ปัจจุบันมีคนจำนวนหนึ่งเข้ามาตรวจที่โรงพยาบาล ไม่ยอมบอกความจริง เป็นกลุ่มเสี่ยง ไปไหนมา อย่างน้อย ชุดทดสอบรวดเร็ว Rapid test ก็ช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ได้ระดับหนึ่ง
วันที่ 25 มีนาคม ศ.ดร.นพประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ร่วม แถลงข่าวชี้แจงเรื่อง ชุดตรวจเชื้อโควิด - 19 ร่วมกับ คณบดีแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิริราช และรามาธิบดี และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ห้องประชุมไพจิตร์ ปวะบุตร ชั้น 9 สป.สธ.
ตอนหนึ่ง ศ.ดร.นพประสิทธิ์ กล่าวถึงชุดตรวจ Rapid Test มีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. การตรวจหาสารพันธุกรรมไวรัส (RT LAMP) กำลังอยู่ในขั้นวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและ 2. ตรวจภูมิคุ้มกัน (IgM,IgG)
"ปกติการตรวจภูมิต้านทานจะขึ้นประมาณ 5- 7 วันหลังผู้ป่วยได้รับเชื้อ ฉะนั้น การตรวจ IgM,IgG ช่วงภูมิต้านทานยังไม่ขึ้น หรือขึ้นน้อย อาจกลายเป็นผลลบ แต่ความจริงอาจมีไวรัสเข้าไปในตัวแล้ว การมาตรวจระหว่าง 7-14 วัน อาจบอกได้"
ศ.ดร.นพประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีคนจำนวนหนึ่งเข้ามาตรวจที่โรงพยาบาล ไม่ยอมบอกความจริง เป็นกลุ่มเสี่ยง ไปไหนมา อย่างน้อย ชุดทดสอบรวดเร็ว Rapid test ก็ช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ได้ระดับหนึ่ง
"เมื่อไหร่เจอผลบวก ไม่ว่าผู้ป่วยสารภาพหรือไม่สารภาพ อย่างน้อยเป็นการป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัย"
ส่วนชุดตรวจแบบเร็ว สำหรับคนไข้ที่มีอาการหนัก หายใจไม่ได้เอง ใส่เครื่องช่วยหายใจ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า Rapid test ตรวจในเลือด สามารถหาเชื้อได้ว่า ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ติดเชื้อโควิดหรือไม่
"Rapid test มีตรวจอยู่ 2 แบบ ไม่ได้เป็นของวิเศษที่ใช้ทดแทนการตรวจแบบเดิม ยิ่งหากมีการแปลผลไม่ดี จะเป็นอันตราย"
ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแพร่เชื้อได้ สูงถึง 30%
ขณะที่ ศ.นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ประเด็นการแพร่ที่มองไม่เห็น “ไวรัสเนียนๆ” โดยขอใหัเห็นใจ เด็กๆที่ทำงาน ที่ดูแลคนป่วย ที่ทำงานในห้องปฎิบัติการ ด้วย
การระบุตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยปกติจะยึดตามการตรวจในผู้ที่มีอาการ โดยวิธี PCR แต่แท้ที่จริงแล้ว การแพร่ที่สำคัญจะมาจากคนหนุ่มสาวแข็งแรงที่ไม่มีอาการด้วยซ้ำ รายงานสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆถึงการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการ
จากการศึกษาเรือสำราญไดมอนด์ปริ้นเซสระยะแรก ที่มีผู้ติดเชื้อประมาณ 700 รายและพบว่า 18% ไม่มีอาการใดๆ จนกระทั่งถึงรายงานในวารสาร Science (16 มีนาคม) ซึ่งวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนวันที่ 23 มกราคมในประเทศจีนที่ยังไม่ได้ห้ามการเดินทาง จะพบว่า มีผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ สูงกว่าที่คิดและทำให้ตัวเลขจริงอาจจะสูงกว่าตัวเลขที่รายงานไปแล้วหลายเท่า
และในวารสารโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID วันที่ 16 มีนาคม) แสดงให้เห็นว่า จะมีจำนวนสูงถึง 12.6% ที่แพร่เชื้อได้ก่อนที่จะมีอาการ (presymptomatic transmission)
ข่าวที่ออกมาจากวารสาร Nature (Nature news) วันที่ 20 มีนาคมได้ตอกย้ำถึงการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการ และวันที่ 22 มีนาคม ใน South China morning post ได้รวบรวมข้อมูลทั้งในประเทศจีนและเกาหลีเองซึ่งมีการตรวจอย่างมากมาย และเป็นไปได้ว่า ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อได้ อาจมีจำนวนสูงถึง 30%
จากข้อมูลนี้นำมาถึงประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญและเข้าใจ
1. หมอพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ใครติดเชื้อ และแพร่เชื้อได้ ทั้งๆที่คนๆนั้น ไม่ได้มีประวัติมั่วสุมกับสถานบันเทิงใดใดๆมาก็ตาม ดังนั้น สงสาร พวกเราด้วยที่จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเหลือเกิน โดยที่ถ้าจะป้องกันตัวได้ดีที่สุดคือต้องใส่ชุดหมีตลอดเวลา ไม่ว่าจะตรวจผู้ป่วยใดๆก็ตาม
2. การแยกตัวออก social distancing ต้องรวมถึงอยู่ห่างกันเวลาอยู่บ้านเดียวกันด้วย
3. นี่เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ต้องมีการตรวจอย่างรวดเร็วประหยัดและสามารถทำได้กับคนหมู่มาก เพื่อกันการแพร่กระจายของเชื้อ นั่นก็คือ rapid test ที่เป็น strip เจาะเลือดปลายนิ้ว ซึ่งรายละเอียดทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประกาศออกไปแล้ว
" ขอใหัเห็นใจ เด็กๆที่ทำงาน ที่ดูแลคนป่วย ที่ทำงานในห้องปฎิบัติการ ด้วย"