เวทีวิชาการ
-
"นครปัตตานี" กับ "ปัตตานีมหานคร" และทิศทางของ "ปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ"
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม 2554 เวลา 06:40 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศรานอกจากแนวทาง “ดับไฟใต้” ตามยุทธศาสตร์คู่ขนานคือ “ความมั่นคง” ควบคู่ “งานพัฒนา” ซึ่งทำกันมาหลายปี โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักคือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) แล้ว ในช่วง 1-2 ปีมานี้ยังเกิดกระแส “กระจายอำนาจ” ซึ่งพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักวิชาการและภาคประชาสังคมด้วย
-
เปิดข้อเสนอ"สันติธานี" ชูปรับบริการของรัฐ "โรงเรียน-โรงพัก-โรงพยาบาล" สร้างสันติสุข
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 08 สิงหาคม 2554 เวลา 10:23 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราในห้วงของการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลซึ่งหลายฝ่ายคาดหวังว่าจะมี “อะไรใหม่ๆ” เพื่อเป็น “จุดเปลี่ยน” สำหรับการคลี่คลายสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีข้อเสนอซึ่งเป็นรูปธรรมพอสมควรของกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 2 หรือ “4 ส.2” สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเตรียมสรุปรายงานส่งถึงรัฐบาลชุดใหม่ในราวเดือน ต.ค.นี้
-
นักศึกษากับการกระจายอำนาจ...และ "ปัตตานีมหานคร" ไม่ใช่ "นครปัตตานี"
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 30 กรกฎาคม 2554 เวลา 10:17 น.เขียนโดยเลขา เกลี้ยงเกลาแม้จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล แต่สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังเข้มข้น ทั้งในมิติของการก่อเหตุรุนแรง ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือกลุ่มก่อความไม่สงบ หรือกลุ่มอิทธิพลค้าของผิดกฎหมายตามที่ฝ่ายทหารพยายามสื่อสารกับสังคมก็ตาม ขณะที่อีกด้านก็มีความเคลื่อนไหวในมิติ "เวทีวิชาการ" อย่างคึกคัก เพื่อผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจ ตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษรูปแบบใหม่
-
"3 ทฤษฎีสู่เจรจาสันติภาพดับไฟใต้" ประเด็นท้าทายว่าที่รัฐบาลใหม่ป้ายแดง
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 19 กรกฎาคม 2554 เวลา 00:49 น.เขียนโดยปรัชญา โต๊ะอิแต“ความขัดแย้งทุกเรื่องทุกที่บนโลกใบนี้ล้วนยุติลงบนโต๊ะเจรจา” เป็นสัจธรรมที่พิสูจน์แล้วและไม่มีใครปฏิเสธ หลายคนจึงเชื่อว่าการจะหยุดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ย่อมหนีไม่พ้นการ “เปิดเจรจา” เช่นกัน
-
เก็บตกสานเสวนาดับไฟใต้...ฉายภาพอนาคต ลดรวมศูนย์อำนาจ
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 07 กรกฎาคม 2554 เวลา 22:22 น.เขียนโดยปรัชญา โต๊ะอิแตช่วงก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งที่ชายแดนใต้ มีการจัดเวทีประชันนโยบายและวิสัยทัศน์ผู้สมัครตลอดจนพรรคการเมืองหลากหลายเวที แต่มีเวทีหนึ่งที่น่าสนใจและไม่ได้ให้น้ำหนักกับฝ่ายการเมืองเพียงฝ่ายเดียว เพราะเปิดรับฟังเสียงจากตัวแทนทุกภาคส่วนในพื้นที่ คือเวทีสานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “พลเมืองกับการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม: สู่การดับไฟใต้”
-
"ผ่าชันสูตรศพตามหลักอิสลาม" นับหนึ่งความเป็นธรรม-พิสูจน์การตายผิดปกติที่ชายแดนใต้!
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 24 มิถุนายน 2554 เวลา 06:50 น.เขียนโดยสุเมธ ปานเพชรปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ลุกลามบานปลายยิ่งขึ้นจากปม “ความไม่เป็นธรรม” ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาของผู้คนจำนวนมาก เป็นการตายที่มิอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นฝีมือของฝ่ายใด เพราะติดเงื่อนไขตามหลักการศาสนาอิสลามที่ให้ทำพิธีฝังศพภายใน 24 ชั่วโมง
-
เมื่อ"พยาน"กลายเป็น"ผู้ต้องหา"ที่ชายแดนใต้ และอำนาจที่ถูกท้าทายของ ศอ.บต.
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 13 มิถุนายน 2554 เวลา 14:20 น.เขียนโดยปรัชญา โต๊ะอิแต, ปกรณ์ พึ่งเนตรสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ในห้วงเวลานี้ยังคงมีความเคลื่อนไหวด้านคดีความมั่นคง ปมสิทธิมนุษยชน และการใช้อำนาจสั่งย้ายข้าราชการออกจากพื้นที่ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อย่างน่าจับตา...
-
"ท่าเทียบเรือปากบารา" อีกหนึ่งปมปัญหาขัดแย้งชายแดนใต้รอรัฐบาลใหม่สะสาง
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 09 มิถุนายน 2554 เวลา 09:46 น.เขียนโดยปรัชญา โต๊ะอิแต"นับแต่อดีตมาลูกสตูลไม่เคยอดตาย เพราะสตูลเป็นผืนแผ่นดินที่สมบูรณ์พูนสุข สตูลเป็นพื้นที่ที่บรรพบุรุษของเราบุกเบิกสร้างเมือง และสตูลยังเป็นดินแดนมุสลิมชายแดนใต้ที่แสนสงบ ทั้งยังเป็นแหล่งรวมทุกเชื้อชาติศาสนาอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข เราจึงเป็นลูกสตูลในแผ่นดินสตูล แผ่นดินใต้ แผ่นดินไทย ไม่ใช่แผ่นดินอื่น"
-
"ล้วงตับ สมช." ตั้งสำนักยุทธศาสตร์คุมใต้ เน้นแก้ขัดแย้ง "ชนต่างวัฒนธรรม"
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 23 พฤษภาคม 2554 เวลา 10:26 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 7 ปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงง่ายๆ ได้กดดันให้ส่วนราชการโดยเฉพาะที่ดูแลงานด้านความมั่นคงต้องปรับยุทธศาสตร์และปรับองค์กรเพื่อก้าวให้ทันปัญหา ก่อนที่จะสายเกินเยียวยา
-
ร่างรายงานค้นหา "กุญแจ" ดับไฟใต้ (2) ประตูสู่สันติสุขยังไม่ปิดตาย
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 14 พฤษภาคม 2554 เวลา 06:15 น.เขียนโดยปรัชญา โต๊ะอิแตในร่างรายงานสมุดปกขาว "โครงการค้นหากุญแจสู่สุขภาวะชายแดนใต้" ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากจะมีข้อเสนอ "ปลดชนวนขัดแย้ง" หลายต่อหลายมิติตามที่ "ทีมข่าวอิศรา" เคยนำเสนอไปแล้ว เนื้อหาหลักของร่างรายงานฉบับนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับ "การสานเสวนา" ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะสามารถลดช่องว่างของความแตกต่าง และค้นหาหนทางสถาปนาสันติสุขให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน