เทียบ ปม โรงพิมพ์ประสานมิตร - บ.ชินวัตรไทย รง. ล่องหนทั้งคู่ ไฉน! 2 มาตรฐาน?
ตาราง-เปรียบเทียบ กรณีปล่อยกู้ บ.โรงพิมพ์ประสานมิตร-บ.ชินวัตรไทย ลูกหนี้ NPL ธพว. ‘โรงงาน-เครื่องจักร’ หลักประกัน ถูกรื้อถอนเกลี้ยงทั้งคู่ รายหนึ่งโดนแจ้งจับ สอบหาคนผิด อีกรายลอยนวล เร่งออกประมูลขาย 2 มาตรฐานหรือไม่?
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เป็นตารางแสดงรายละเอียดเปรียบเทียบเทียบ ความแตกต่าง กรณีการขอสินเชื่อของ ธพว. ราย บริษัท โรงพิมพ์ประสานมิตร จำกัด กับ บริษัท ชินวัตรไทย จำกัด
เทียบ ความแตกต่าง กรณีการขอสินเชื่อของ ธพว. ราย บริษัท โรงพิมพ์ประสานมิตร จำกัดกับ บริษัท ชินวัตรไทย จำกัด |
|
บริษัท โรงพิมพ์ประสานมิตร จำกัดหรือบริษัท กรทองการพิมพ์ฯ |
บริษัท ชินวัตรไทย จำกัด หรือ บริษัท ชินวัตรไทยเฮ้าส์ จำกัดหรือ บริษัท บางกอกผ้าไทย จำกัด
|
จดทะเบียน 6 มี.ค. 2534 ทุน 45 ล้านบาท รับจ้างพิมพ์หนังสือและสิ่งตีพิมพ์ที่ตั้งสำนักงานเลขที่ 352 ซ.พัฒนาการ 44 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ที่ตั้งสำนักงานบัญชีเลขที่ 9/3 หมู่ที่ 2 ถ.บางน้ำเปรี้ยว-องครักษ์ ต.หมอนทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา |
จดทะเบียน 13 มิ.ย.2531 ทุน 5 ล้านบาท (ต่อมา 30 ล้านบาท) ที่ตั้งเลขที่ 67 ถ.สาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตยานนาวา กรุงเทพฯ -ที่ตั้งสำนักงานใหญ่สำนักงานสาขาที่ 1 เลขที่ 67 ถ.สาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตยานนาวา กรุงเทพฯ และสำนักงานสาขาเขที่ และ สำนักงานสาขาที่ 2 เลขที่ 344/2-6 ถ.สุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ |
เจ้าของ ณ 28 มกราคม 2554 นายขวัญชัย หน่องพงษ์ ถือหุ้นใหญ่ 449,998 ถือหุ้น (99.99%) |
เจ้าของ นายพายัพ ชินวัตร นางพอฤทัย ชินวัตร ถือหุ้นใหญ่ |
สถานะของบริษัท บรรษัท ประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บสย.) เจ้าหนี้ โจทก์ ได้ฟ้องบริษัท โรงพิมพ์ประสานมิตร จำกัด เป็นจำเลย ที่ 1 นายขวัญชัย หน่องพงษ์ จำเลยที่ 2 และศาลล้มละลายได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 และมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อ 28 เม.ย.57 |
สถานะของบริษัท 23 ก.ค.2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ บริษัท ชินวัตรไทย จำกัด (ลูกหนี้) และตั้งบริษัท แทสแพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้ทำแผน โดยมีบริษัท ริชชี่ เวนเจอร์อัลลายแอนซ์ จำกัด และศาลล้มละลายฯคำสั่งเห็นชอบแผนฯ เมื่อ 29 ม.ค.45 10 ม.ค.2548 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท ชินวัตรไทย จำกัด 27 ก.ย.2548 ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล้มลายกลาง มีคําสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และให้ ยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของ บริษัท ชินวัตรไทย จํากัด ลูกหนี้ 30 ก.ค.2552 ศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด 21ก.ค.2553 ศาลล้มละลายกลาง ได้พิพากษา ให้ ลูกหนี้ ล้มละลาย |
