เวทีวิชาการ
-
เมื่อความรุนแรงไม่เลือกเป้าหมาย...."คนสาธารณสุข" อันตรายที่สามจังหวัดชายแดน
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 23:31 น.เขียนโดยPisanแวลีเมาะ ปูซู โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา แม้แต่ในภาวะสงครามก็ยังมีกติกา และหนึ่งใน "กติกาสากล" ของสงคราม ก็คือหมอ พยาบาล และสำนักงานทางสาธารณสุขทุกแห่งถือเป็น "พื้นที่ปลอดความรุนแรง" ทว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บุคลากรทางการแพทย์กำลังตกเป็นเป้า ทั้งเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ขณะที่สถานพยาบาลในระดับชุมชนก็ถูกเผาทำลายไปหลายสิบแห่ง
-
“ศาสนาพุทธ”กับ“ศาสนาอิสลาม”ที่ชาวพุทธและมุสลิมควรเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (2)
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 10 พฤษภาคม 2553 เวลา 23:48 น.เขียนโดยPisanกัณหา แสงรายา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ภาค 2 ของบทความในรูป “คำถาม-คำตอบ” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับความเชื่อในศาสนาพุทธ อิสลาม และศาสนาอื่นๆ ด้วยหวังให้ผู้ที่นับถือศาสนาแตกต่างกันได้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน อันจะเป็นหนทางของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข...ยั่งยืน
-
บทบาทสื่อ 2 มุมในภาวะวิกฤติ ทัศนะจาก 2 วงเสวนาวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 04 พฤษภาคม 2553 เวลา 03:41 น.เขียนโดยPisanโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในสังคมไทย สื่อมวลชนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลากหลายฝักฝ่ายและหลากหลายแง่มุม มีไม่น้อยที่สื่อถูกตั้งคำถามอย่างแหลมคมว่า การทำหน้าที่ของสื่อในบางปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่มีความอ่อนไหวอย่างปมการเมืองและความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น สื่อกำลังเร่งขยายปมความขัดแย้งหรือร่วมแรงสร้างสันติภาพกันแน่
-
“ศาสนาพุทธ”กับ”ศาสนาอิสลาม”ที่ชาวพุทธและมุสลิมควรเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (1)
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 22 เมษายน 2553 เวลา 12:35 น.เขียนโดยPisanกัณหา แสงรายา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ไม่ว่าจะนับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอิสลาม เคยอยู่ร่วมกันอย่างสงบและปลอดภัยมานานนับร้อยๆ ปี ยกตัวอย่างเช่น คนเชื้อสายไทยพุทธใน ต.พิเทน อ.มายอ ต.ปิยา อ.ยะหริ่ง ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ฯลฯ ไม่เคยมีปัญหาใดๆ กับคนเชื้อสายมลายูซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่
-
แกะรอยพจนานุกรมเก่าแก่มลายูถิ่นปัตตานี-ไทย...ความภาคภูมิใจที่ยังไม่เคยถูกจารึก
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 04 เมษายน 2553 เวลา 22:50 น.เขียนโดยPisanปรัชญา โต๊ะอิแต โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ณ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ดินแดนที่วัฒนธรรมมลายูปัตตานีปกคลุมแทบทุกมิติชีวิตของผู้คนแถบนี้ มักจะมีเรื่องเก่าให้เล่าขาน และมีเรื่องราวที่น่าค้นหาอยู่เสมอ เรื่องบางเรื่องเคยถูกค้นพบและจารึกเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์ แต่บางเรื่องก็ยังเป็นความลับหรือรับรู้กันอยู่ในวงจำกัด รอคอยให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เหมือนดั่งเรื่องราวของพจนานานุกรมภาษามลายูถิ่นปัตตานี-ไทยฉบับ ...
