ตร.ยะไข่สลายม็อบขวางกาชาดสากลช่วยโรฮิงญา ด้านรองปธน.เมียนมาย้ำ สถานการณ์ดีขึ้นเเล้ว
ตำรวจยะไข่ใช้กระสุนยาง แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมขัดขวาง การส่งความช่วยเหลือโรฮิงญาของกาชาดสากล พร้อมจับกุมผู้ชุมนุม 8 คน ด้านรองประธานาธิบดีเมียนมาเผยสถานการณ์ดีขึ้นเเล้ว ไม่มีการโจมตี ด้านทีมสืบสวนยูเอ็นหวังรัฐเปิดทางเข้าพื้นที่ ตามคำแถลงซูจี
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่าเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 20 ก.ย.60 ที่ผ่านมา ตำรวจในรัฐยะไข่ได้จับกุมผู้ประท้วงขาวเมียนมา 8 คน พร้อมกันนั้นมีการยิงกระสุนยางและแก๊สน้ำตาไปยังกลุ่มผุ้ชุมนุมที่ขัดขวางการขบวนความช่วยเหลือของกาชาดสากลที่กำลังลงพื้นที่ไปยังบริเวณเมือง Maungdaw บริเวณตอนเหนือของรัฐยะไข่ ซึ่งเป็นจุดที่มีการปะทะกับระหว่างกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาและกองทัพเมียนมา
สื่อเมียนมารายงานว่า การชุมนุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมราว 300 คน และมีการโยนระเบิดน้ำมันไปยังเรือของกาชาดสากลที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ Set Yoe Kya ก่อนที่ทางการจะสนธิกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 200 นายเข้าควบคุมสถานการณ์ ภายหลังจากการสลายการชุมนุม ผู้บัญชาการทหารประจำเขตพร้อมกำลังทหารเข้าควบคุมพื้นที่
นาย Sittwe พยานในพื้นที่เผยว่า ช่วงเวลาราว 17.00 มีกลุ่มคนราว 50 คน เข้ามาบริเวณท่าเรือ และบังคับไม่ให้กัปตันนำเรือที่บรรทุกของที่จะนำไปช่วยเหลือชาวโรฮิงญา ออกจากท่า ขณะนั้นมีการแจ้งไปยังตำรวจในท้องที่พร้อมกับเจ้าอาวาสให้เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย แต่ไม่เป็นผลการชุมนุมยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งเกิดเหตุดังกล่าว
เรือของกาชาดสากลในภารกิจครั้งนี้เป็นเรือขนาด 50 ตัน อยู่ภายใต้การดูแลของ นายU Naing Lin Wai ซึ่งเป็นเจ้าหน้ากาชาดสากลในท้องถิ่น โดยในเรือบรรทุก แผ่นโซลาร์เซลล์จำนวน 774 แผ่น เสื้อผ้าอีกราว 64,071 ชุด ผ้าใบ 1,240 ผืน ผ้าห่มอีก 1.331 ผืน ถังน้ำ 1,331 ถัง มุ้ง 3,000 หลัง รวมไปถึงของใช้สำหรับผู้หญิงและเครื่องครัวอีกจำนวนหนึ่ง
ขณะที่ในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดีเมียนมา นายHenry Van Thio กล่าวต่อที่ประชุมถึงสถานการณ์ในรัฐยะไข่ว่าตอนนี้ทุกอย่างดีขึ้น ไม่มีการปะทะตั้งวันที่ 5 กันยายน แต่สิ่งที่เรากังวลคือจำนวนผู้อพยพชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องเร่งสอบสวนว่าเกิดอะไรขึ้น