ธ.ค. 2552 ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์จาก ธพว. วงเงิน 190 ล้านบาท แยกเป็นเงินกู้ 52.8 ล้านบาทเพื่อใช้ชำระหนี้ธนาคารกรุงเทพวงเงินตั๋วสัญญาใช้เงินอีก 32.2 ล้านบาท เพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการ และเงินกู้อีก 105 ล้านบาทเพื่อใช้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมสำหรับขยายโรงพิมพ์ (โดยมีที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงพิมพ์เดิมอยู่แล้ว 4 แปลง เนื้อที่ 24 ไร่ ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 16 แปลง เนื้อที่ 93 ไร่) โดยหลักประกันการขอกู้ทั้งที่ดินสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักร มีราคาประเมินรวม 196 ล้านบาท | 9 ส.ค. 2545 ธพว. อนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัท ชินวัตรไทย จำกัด วงเงินรวม 95 ล้านบาท แยกเป็น เงินกู้ 82 ล้านบาท เพื่อใช้ Refinance หนี้มาจากธนาคารอื่น และ เพิ่มวงเงินตั๋วสัญญาใช้เงินให้อีก 13 ล้านบาท เพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการ โดยมีหลักประกัน ที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงงาน เนื้อที่ 79-0-68 ไร่ ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ราคาประเมิน 15,576,000 บาท และอาคารโรงงานรวม 9 รายการ ราคาประเมิน 64,516,520 บาท รวมทั้งจำนองเครื่องจักรอีกจำนวน 293 รายการ ราคาประเมิน 13,828,974 บาท รวมราคาประเมินหลักประกันรวมทั้งสิ้น 93,921,494 บาท และมี บสย.ค้ำประกันอีก 13 ล้านบาท และมีผู้ค้ำประกันอีก 4 รายได้แก่ บริษัท Richee Venture Alliance จำกัด ,นายพายัพ ชินวัตร นางพอฤทัย ชินวัตร และ น.ส.สุพัจจา ตันน์ไพรัตน์ |
หลังเบิกเงินกู้ไปจาก ธพว.ทั้งหมดแล้ว อีกไม่ถึง 1 ปี ก็เป็นหนี้ NPLธพว.ต้องดำเนินคดีเพื่อเรียกหนี้คืน และต่อมา ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องล้มละลาย เมื่อปี 2556-2557 ลูกหนี้ได้ขนย้ายเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ จำนวน 15 เครื่อง ราคาประเมิน 30 ล้านบาทออกจากโรงงาน และรื้อถอนอาคารโรงงาน 8 หลัง ราคาประเมิน 61 ล้าน นอกจากนั้นยังขุดหน้าดินที่มีเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ ลึกลงไป 6-7 เมตร เพื่อนำเอาดินไปขาย จนกระทั่ง บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์กลายเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ทำให้ราคาประเมินหลักประกัน จากเดิม 196 ล้านบาท ลดลงเหลือ 60 ล้านบาท |
หลังจากขอสินเชื่อ บริษัทฯ มีปัญหาในการชำระหนี้กับ ธพว.หลังจากได้รับอนุมัติสินเชื่อไปได้ไม่นาน มีการปรับโครงสร้างหนี้หลายครั้งระหว่างปี 2546-2549 โดยบริษัทฯได้ชำระหนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ในช่วงเวลาดังกล่าว จนกระทั่งภาระหนี้เงินต้นลดลงเหลือ 34.68 ล้านบาท แต่ยังมีดอกเบี้ยค้างชำระอยู่อีกประมาณ 20 ล้านบาท ณ ช่วงปลายปี 2549 ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา บริษัทฯก็หยุดชำระหนี้ ช่วงปี 2552-2555 ก่อนการประมูลขาย (ปี 2557) หลักประกันของลูกหนี้ ธพว.รายนี้ ทรัพย์สินในส่วนที่เป็นอาคารโรงงานรวม 9 รายการ และเครื่องจักรรวม 293 รายการ มูลค่าเกือบ 80 ล้านบาท ถูกรื้อถอนและขนย้ายจนหมดสิ้น |
ธพว.ดำเนินการ 3 กรณี 1.แจ้งความร้องทุกข์ต่อสถานีตำรวจภูธรบางน้ำเปรี้ยวให้ดำเนินคดีกับลูกหนี้ฐานโกงเจ้าหนี้ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง 3.ไม่นำลูกหนี้ออกขาย - ไม่ได้นำเข้าไปรวมอยู่กับกองหนี้ภาคตะวันออก ที่ ธพว.นำออกประมูลขายเป็นกองแรก เมื่อเดือนมกราคม 2558 โดยมีเหตุผลว่า เป็นกรณีที่มีปัญหา เนื่องจากมีการรื้อถอนอาคาร และขนย้ายเครื่องจักรที่เป็นหลักประกันหนีออกไป |
