นาที
นอกจากนั้นยังมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เครื่องช่วยหายใจ สำหรับวิศวกรหรือผู้สนใจริเริ่มสร้างเครื่องช่วยหายใจเพื่อนำมาใช้ในวิกฤต COVID-19 ก่อนจะลงมือสร้างเครื่องมาทำความเข้าใจกันสักนิดว่า แพทย์ต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจระดับไหนในการสู้กับ COVID-19 และเครื่อง DIY ventilator จะตอบโจทย์หรือไม่ครับ
ก่อนอื่นขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ออกมาช่วยเหลือทีมแพทย์ของเราในวิกฤตครั้งนี้อีกครั้งครับ ผมขอยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะหักหาญน้ำใจของฝ่ายใด เพียงแต่ในช่วงวิกฤตเราอาจจะต้องมาเลือกให้ชัดเจนว่า เราควรมุ่งความสนใจไปที่อะไร และจัดลำดับความสำคัญกับสิ่งที่เราจะพัฒนา..
อยากชี้แจงที่มาของ e-lecture นี้สักเล็กน้อยครับ ตอนแรกไม่คิดว่า จะมีผู้สนใจมากขนาดนี้ แรกสุดคือ 30 มี.ค. ผมได้รับมอบหมายจากทางคณะฯ ให้เข้าร่วมแสดงความเห็นในที่ประชุม อว.(กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม)ต่อมาได้มีการประชุมต่อเนื่องที่ SCG (บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)โดยรวมแพทย์ เอกชน/อุตสาหกรรม สถาบันวิศวกรรม/เทคโนโลยีต่างๆ กับภาครัฐ เป็นจตุรภาคีเพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ในสถานการณ์ COVID ..
ผมจึงพยายามหาวิธีอธิบายความต้องการเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจที่แพทย์เราต้องการให้กับทีมวิศวกรในกลุ่มเข้าใจ จึงเป็นที่มาของ e-lecture นี้ แต่คาดว่าคงมีผู้เห็นประโยชน์ของ lecture จึงนำไปแชร์ต่อๆ กันครับ
ตามที่มีผู้ comment มาว่าผมพอจะแจกแจงให้ทราบได้หรือไม่ว่าทางการแพทย์เราต้องการ monitor หรือมีความต้องการโดยละเอียดอะไรบ้างเผื่อถ้าใครต้องการทำเครื่องช่วยหายใจขึ้นมาใหม่ ผมเคยได้เขียน spec(คุณลักษณะ) ความต้องการพื้นฐานอย่างคร่าวๆ เพื่อแชร์ในกลุ่มจตุรภาคีในวงจำกัด แต่เนื่องจากขณะนี้น่าจะมีผู้สนใจจำนวนมาก จึงตัดสินใจแชร์ให้ทุกคนดูได้ครับ ที่ลิงก์นี้: https://drive.google.com/file/d/11aZo... (ออกตัวก่อนว่า ผมอาจจะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากถึง 20-30 ปี ดังนั้นสิ่งที่เขียนนี้อาจจะมีข้อบกพร่อง หรือมีผู้เห็นต่างอยู่บ้าง แต่คิดว่าพอจะเป็นแนวทางคร่าวๆ ได้)
ส่วนใครอยากอ่าน spec แบบละเอียดมากๆ ของทางการอังกฤษมีเขียนไว้แล้วที่นี่: https://www.gov.uk/government/publica... (แต่จะละเอียดมากและเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ใช่แพทย์)
เราไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ของเราในอนาคตจะเลวร้ายขนาดไหน ถ้าเลวร้ายถึงกับต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ DIY อันนั้นแปลว่าเรามีผู้ป่วยล้นหลามมากหมายจริงๆ ซึ่งก่อนจะถึงจุดนั้น supply อื่นๆ ที่มีความจำเป็นจะถูกใช้ไปหมดแล้ว เช่น ห้องแยกความดันลบ, สายต่อวงจรเครื่องช่วยหายใจมาตรฐาน, ฟิลเตอร์กันเชื้อโรค, อุปกรณ์ป้องกันสำหรับแพทย์และพยาบาล ฯลฯ
ดังนั้นโดยความเห็นของแพทย์ เราจึงอยากให้ทุ่มเททรัพยากรและทีมงานวิศวกรรมไปเพื่อพัฒนาสิ่งที่จะขาดแคลนเสียก่อน ส่วนเครื่องช่วยหายใจแบบ DIY นั้น เมื่อเรามีเวลาในอนาคตเราจึงค่อยมาสร้างองค์ความรู้ร่วมกันในระยะยาวน่าจะดีที่สุดครับ
ขอบคุณครับ
ปล. ช่วงนี้อยู่หน้างานเฝ้าผู้ป่วยวิกฤต COVID ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จึงอาจไม่มีเวลาตอบคำถามนะครับ ขอบคุณล่วงหน้า