ฝ่ายความมั่นคงเมียนมาเตือนยูเอ็นอย่าเรียกวิกฤติโรฮิงญาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ฝ่ายความมั่นคงเมียนมาเตือนยูเอ็นอย่าเรียกวิกฤติโรฮิงญาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ด้านสหรัฐเรียกร้องดำเนินคดีกองทัพเบื้องหลังความรุนแรง รายงานล่าสุดผู้อพยพกว่า 50 คนสูญหาย หลังเรือล่มระหว่างมายังบังคลาเทศ
เมื่อวันที่ 29 ก.ย.60 สำนักข่าวอัลจาซีร่า ว่า ทูตประจำสหรัฐอเมริกากล่าวถึงปัญหาโรฮิงญาว่า จำเป็นต้องมีการจัดการกับหัวหน้ากองทัพเมียนมา ที่สั่งปฏิบัติการในพื้นที่ยะไข่จนเป็นเหตุให้มีผู้อพยพร่วม 5 แสนชีวิต
โดย นิกกี้ ฮาลีย์ (Nikki Haley) ทูตสหรัฐฯประจำองค์การสหประชาชาติกล่าวในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นว่า ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่นั้น เป็นกระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่ต่อเนื่องยาวนานและโหดร้ายและช่วงเวลาที่เราจะมาพูดคุยทางการทูตนั้นจบลงแล้ว
คำกล่าวของ ฮาลีย์ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีรายงานว่า ผู้อพยพชาวโรฮิงญาจำนวนกว่า 50 คนสูญหายไประหว่างพยายามล่องเรือข้ามมายังฝั่งบังคลาเทศก่อนที่จะถูกกระแสคลื่นพัดจมหายไป ที่ทางด้านองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ระบุว่า คาดการณ์ว่าในเรือลำดังกล่าวมีคนอยู่ราว 130 คน ซึ่งรายงานของตำรวจบังคลาเทศพบว่ามีผู้รอดชีวิตเพียง 27 คน เสียชีวิต 19 คน และสูญหายอีกกว่า 50 คน
อัลจาซีร่า รายงานว่า การออกมาพูดครั้งนี้ของสหรัฐฯถือเป็นครั้งแรกที่มีความพยายามในการเรียกร้องให้มีการลงโทษผู้นำกองทัพเมียนมา แต่ทั้งนี้มาตรการที่จะคว่ำบาตรเมียนมานั้นถูกยกเลิกไปตั้งสมัยรัฐบาลบารัค โอบาม่า ขณะที่กลุ่มชาวพุทธในเมียนมา ปฏิเสธข้อกล่าวหาประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการกระทำต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
ฮาลีย์ กล่าวด้วยว่า กองทัพเมียนมาต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่โดยทันที และต้องจัดการฟ้องผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเหตุความรุนแรงทั้งหมด ทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาอนุญาตให้มีการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากองค์การสหประชาชาติและองค์กรสิทธิต่างๆ พร้อมทั้งต้องให้คำมั่นที่จะรับผู้อพยพกลับสู่ถิ่นฐานเดิมของพวกเขา
ฮาลีย์ยังตำหนิถึงท่าที่ของ อองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วยว่า เป็นเรื่องน่าอายอย่างยิ่งต่อผู้นำที่เสียสละเพื่อนำประชาธิปไตยเข้ามาสู่สังคมเมียนมา
อัลจาซีร่า ระบุว่าที่ผ่านมา เมียนมาได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากประเทศจีนและรัสเซีย ขนาดที่ว่า นายWu Haitao อุปทูตจีน กล่าวถึงสถานการณ์แรงกดดันต่อรัฐบาลเมียนมาว่า ประชาคมโลกต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความยากลำบากของเมียนมาด้วย ขอให้อดทน และสิ่งสำคัญคือการส่งความช่วยเหลือ
ด้าน Vassily Nebenzia เอกอัครราชทูตรัสเซีย กล่าวว่า เราต้องระมัดระวังอย่างมากเวลาที่จะพูดระบุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และมองว่า ที่ผ่านมาดลกกดดันเมียนมามากเกินไป มิหน่ำซ้ำยังเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงมากกว่าเดิม
ด้าน นายAntonio Guterres เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ กล่าวในที่ประชุมสภาความมั่นคงว่าความรุนแรงครั้งนี้ถือเป็น ภัยฉุกเฉินด้านการอพยพที่ใหญ่และเร็วที่สุดในโลก ถือเป็นฝันร้ายด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมที่ผ่านมา เลขาธิการยูเอ็นไม่มีการใช้คำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ก่อนหน้านี้เขาได้ยกขึ้นมาเพื่อบอกถึงสถานการณ์วิกฤติโรฮิงญา โดยในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมาเขาเลือกใช้ว่า เป็นกระบวนการความรุนแรงที่นำไปสู่การเคลื่อนย้ายครั้งใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์
ด้าน U Thaung Tun ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลเมียนมา กล่าวถึงวิกฤติโรฮิงญาว่า เป็นการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายไม่ใช่ความขัดแย้งทางด้านศาสนา และเตือนไปยังสภาความมั่นคงของยูเอ็นว่าอย่าทำให้ทุกอย่างดูเลวร้ายขึ้น เพราะนี้ไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเมียนมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วงวิชาการมองวิกฤติโรฮิงญา อาเซียนแสดงบทบาทช้า หมดเวลาตั้งแต่วันที่ซูจีแถลง
สวนแถลงซูจีฮิวแมนไรซ์ฯเผยภาพดาวเทียมชุดใหม่พบบ้านโรฮิงญา 214 ชุมชนโดนเผาเรียบ
ตร.ยะไข่สลายม็อบขวางกาชาดสากลช่วยโรฮิงญา ด้านรองปธน.เมียนมาย้ำ สถานการณ์ดีขึ้นเเล้ว
ซูจีแถลงครั้งแรกวิกฤติโรฮิงญาขอประณามทุกความรุนแรงย้ำรัฐกำลังแก้ปัญหา
ไม่มี'โรฮิงญา' ในถ้อยแถลงของ ซูจี สิ่งยืนยันว่าพวกเขาไร้ตัวตน
ยูนิเซฟ ประกาศเด็กโรฮิงญา 2แสนคน ต้องการความช่วยเหลือด่วน ทั้งด้านร่างกาย-จิตใจ
ไม่ใช่เบงกาลี แต่คือโรฮิงญา สำนึกร่วม ประวัติศาสตร์บนพื้นที่อาระกัน
โรฮิงญาอพยพเเล้ว3 แสนคนรมต.ต่างประเทศบังคลาเทศชี้นี่คือ’ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’
ยูเอ็นชี้วิกฤตโรฮิงญา เป็นตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นักวิชาการชี้ใช้คำ ‘เบงกาลี’ แทนโรฮิงญาเป็นการจงใจทำลายประวัติศาสตร์พื้นที่
นักวิชาการชี้ ‘ซูจี’ ไร้อำนาจเบ็ดเสร็จแก้ปมโรฮิงญา
โรฮิงญาอพยพพุ่ง 90,000 คน - "ซูจี" ถูกนานาชาติกดดันหนัก
หยุดปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อพลเรือนชาวโรฮิงญา
ฮิวแมนไรต์โชว์ภาพดาวเทียม ไหม้วอด 700 หลังบ้านชาวโรฮิงญา
เตือนบทบาทไทยกรณี "โรฮิงญา" รับลูก "เมียนมา" เสี่ยงหลายมิติ
รัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา
กลุ่มผู้หญิงโรฮิงยาเผยกับสื่อ ชาวบ้านโดนทรมานสารพัดช่วงทหารกวาดล้าง