ธพว.ปฏิบัติต่อลูกหนี้ 1.ไม่แจ้งความร้องทุกข์ 2.ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง 3.เอาลูกหนี้รายนี้ไปรวมกับกองหนี้ภาคตะวันออก 30 ราย เร่งขายออกไป เพียง 10 ล้านบาท |
ข้อน่าสังเกตการอนุมัติสินเชื่อ | ข้อน่าสังเกตการอนุมัติสินเชื่อ |
ในการดำเนินการเพื่อจัดทำเรื่องขออนุมัติสินเชื่อในครั้งนั้น (ปี 2552) เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำเรื่องเห็นว่ารายได้ของกิจการที่แท้จริงไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ ธพว.ที่สูงถึง 190 ล้านบาทได้ (จากเดิมที่มีหนี้อยู่กับธนาคารกรุงเทพเพียง 52.8 ล้านบาท) ประเด็นสำคัญคือ มีการซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 100 ไร่ โดยไม่มีความจำเป็น เพราะที่ดินเดิม 24 ไร่ ก็เพียงพอที่จะขยายกิจการโรงพิมพ์ได้อยู่แล้ว และการประเมินราคาที่ดินถึงไร่ละ 900,000 บาท เป็นเงินรวม 105 ล้านบาท อาจสูงเกินจริง ทำให้ลูกหนี้ได้รับสินเชื่อเพื่อใช้ซื้อที่ดินเกินกว่าราคาซื้อที่จริง และมีส่วนต่างเกิดขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ทีมแรกไม่ยอมจัดทำเรื่องขออนุมัติสินเชื่อ และต้องเปลี่ยนเป็นทีมที่สอง ดำเนินการอย่างเรียบร้อย
|
1.การอนุมัติสินเชื่อครั้งนั้น มีลักษณะเป็นการรับ Refinance ลูกหนี้ที่มีปัญหามาจากธนาคารเอกชน คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปเป็นหนี้เสียกับธนาคารของรัฐโดยเห็นได้ชัดว่าเป็นหนี้มีปัญหากับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในลักษณะหนี้สินล้นพ้นตัว จนกระทั่ง ถูกเจ้าหนี้ราย ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ฟ้องล้มละลาย ในปี 2544ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ก่อนขอสินเชื่อกับ ธพว. กิจการของลูกหนี้มีปัญหาอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่า ขณะ ธพว. พิจารณาสินเชื่อ จะมีคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ให้ฟื้นฟูกิจการได้ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 แต่คำสั่งดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ซึ่งต่อมา ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ไม่เห็นชอบและให้ยกเลิกคำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ฟื้นฟูกิจการ ทำให้กระบวนการในคดีล้มละลายดำเนินการ ต่อไปจนกระทั่ง มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2552 และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553ซึ่งเห็นได้ว่า ขณะ ธพว.พิจารณา และอนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้ เป็นช่วงที่ลูกหนี้มีปัญหารุนแรงที่ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน ที่อาจนำไปสู่การล้มละลายของลูกหนี้ได้ ธพว. จึงไม่มีเหตุผลที่จะยอมรับความเสี่ยงในระดับสูงเช่นนั้น 2.การอนุมัติสินเชื่อ ผิดหลักการการรับ Refinance ของสถาบันการเงินโดยทั่วไป อย่างน้อย 2 ประการคือ 1)รับ Refinance ลูกหนี้ที่มีปัญหาโดย ไม่ได้รวบรวมภาระหนี้และหลักประกันของลูกหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดไปไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้ธนาคารสามารถควบคุมการใช้เงินของลูกหนี้ได้อย่างใกล้ชิด โดยในขณะนั้น ลูกหนี้ยังมีภาระหนี้อยู่กับธนาคารอื่นอีก เช่น ธนาคารทิสโก้ 2)รับ Refinance โดย ไม่ได้นำหลักประกันของลูกหนี้ที่มีอยู่กับธนาคารเดิมมาทั้งหมด แต่รับเอาภาระหนี้ทั้งหมดมาโดยหลักประกันที่ลูกหนี้ให้ไว้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่ ธพว. เอามา มีเพียงที่ดินโฉนดเลขที่ 750 และ 751 ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักร เท่านั้น โดยที่ดินแปลงหลักอีกแปลงหนึ่ง ที่จำนองอยู่กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ได้นำมาจำนองกับ ธพว. คือที่ดินโฉนดเลขที่ 12324 ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ จำนองไว้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2544ซึ่งเห็นได้จากสารบัญจดทะเบียนหลังโฉนด 3.สภาพโรงงานมีลักษณะหยุดการผลิตแล้ว ขณะยื่นขอสินเชื่อกับ ธพว.โดย ภาพถ่ายกิจการ ในช่วงที่ ธพว. พิจารณาสินเชื่อไม่ได้แสดงให้เห็นว่า โรงงานซึ่งมีเครื่องจักรจำนวนเกือบ 300 เครื่อง ยังคงดำเนินการผลิตอยู่ในขณะนั้น เพราะหากดำเนินการผลิตตามปกติ ควรจะต้องมีคนงานเป็นร้อยคนขึ้นไปแต่ภาพถ่ายทุกจุดที่เครื่องจักรตั้งอยู่ ไม่ปรากฏคนงานประจำอยู่ที่เครื่องจักร ซึ่งเป็นลักษณะของโรงงานที่หยุดการผลิตแล้ว 4.อาจประเมินราคาหลักประกันสูงกว่าความเป็นจริงโดย ในส่วนของที่ดินที่ประเมินราคาในปี 2545 ไร่ละ 200,000 บาท แต่การประเมินเพื่อทบทวนราคาในปี 2555 หรือผ่านมาอีก 10 ปี ก็ยังคงมีประเมินราคาเท่าเดิม โดยผู้ประเมินราคาในปี 2555 ที่ไม่ปรับราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม ให้เหตุผลว่า ได้สืบราคาพบว่า ในช่วงก่อนการก่อสร้างโรงงาน ที่ดินซื้อขายกันเพียงไร่ละ 80,000 บาท ดังนั้น ในปี 2555 จึงยังคงประเมินเท่าเดิมคือ ไร่ละ 200,000 บาท ซึ่งถือว่า ได้ปรับราคาขึ้นมาแล้วจึงหมายความว่า การประเมินราคาไร่ละ 200,000 บาท ในปี 2545 สูงเกินความเป็นจริง ส่วนสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นหลักประกันของลูกหนี้ที่มีราคาประเมินสูงสุด เป็นเงินเกือบ 70 ล้านบาท (มีราคาสูงกว่าที่ดินและเครื่องจักร) โดยก่อสร้างมาแล้ว 8 ปี นั้น การประเมินในปี 2545 หักค่าเสื่อมราคาไม่ถึง 2 % ต่อปี ในขณะที่ มาตรฐานการหักค่าเสื่อมราคาของอาคารโรงงาน จะต้องหัก 5% ต่อปี โดยสรุปแล้วราคาประเมินในปี 2545 เพื่อนำไปใช้พิจารณาปล่อยสินเชื่อ สูงกว่าความเป็นจริงประมาณ 30-40 ล้านบาท ถึงกระนั้น ก็ยังไม่พอต้องใช้ บสย.ค้ำประกันอีก 13 ล้านบาท การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกหนี้ 95 ล้านบาท ในครั้งนั้น จึงอาจสูงกว่ามูลค่าหลักประกันที่แท้จริง 5.จดทะเบียนจำนองเครื่องจักรไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดให้นำมาจำนองเป็นหลักประกันทั้งหมดโดย เครื่องจักรที่กำหนดให้จำนองเป็นหลักประกันมีจำนวน 293 เครื่อง แต่จดทะเบียนจำนองกับ ธพว.เพียง 72 เครื่อง โดยอีก 221 เครื่อง เป็นเพียงทำสัญญาจำนำไว้ เท่านั้น ในช่วงที่ 1 ซึ่งอยู่ในช่วงปี 2545 ธพว. มีกรรมการผู้จัดการ คือนายสำราญ ภูอนันตานนท์(เป็นหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย) นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะเป็นรองกรรมการผู้จัดการ สายงานสินเชื่อภูมิภาค ซึ่งดูแลลูกหนี้รายนี้ (ต่อมา นายโชติศักดิ์ ฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการผู้จัดการ ธพว. ต่อจาก ดร.สำราญ ฯ เมื่อปี 2546 แต่อยู่ไม่ครบวาระ ได้ลาออกไปอยู่องค์กรที่ใหญ่กว่าในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นปี 2549) เหตุการณ์ทั้งหมด เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร |
อ่านประกอบ :
ดูชัดๆภาพ ‘รง.-เครื่องจักร 91ล.' โรงพิมพ์ประสานมิตร หายวับ หลังเป็น NPL ธพว.
