ปปง.ตามยึดทรัพย์ คดี ‘แม่ตั๊ก กับ พวก’ เงินฝาก 3 บัญชี รวม 32.69 ล. ในฐานความผิดฉ้อโกงขายทองคำ ปมไลฟ์สดในเพจ คุณภาพเปอร์เซ็นไม่ตรงปก
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย 2/2568 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 เรื่อง ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว รายงานคดี นายกานต์พล เรืองอร่าม นางสาวกรกนก สุวรรณบุตร และบริษัท เคทูเอ็นโกลด์ จำกัด ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ
ทรัพย์สินที่ ปปง.มีคำสั่งยึดและอายัดเงินสดและเงินฝากในบัญชี รวม 3 รายการ รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 32,690,861.85 บาท พร้อมดอกผล
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมมีรายละเอียดดังนี้
@ เปิดรายละเอียดคำสั่งยึดอายัดทรัพย์
กล่าวคือ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 10.00 นาฬิกา นางสาวดาราณี อังสนานุวุฒิ กับพวก ผู้เสียหายรวม 3 ราย ได้มาพบพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ บริษัท เคทเอ็น โกลด์ จำกัด นางสาวกรกนก สุวรรณบุตร และนายกานต์พล เรืองอร่าม ที่โต้หลอกลวงโฆษณาขายสินค้าทองรูปพรรณ พร้อมของแถมทองคำให้ผู้เสียหาย
แต่เมื่อผู้เสียหายได้รับสินค้าแล้ว ปรากฏว่าสินค้าและของแถมไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ โดยก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 นางสาวดาราณี อังสนาบุวุฒิ ได้เข้าใช้แอปพลิเคชัน เฟซบุ๊กโดยได้เข้าไปดูเพจของนางสาวกรกนก สุวรรณบุตร หรือแม่ตั๊ก ชื่อบัญชี Konkanok Suwanbut ซึ่งมีผู้ติดตามหลายล้านคนและเป็นเพจสาธารณะ โดยได้ลงโฆษณาไลฟ์สดขายสินค้าประเภทอาหารเสริมและทองรูปพรรณ ชื่อร้านห้างเพชรทองเคทเอ็น (บริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด) โดยนางสาวดาราณี อังสบานวุฒิ ได้สั่งซื้อสินค้าผ่านไลฟ์สดจากนางสาวกรกนก สุวรรณบุตร ดังนี้
1.กำไลปี่เซียะ รุ่น 8 ตัว จำนวน 1 เส้น พร้อมของแถมสร้อยคอทองคำ 2 สลึง แผ่นทองคำแท้รูปสัตว์ต่าง ๆ และโมเดลทองคำ ในราคา 39,993 บาท และ 2. จี้ท้าวเวสสุวรรณ จำนวน 2 องค์ ในราคาองค์ละ 1,994 บาท
จากนั้นได้โอนเงินชำระค่าสินค้าเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เลขที่บัญชี 058 333 133 6 ชื่อบัญชี บริษัท เคทเอ็น โกลด์ จำกัด รวมเป็นเงินจำนวน 43,981 บาท ต่อมาเมื่อผู้เสียหายได้รับสินค้าและได้ตรวจสอบสินค้าด้วยตาเปล่า พบว่า กำไลปี่เซียะ จี้ท้าวเวสสุวรรณ รวมถึงสินค้าของแถมอื่น เช่น แผ่นทอง ดูมีน้ำหนักเบา โปร่งโล่งไม่สมราคา
ต่อมาเมื่อประมาณวันที่ 24 - 25กันยายน 2569 ได้ทราบข่าวจากรายการโทรทัศน์ที่มีที่มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมของร้านห้างเพชรทองเคทูเอ็น และมีการตรวจสอบหลักฐานเบื้องต้น พบว่าทองรูปพรรณของทางร้านทองดังกล่าวเข้าข่ายเป็นทองคําที่ไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดไว้ และไม่ตรงตามที่ทางร้านได้โฆษณาไว้ ในส่วนของแถมแผ่นทองคำแท้ 99.99% รูปสัตว์ต่าง ๆ และโมเดลทองคำ ที่มีการแถมให้ลูกค้าเพื่อจูงใจให้ตัดสินใจซื้อสินค้าทองรูปพรรณนั้น ปรากฏว่าไม่ใช่ทองคำและไม่มีส่วนผสมขอมทองทองคำใด ๆ
จึงเชื่อได้ว่า ทางร้านทองดังกล่าวได้ขายสินค้าโดยหลอกลวงผู้บริโภคจริง และเชื่อว่าทองรูปพรรณต่าง ๆ ที่นำมามาขายนั้น มีคุณภาพเปอร์เซ็นต์ทองคำและน้ำหนักไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้
จากนั้นนางสาวดาราณี อังสนานุวุฒิ จึงได้รวมตัวกับผู้เสียหายรายอื่นเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดำเนินคดีกับบริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด กับพวก ตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงถึงที่สุดพร้อมมอบพยานเอกสารและสินค้าของกลางไว้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี
พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ไว้เป็นคดีอาญาที่ 67/2567 ลงวันที่ 27 กันยายน 2567 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน เจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและความผิดอื่นที่เกี่ยวเกี่ยวเนื่อง อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาดรา 3 (3) และ: (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า บริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
@เข้ามูลฐานความผิด กม.ฟอกเงิน
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและประปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 620/2527 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดรายบริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด กับพวก และค่ำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินลับ ที่ ม. 620/2567 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรม หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (เพิ่มเติม) รายบริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว
ปรากฎหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่านายกานต์พล เรืองอร่าม นางสาวกรกนก สุวรรณบุตร และบริษัท เคทูเอ็นโกลด์ จำกัด มีพฤติการณ์แห่งการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นการกระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) และ (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการรวบรวบรวมพยานหลักฐานพบว่านายกานต์พล เรืองอร่าม นางกรกนก สุวรรณบุตร และบริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด ได้ไป ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 3 รายการ และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้เป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินสด อันเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง สามามารถปกปิด ซ่อนเร้นหรือโอนเปลี่ยนมือได้โดยง่าย และเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย
หากมิได้มีการออกคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดำเนินการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
@ ยึดอายัดทรัพย์เงินสด-บัญชี รวม 32.69 ล.
อาศัยอำนาจดามความในมาดรา 48 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2552 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการพ่อกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จึงมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว จำนวน 3 รายการ พร้อมดอกผล คือ
-
รายการที่ 1 ยึดเงินสด (ซึ่งเป็นเงินจากการปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ เลขที่บัญชี 125 817 XXXX X ชื่อบัญชี นายกานต์พล เรืองอร่าม) จำนวนเงินคงเหลือ 140,377.71 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นสามร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางค์) เจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ครบครอง คือ นาลทานต์พล เรืองร่าม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมาพันธ์ 2568)
-
รายการที่ 2 ยึดเงินสด (ซึ่งเป็นเงินจากการปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ เลขที่บัญชี 179 146 XXXX X ชื่อบัญชี นายกานต์พล เรืองอร่าม) จำนวนเงินคงเหลือ 29,477,287.18 บาท (ยี่สิบเก้าล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสองร้อยแปดสิบเจ็ดบาทสิบแปดสตางค์) เจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครอง คือ นายกานต์พล เรืองอร่าม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568)
-
รายการที่ 3 อายัดเงินในบัญชีเงินฝาก ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาเซ็นทรัลอีสต์วิลล์ เลขที่บัญชี 1264 3 XXXXXXX X ชื่อบัญชี นางสาวกรกนก สุวรรณบุตร จำนวนเงิน 3,073,196.96 บาท (สามล้านเจ็ดหมื่นสามพันหนึ่งร้อยเก้าสิบหกบาทเก้าสิบหกสตางค์) (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567)
รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 32,690,861.85 บาท (สามสิบสองล้านหกแสนเก้าหมื่นแปดร้อยหกสิบเอ็ดบาทแปดสิบห้าสตางค์) มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่ง กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2568
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวหรือสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวด้วย
ในกรณีผู้ซึ่งถูกยึดและอายัดทรัพย์สินตามคำสั่งนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าวประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการพ่อกเงิน พร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกยึดและอายัดดังกล่าวนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเป็นหนังสือ
อนึ่ง การยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้หรือที่ตนรู้หรือควรรู้ว่าจะตกเป็นของแผ่นดิน อาจมีความผิดทางอาญาและต้องระวางโทษตามนัยมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542