ในส่วนของประธานาธิบดีฝรั่งเศส นาย Emmanuel Macron กล่าวถึงสถานการณ์ในพม่าในที่ประชุมยูเอ็นว่า เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ด้านสหประชาชาติรายงาน สถานการณ์ผู้อพยพในบังคลาเทศตอนนี้มีจำนวนมากถึง 420,000 คน โดยส่วนใหญ่หนีตายจากปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ทั้งการเผาบ้านเรือน และการข่มขืนผู้หญิง โดยนาย Marzuki Darusman หัวหน้าคณะตรวจสอบความจริงในเมียนมา กล่าวว่า มีรายงานการใช้ระเบิดฝังไว้ตามเส้นทางที่มีการอพยพบริเวณชายแดนบังคลาเทศ นอกจากนี้สิ่งที่น่ากังวลอย่างมากต่อสถานการณ์ในพื้นที่คือการปล่อยข่าวลือ และโฆษณาชวนเชื่อ สร้างความเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญา
ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงต่างประเทศเมียนมาไม่อนุญาตให้คณะทำงานเข้าสืบสวนเข้าประเทศ ซึ่งนาย Marzuki ได้กล่าวรายงานไปยังคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อขอให้ขยายเวลาของทีมสืบสวนออกไปถึงเดือนกันยายนปีหน้า และขอให้มีการจัดสรรเครื่องมือที่จำเป็นเป็นการเร่งด่วน
นาย Marzuki กล่าวด้วยว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพวกเราที่จะต้องเห็นสถานการณ์และสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยตาตัวเองเพื่อสื่อสารทั้งหมดให้ได้รับรู้ ที่ผ่านมาเราพยายามสื่อสารเรื่องนี้ไปยังรัฐบาลเมียนมาและขอความร่วมมือในการจัดการ ก็หวังว่ารัฐบาลจะมีท่าทีในเชิงบวกมากขึ้น หลังจากมีการแถลงว่า เมียนมาไม่กลัวการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซูจีแถลงครั้งแรกวิกฤติโรฮิงญาขอประณามทุกความรุนแรงย้ำรัฐกำลังแก้ปัญหา
ไม่มี'โรฮิงญา' ในถ้อยแถลงของ ซูจี สิ่งยืนยันว่าพวกเขาไร้ตัวตน
ยูนิเซฟ ประกาศเด็กโรฮิงญา 2แสนคน ต้องการความช่วยเหลือด่วน ทั้งด้านร่างกาย-จิตใจ
ไม่ใช่เบงกาลี แต่คือโรฮิงญา สำนึกร่วม ประวัติศาสตร์บนพื้นที่อาระกัน
โรฮิงญาอพยพเเล้ว3 แสนคนรมต.ต่างประเทศบังคลาเทศชี้นี่คือ’ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’
ยูเอ็นชี้วิกฤตโรฮิงญา เป็นตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นักวิชาการชี้ใช้คำ ‘เบงกาลี’ แทนโรฮิงญาเป็นการจงใจทำลายประวัติศาสตร์พื้นที่
นักวิชาการชี้ ‘ซูจี’ ไร้อำนาจเบ็ดเสร็จแก้ปมโรฮิงญา
โรฮิงญาอพยพพุ่ง 90,000 คน - "ซูจี" ถูกนานาชาติกดดันหนัก
หยุดปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อพลเรือนชาวโรฮิงญา
ฮิวแมนไรต์โชว์ภาพดาวเทียม ไหม้วอด 700 หลังบ้านชาวโรฮิงญา
เตือนบทบาทไทยกรณี "โรฮิงญา" รับลูก "เมียนมา" เสี่ยงหลายมิติ
รัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา
กลุ่มผู้หญิงโรฮิงยาเผยกับสื่อ ชาวบ้านโดนทรมานสารพัดช่วงทหารกวาดล้าง
WFP รายงานโรฮิงยากว่าแสนคนเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร
โรฮิงญา...จาก "อคติชาติพันธุ์" สู่ "เหยื่อค้ามนุษย์"
ที่มาข่าวhttps://au.news.yahoo.com/world/a/37171851/myanmar-insists-to-un-that-rakhine-improving/