พบอีกราย! ลูกหนี้ NPL ธพว.190 ล. ‘โรงงาน-เครื่องจักร’ ล่องหน เหมือน บ.พายัพ
ธพว.สูญเงินต้น 24 ล. เหตุเพราะ ปฏิบัติการ ‘พายัพ ชินวัตร’
สัมพันธ์ลึกบิ๊ก ธพว.- อดีตนายกฯ-เร่งประมูลขายหนี้ บ.พายัพ ชินวัตร?
ปริศนา! ‘พายัพ’ ขนเงิน 120 ล. จ่ายหนี้ ธพว. ทั้งที่ บ.ขาดทุนยับ ก่อนปล่อยเป็น NPL
ปล่อยกู้ 'บ.เสี่ยพายัพ' ผิดปกติ 5 ข้อ-ส่อสูงเกินจริง 40 ล. ยุคผู้ก่อตั้งไทยรักไทย ‘กก.ผจก’
หลังโฉนด บ.เสี่ยพายัพ จำนอง 3 หนก่อนกู้ ธพว.-ปริศนา 12 ปีราคาประเมิน‘ไม่เปลี่ยน’
ดูชัดๆ กรณี ธพว. ขายหนี้NPL ให้ บบส.ศรีสวัสดิ์ 201.7 ล. ราคาต่ำกว่าความเป็นจริง?
เปิดภาพชุดใหม่‘รง.-เครื่องจักร’78 ล. บ.พายัพ ลูกหนี้ ธพว. ล่องหน! ส่อฉ้อโกงหรือไม่?
INFO : ข้อสังเกต-ปมเงื่อน กรณีขายหนี้ NPL หมื่นล. ธพว. ฮั้วหรือไม่?
โชว์ภาพ รง.-เครื่องจักร บ.พายัพ ชินวัตร78 ล. NPL ธพว.หายปริศนา!ก่อนประมูลขาย
เปิดเอกสารครบ! บ.ชินวัตรไทย‘เสี่ยพายัพ’ NPL ธพว. 95 ล. ประมูลขายแค่ 10 ล.
รง.ทอผ้าไหม‘พายัพ ชินวัตร’โผล่ในกองหนี้ ธพว. ประมูลขายเอกชนแค่ 10 ล.
2 ปมล่าสุด เบื้องหลังประมูลซื้อหนี้หมื่นล. ธพว.‘สัมพันธ์ลึกผู้บริหาร–เมินข้อมูลสำคัญ’
5 ปมใหม่ เบื้องหลังประมูลซื้อหนี้หมื่นล.ธพว.- กลุ่มศรีสวัสดิ์ไม่แข่งราคาลอต2
เปิดเบื้องหลังประมูลซื้อหนี้หมื่นล. ธพว.3 บ.รัฐ-เอกชนร่วมแบ่งเค้ก ส่ออินไซเดอร์-ฮั้ว?
เปิด2 ปมแต่งตั้ง บิ๊กธพว.คนใหม่ ส่อมีปัญหาหลายข้อ?
14 กรณีเงื่อนงำใน ธพว.‘ปล่อยกู้-ขายลูกหนี้ NPL’ ซุกใต้พรม รอสะสาง?
เปิดเบื้องหลัง!ขายหนี้NPL 694 ล. ธพว. ให้ บ.เครือศรีสวัสดิ์ 202 ล.