เมียนมายันรับโรฮิงญากลับ นักวิเคราะห์ห่วงทำไม่ได้เหตุผู้อพยพไม่มีเอกสารสิทธิ์
เมียนมาเจรจาตกลง รับผู้อพยพโรฮิงญาจากบังคลาเทศ กลับภูมิลำเนา โดยใช้ข้อตกลงปี 1993 ของสองประเทศ ด้านนักวิเคราะห์กังวลว่าเงื่อนไขตามสัญญาจะใช้ไม่ได้ เพราะผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ไม่มีสถานะพลเมือง และเอกสารยืนยันตัวตนจากต้นทาง
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 60 เว็บไซต์Asian Correspondent รายงานทางการเมียนมาได้ยืนยันว่าจะมีการรับผู้อพยพชาวโรฮิงญากลับยังบ้านเกิดในรัฐยะไข่ ภายหลังจากจำนวนผู้อพยพที่เดินทางออกไปช่วงเกิดความรุนแรงในพื้นที่มีมากถึง 5 แสนคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากการพูดคุยกันระหว่างรัฐบาลบังคลาเทศและเมียนมา ในกรุงธากา เมืองหลวงของบังคลาเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ต.ค. ที่ผ่านมา
นาย AH Mahmood Ali รัฐมนตรีการต่างประเทศของบังคลาเทศ กล่าวภายหลังจากการพูดคุยอย่างเป็นทางการกับนาย Kyaw Tint Swe ว่า บรรยากาศการพูดคุยครั้งนี้เป็นไปด้วยดี และทางการเมียนมาก็ยินดีรับผู้อพยพโรฮิงญากลับ และสิ่งที่ทางการบังคลาเทศต้องการคือการร่วมหาทางออกในเรื่องนี้ด้วยสันติวิธี ซึ่งทั้งสองประเทศก็เห็นด้วยตามนั้น
ด้านนาย Win Myat Aye รัฐมนตรีด้านสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์และการตั้งถิ่นฐานใหม่ของเมียนมา กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวในที่ประชุมของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่า สิ่งที่เมียนมาต้องทำในตอนนี้คือการรับผู้อพยพกลับมายังภูมิลำเนาเดิม โดยการส่งตัวกลับนั้นสามารถเริ่มได้ทุกเมื่อ สำหรับคนที่พร้อมและต้องการกับมายังเมียนมา โดยการคัดกรองของเมียนมานั้นจะอิงไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลเมียนมาและบังคลาเทศ ที่ทำขึ้นในปี 1993
นาย Win Myat Aye กล่าวอีกว่า คนที่ได้รับการยืนยันจากทางการบังคลาเทศว่าเป็นผู้อพยพจริง สามารถกลับเข้ามายังภูมิลำเนาเดิมโดยไม่มีปัญหาใดๆ นอกจากนั้นจะยังได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยเป็นอย่างดี
ด้านนักวิเคราะห์ มองว่า การออกมายืนยันถึงมาตรการในการรับตัวกลับครั้งนี้ของเมียนมา มาจากท่าทีของนางอองซาน ซูจี ที่ออกมากล่าวในแถลงเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการอ้างถึงข้อตกลงของสองประเทศที่จัดทำขึ้นในปี 1993
แต่ทั้งนี้กฎเกณฑ์บางประการในข้อตกลงอันนี้ กลับมีข้อน่ากังวลอยู่สำหรับชาวโรฮิงญาที่จะต้องเข้ารับการพิสูจน์สถานะ เพราะหนึ่งในเงื่อนไขที่จะรับตัวกลับนั้น พวกเขาต้องได้รับสถานะผู้ลี้ภัยและมีเอกสารยืนยันความเป็นพลเมืองของเมียนมาด้วย
ขณะที่ผู้ลี้ภัยจำนวนมากในค่ายอพยพไม่มีเอกสารเหล่านี้ เนื่องจากที่ผ่านมาการขึ้นทะเบียนเป็นพลเมืองของชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธมาโดยตลอด ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องอยู่ในสถานะคนไร้รัฐและผู้ลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย แม้จะมีการอ้างที่รากเหง้าหรือหลักฐานประวัติศาสตร์ก็ตาม
ด้านองค์การสหประชาชาติ ได้เรียกความรุนแรงครั้งนี้จนเป็นเหตุอพยพครั้งใหญ่ว่า เป็น ภาวะการอพยพที่รวดเร็วที่สุดในโลก และยังระบุด้วยว่า กลุ่มชาวพุทธซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีส่วนในความรุนแรงครั้งนี้ด้วย
ด้านรัฐบาลเมียนมา ยังคงออกมาปฏิเสธความรุนแรงทั้งหมดที่ถูกกล่าวหา พร้อมทั้งยังยืนยันว่า กลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาหรือ ARSA ต่างหากที่เป็นตัวสร้างความรุนแรง
นาง Sheikh Hasina นายกรัฐมนตรีของบังคลาเทศ ได้เรียกร้องให้เมียนมายุติความรุนแรงทั้งหมด แต่สร้างพื้นที่ปลอดภัยที่จะสามารถรับผู้อพยพกลับบ้าน นอกจากนี้นายกฯบังคลาเทศ ยังระบุอีกว่า ขอให้ทีมค้นหาความจริงของยูเอ็นได้เข้าไปยังพื้นที่ เพื่อที่รัฐบาลเมียนมาจะได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการแก้ปัญหาในรัฐยะไข่ ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำของ โคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการยูเอ็น ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการในการแก้ปัญหาโรฮิงญา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทางการไทยยันติดตามวิกฤติโรฮิงญาใกล้ชิด พร้อมให้ความช่วยเหลือ
อ๊อกซฟอร์ดปลดภาพซูจีออกจากวิทยาลัย หลังถูกวิพากษ์หนักวิกฤติโรฮิงญา
ฝ่ายความมั่นคงเมียนมาเตือนยูเอ็นอย่าเรียกวิกฤติโรฮิงญาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
วงวิชาการมองวิกฤติโรฮิงญา อาเซียนแสดงบทบาทช้า หมดเวลาตั้งแต่วันที่ซูจีแถลง
สวนแถลงซูจีฮิวแมนไรซ์ฯเผยภาพดาวเทียมชุดใหม่พบบ้านโรฮิงญา 214 ชุมชนโดนเผาเรียบ
ตร.ยะไข่สลายม็อบขวางกาชาดสากลช่วยโรฮิงญา ด้านรองปธน.เมียนมาย้ำ สถานการณ์ดีขึ้นเเล้ว
ซูจีแถลงครั้งแรกวิกฤติโรฮิงญาขอประณามทุกความรุนแรงย้ำรัฐกำลังแก้ปัญหา
ไม่มี'โรฮิงญา' ในถ้อยแถลงของ ซูจี สิ่งยืนยันว่าพวกเขาไร้ตัวตน
ยูนิเซฟ ประกาศเด็กโรฮิงญา 2แสนคน ต้องการความช่วยเหลือด่วน ทั้งด้านร่างกาย-จิตใจ
ไม่ใช่เบงกาลี แต่คือโรฮิงญา สำนึกร่วม ประวัติศาสตร์บนพื้นที่อาระกัน
โรฮิงญาอพยพเเล้ว3 แสนคนรมต.ต่างประเทศบังคลาเทศชี้นี่คือ’ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’
ยูเอ็นชี้วิกฤตโรฮิงญา เป็นตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นักวิชาการชี้ใช้คำ ‘เบงกาลี’ แทนโรฮิงญาเป็นการจงใจทำลายประวัติศาสตร์พื้นที่
นักวิชาการชี้ ‘ซูจี’ ไร้อำนาจเบ็ดเสร็จแก้ปมโรฮิงญา
โรฮิงญาอพยพพุ่ง 90,000 คน - "ซูจี" ถูกนานาชาติกดดันหนัก
หยุดปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อพลเรือนชาวโรฮิงญา
ฮิวแมนไรต์โชว์ภาพดาวเทียม ไหม้วอด 700 หลังบ้านชาวโรฮิงญา
เตือนบทบาทไทยกรณี "โรฮิงญา" รับลูก "เมียนมา" เสี่ยงหลายมิติ
รัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา
กลุ่มผู้หญิงโรฮิงยาเผยกับสื่อ ชาวบ้านโดนทรมานสารพัดช่วงทหารกวาดล้าง
WFP รายงานโรฮิงยากว่าแสนคนเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร
โรฮิงญา...จาก "อคติชาติพันธุ์" สู่ "เหยื่อค้ามนุษย์"