-
บาบ๋า ย่าหยา...ในโลกไทยมลายูปัตตานี
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 24 มีนาคม 2553 เวลา 11:14 น.เขียนโดยPisanกัณหา แสงรายา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา บทบาทของ เจนเนท เอา นักแสดงสาวจากสิงคโปร์ซึ่งรับบทหนักในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง The Little Nyonya (พากย์ไทยว่า “บาบ๋า ย่าหยา... รักยิ่งใหญ่จากใจดวงน้อย”) ทั้งในฐานะ Juxiang (จี๋เซียง-แม่) และ Yue Niang (เย่ เหนียง-ลูกสาว) ล้วนสะท้อนถึงสิ่งที่คนจีนโพ้นทะเล (พวกหัวเฉียว) มีร่วมกัน นั่นคือความกล้าหาญ อดทน มัธยัสถ์ ฉลาดเฉลียว รุนแรง (aggressive) และอ่อนน้อมถ่อมตน ...
-
เสียงคนรุ่นใหม่...ชำแหละปัญหาผู้นำท้องถิ่นแดนใต้ “งบลงแต่ไร้งาน-ไม่เห็นหัวชาวบ้าน”
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 16 มีนาคม 2553 เวลา 13:56 น.เขียนโดยPisanปรัชญา โต๊ะอิแต โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ท่ามกลางการไหลเทลงพื้นที่ของงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อดับไฟความรุนแรงที่จังหวัดปลายด้ามขวาน หลายๆ ครั้งโครงการพัฒนาไม่ได้นำพาไปสู่ความสงบที่จริงแท้ แต่กลับทำให้เกิดรอยปริร้าวขึ้นในชุมชนจากความขัดแย้งของผู้นำในท้องถิ่นที่รัฐใช้เป็นมือไม้ในการจัดการปัญหาในพื้นที่นั่นเอง
-
จัดระนาบการเมืองใหม่-ตั้งเขตปกครองพิเศษ...กับสันติภาพยั่งยืนที่ชายแดนใต้
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 12:43 น.เขียนโดยPisanแวลีเมาะ ปูซู โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา งานมหกรรมสันติภาพชายแดนใต้ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ซึ่งเป็นงานใหญ่งานแรกของปี 2553 และ "ทีมข่าวอิศรา" เคยรายงานบรรยากาศภาพรวมของงานให้ทราบไปแล้ว แต่ยังมีแง่มุมน่าสนใจที่สมควรเก็บตกมาบอกเล่าเก้าสิบกันใหม่ โดยเฉพาะการเสวนาในหัวข้อ “ไฟใต้กับกระบวนการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน”
-
ร่างกฎหมาย ศอ.บต.ฉบับใหม่...ติดดาบย้าย "ขรก.-ทหาร-ตำรวจ" พ้นพื้นที่?
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 20:46 น.เขียนโดยPisanแวลีเมาะ ปูซู โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ที่ผ่านมาในมิติของ "นโยบายดับไฟใต้" ประเด็นที่พูดคุยกันอย่างกว้างขวางในพื้นที่จะมีเฉพาะข้อเสนอว่าด้วย "นครปัตตานี" และการใช้ "มาตรา 21" ของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นำร่องใน 4 อำเภอของ จ.สงขลาเท่านั้น ส่วนร่างกฎหมายการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ "ร่าง พ.ร.บ.ศอ.บต.ฉบับใหม่" กลับไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก
-
นักฟิสิกส์รุมจับโกหก"จีที 200" ประชดเทคโนโลยี"ต่างดาว"
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 06:22 น.เขียนโดยPisanโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา เวทีเสวนาเรื่อง "หลักการทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด" หรือจะเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเวที "จับโกหก" เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด "จีที 200" ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อบ่ายวานนี้ คลาคล่ำไปด้วยนักวิทยาศาสตร์ใหญ่น้อย รวมถึงประชาชนผู้สนใจ และนักการเมือง ถือเป็นบรรยากาศความคึกคักในวงการวิทยาศาสตร์บ้านเราที่ดูจะห่างหายไปเนิ่นนาน