"...มาตรฐานของโลกอยู่ที่ แพทย์ 3 คน ต่อ1,000 คน ซึ่ง ส.ธ. ต้องการแพทย์อยู่ที่ 2,055 คน กระนั้นเมื่อดูย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จ โดยมีตัวเลขดังนี้ ปี 2561 ได้มา 2,016 คน ปี 2562 ได้มา 2,044 คน ปี 2563 ได้มา 2,039 คน ปี 2564 ได้มา 2,021 คน และปี 2565 ได้มาทั้งหมด 1,850 คน..."
“มาตรฐานโลกบอกว่าต้องต่ำกว่า 40 ชั่วโมง เป็นข้อมูลจากประเทศพัฒนาแล้ว แต่เขามีแพทย์เป็นแสนคน ซึ่งเราก็พยายามทำอยู่ เติมแพทย์เข้าไป จริงๆ ตัวเลขเหล่านี้เราลดลงมาแล้ว อย่างทำงานมากกว่า 64 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เดิม 9 แห่ง เราลดลงมาเหลือ 4 แห่ง ซึ่งเรามีแผนดำเนินการแก้ไขต่างๆ เพียงแต่เมื่อต้นน้ำน้อย แพทย์ยังไม่มากพอก็ยังเป็นปัญหา แต่ก็พยายามหาทางออกตลอด”
คือ ข้อมูลยืนยัน ของ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เกี่ยวกับปัญหาขาดบุคลากรทางการแพทย์ของไทยในปัจจุบัน ที่จำนวนแพทย์ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 5-6 หมื่นคน แบ่งเป็นอยู่ใน สธ. ราว 26,400 คน หรือ 48% แต่ในจำนวนนี้ต้องรับภาระงานในการดูแลประชาชนในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประมาณ 45 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 75% ของทั้งประเทศ มีสัดส่วนภาระการรักษาแพทย์ 1 คน ต่อผู้ป่วย 2,000 คน ขณะที่มาตรฐานของโลกอยู่ที่ แพทย์ 3 คน ต่อ1,000 คน ซึ่ง ส.ธ. ต้องการแพทย์อยู่ที่ 2,055 คน กระนั้นเมื่อดูย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จ โดยมีตัวเลขดังนี้ ปี 2561 ได้มา 2,016 คน ปี 2562 ได้มา 2,044 คน ปี 2563 ได้มา 2,039 คน ปี 2564 ได้มา 2,021 คน และปี 2565 ได้มาทั้งหมด 1,850 คน
เมื่อจำนวนจัดสรรมาไม่เพียงพอ ทำให้มีภาระงานเพิ่ม ตามข้อมูลผลสำรวจระหว่างวันที่ 15-30 พฤศจิกายน 2565 เราพบชั่วโมงการทำงานนอกเวลา แบ่งออกเป็น
มีโรงพยาบาล 9 แห่ง ที่แพทย์ต้องทำงานนอกเวลาเกิน 64 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีโรงพยาบาล 4 แห่ง ที่แพทย์ทำงานนอกเวลา 59-63 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีโรงพยาบาล 11 แห่ง ที่แพทย์ต้องทำงานนอกเวลา 53-58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีโรงพยาบาล 18 แห่ง แพทย์ทำงานนอกเวลา 46-52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีโรงพยาบาล 23 แห่ง ที่แพทย์ทำงานนอกเวลา 40-46 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มาตรฐานโลกต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
สถิติการลาออกในช่วง 10 ปี จะพบว่า ภาพรวมเฉลี่ยลาออกปีละ 455 คน เกษียณปีละ 150-200 คน รวมทั้งสิ้นประมาณปีละ 655 คน
สำนักข่าวอิศรา สรุปรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดมานำเสนอผ่านภาพอินโฟกราฟฟิก ดังนี้