สารคดี
-
กาชาดระหว่างประเทศ…ภารกิจเพื่อ“มนุษยธรรม”ที่ชายแดนใต้
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2553 เวลา 09:11 น.เขียนโดยPisanสุเมธ ปานเพชร โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา แม้รัฐบาลไทยจะนั่งยัน นอนยันมาตลอดว่า ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น “ปัญหาภายใน” ของประเทศไทย แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าเป็นปัญหาที่ทั่วโลกจับตามอง และมีองค์กรระดับนานาชาติหลายองค์กรยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
-
ธรรมะจาก "ว.วชิรเมธี" หากชายแดนใต้ไม่สงบ ไทยทั้งชาติก็ไม่สงบ
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2553 เวลา 20:23 น.เขียนโดยPisanเลขา เกลี้ยงเกลา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา สถานีวิทยุ เอฟเอ็ม 96.5 เมกกะเฮิร์ตซ์ "คลื่นความคิด" ร่วมกับวิทยุ อสมท ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่งจัดกิจกรรม "สานรัก ปันน้ำใจ สู่พี่น้องชายแดนใต้" เพื่อหาทุนให้กับมูลนิธิต่างๆ ที่ทำงานเพื่อพี่น้องประชาชนในดินแดนด้ามขวาน เมื่อวันเสาร์ที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยไฮไลท์ของงานช่วงหนึ่งอยู่ที่การเทศนาธรรมของ ว.วชิรเมธี
-
ควันหลงวันครูที่ชายแดนใต้...เพรียกหาความปลอดภัยและสวัสดิการที่ดี
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2553 เวลา 11:46 น.เขียนโดยPisanอะหมัด รามันห์สิริวงศ์ และทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา 16 มกราคมของทุกปีเป็นวันครู แต่ปีนี้บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา เพราะวันครูไปตรงกับวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ดี ก็ยังคงมีหน่วยราชการและภาคเอกชนจำนวนมากจัดงานรำลึกถึงพระคุณครู รวมทั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
-
โปรแกรมแปลภาษามลายูถิ่นปัตตานี-ไทย อีกความภูมิใจจากปลายด้ามขวาน
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม 2553 เวลา 08:38 น.เขียนโดยPisanปรัชญา โต๊ะอิแต โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา Hilang Bangsa, Hilang Negara, Hilang Agama, Bahasa Jiwa Bangsa, Hilang Bahasa, Hilang Bangsa แปลเป็นไทยว่า เชื้อชาติหาย ประเทศหาย ศาสนาหาย...ภาษาเป็นชีวิตจิตใจของเชื้อชาติ ภาษาหาย เชื้อชาติก็สูญหาย
-
“บ้านซือเลาะ” ปลายทางของนายกฯ...ต้นทางของสันติสุข
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 08 มกราคม 2553 เวลา 01:13 น.เขียนโดยPisanสุเมธ ปานเพชร โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา แม้หลายฝ่ายจะมองว่าภารกิจสำคัญที่สุดในการลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เที่ยวล่าสุดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2553 คือการทำพิธีเปิดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 418 แต่แท้ที่จริงแล้วภารกิจอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการลงพื้นที่บ้านซือเลาะ หมู่ 4 ต.เรียง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
-
ศึกษาประเพณี“แต่งงานกับต้นไม้”…การประนีประนอมระหว่างวัฒนธรรม
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 03 มกราคม 2553 เวลา 22:50 น.เขียนโดยPisanเอลิยา มูเก็ม ประเพณีความเชื่อ “ไหว้ต้นไม้ใหญ่” ที่เกิดขึ้น ณ บ้านมะม่วงหมู่ ที่หมู่ 4 ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา นับว่าน่าสนใจ...น่าสนใจตรงที่ว่าความเชื่อนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 3-4 วัฒนธรรมของสังคมบนแดนดินผืนนี้
-
ย่างเข้าปีที่สามของโรงเรียนทวิภาษา...คำตอบทางการศึกษาของน้องๆ ที่ชายแดนใต้
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 03 มกราคม 2553 เวลา 19:10 น.เขียนโดยPisanปรัชญา โต๊ะอิแต โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา “ดี กากี บูเกะ อาดอ อูเมาะฮ์ ปะ บูเวาะฮ์” เป็นเสียงที่ดังลอดออกมาจากห้องของน้องๆ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ของโรงเรียนบ้านประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี แม้จะเป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายธรรมดาๆ ว่า “ที่ตีนเขามีบ้าน 4 หลัง” แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาก็คือมันเป็นประโยคภาษามลายูถิ่นที่ถูกนำมาสอนเด็กๆ ด้วยอักษรไทย
-
เสียงสะอื้นจากหัวใจของ "ก๊ะเสาะห์" กับวินาทีที่ลูกถูกกระสุนปืน
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 31 ธันวาคม 2552 เวลา 16:32 น.เขียนโดยPisanแวลีเมาะ ปูซู รอซิดะห์ ปูซู โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา "รอยลูกกระสุนรูเล็กๆ นี้แหละที่พรากชีวิตของลูกก๊ะไป" เป็นเสียงแข็งระคนเศร้าของ ก๊ะเสาะห์ หรือ นางนาปีซะห์ กะลูแป ขณะชี้ให้ดูร่องรอยของกระสุนปริศนาที่ถูกสาดเข้าใส่ฝาบ้านของนาง และพรากชีวิต คอลีเยาะ ดือราแม ลูกน้อยวัย 4 ขวบของนางไป เมื่อเย็นย่ำของวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา กลายเป็นอีกหนึ่งความสูญเสียอันน่าเศร้าส่งท้ายปี
-
ครูนราฯขอ "จ่าเฉย" ตั้งหน้าโรงเรียน หวังเด็กๆ ชายแดนใต้มีทัศนคติที่ดีกับตำรวจ
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 26 ธันวาคม 2552 เวลา 12:00 น.เขียนโดยPisanทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา แม้ “หุ่นตำรวจจราจร” ที่เรียกกันขำๆ ว่า “จ่าเฉย” จะถูกเด้งเข้ากรุ ไม่ให้ยืนปฏิบัติหน้าที่ตามสี่แยกในเมืองหลวงได้อีก เนื่องจากผู้บัญชาการตำรวจนครบาลมองว่าไม่ได้ช่วยแก้ปัญหารถติดก็ตาม ทว่า “จ่าเฉย” ยังเป็นที่ต้องการสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้
-
“พันแสงรุ้ง” สารคดีสร้างสรรค์เพื่อสันติภาพแดนใต้
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 21 ธันวาคม 2552 เวลา 11:19 น.เขียนโดยPisanแวลีเมาะ ปูซู รอซิดะห์ ปูซู โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา “รายการพันแสงรุ้ง นำเสนอเรื่องราวความหลากหลายอันงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทั่วผืนแผ่นดินไทยและอุษาคเนย์ที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากงานวิจัยวิชาการและการสำรวจข้อมูลจากชุมชน เน้นเนื้อหา ถอดเชื่อมโยงความรู้จากนักวิชากรและชุมชมเพื่อสร้างความเข้าใจ นำไปสู่การอยู่รวมกันอย่างสันติ...”