สถิติย้อนหลัง
-
ศอ.บต.เปิดสถิติเหตุรุนแรงรอมฎอนย้อนหลัง 4 ปี
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:49 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราแม้ข้อตกลงทดลองลดเหตุรุนแรง หรืออาจจะเรียกว่า "หยุดยิง" ที่กำลังทำกันอยู่นี้ระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นจะไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในปีปัจจุบัน แต่เคยเกิดขึ้นมาบ้างแล้ว อย่างน้อยเท่าที่มีหลักฐานบันทึกไว้ก็เมื่อปี 2553 ในรัฐบาลประชาธิปัตย์
-
รัฐกางตัวเลข "เป้าหมายอ่อนแอ" เป็นเหยื่อน้อยลงหลังเจรจา
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 09 กรกฎาคม 2556 เวลา 21:40 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราแม้จนถึงขณะนี้ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยที่ไม่เชื่อมั่นกระบวนการพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น กลุ่มของ นายฮัสซัน ตอยิบ ว่าจะสามารถสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้จริง เพราะเชื่อว่ากลุ่มของนายฮัสซันไม่ใช่ตัวจริง และไม่สามารถควบคุมกองกำลังติดอาวุธในพื้นที่ชายแดนใต้ได้จริงก็ตาม
-
เม.ย.-พ.ค.56 สถิติรุนแรง"สูง"ทรงตัว
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 20 มิถุนายน 2556 เวลา 20:43 น.เขียนโดยสุเมธ ปานเพชร, ปกรณ์ พึ่งเนตรห้วงสองเดือน คือเดือน เม.ย.ถึง พ.ค.2556 ภายหลังรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็นกลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ นัดพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปลายเดือน มี.ค. สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีสถิติการเกิดเหตุรุนแรงในทิศทางที่สูงขึ้นหรือทรงตัว โดยยังมองไม่เห็นสัญญาณการลดจำนวนเหตุร้ายลง
-
โพลล์ชายแดนใต้อยากให้เจรจา "หยุดยิง" ทหารพรานติดลบชาวบ้านไม่เชื่อมั่น
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 07 มิถุนายน 2556 เวลา 20:58 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราในห้วงของการพูดคุยเจรจาระหว่างคณะผู้แทนรัฐบาลไทย นำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับผู้แทนกลุ่มเห็นต่างจากรัฐ นำโดยแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็นนั้น ประเด็นหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายช่วงชิงกันมาตลอด คือการอ้างความเป็นตัวแทนของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
-
พัฒนาการ "ระเบิด" ที่ชายแดนใต้ พร้อมสถิติบึ้มทุกรูปแบบ
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน 2556 เวลา 13:13 น.เขียนโดยสุเมธ ปานเพชรเหตุการณ์สลดที่มีการบึ้มตูมตามจากวัตถุระเบิดที่เก็บกู้มาได้แล้ว ภายในฐานปฏิบัติการหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2556 จนเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด หรือ อีโอดี ต้องสังเวยชีวิตถึง 3 นายนั้น ได้ทำให้สถานการณ์ระเบิดที่ชายแดนใต้ถูกหยิบขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์กันอีกครั้ง
-
จับกระแสเจรจา...มองผ่านหาดใหญ่โพลล์และผลสำรวจของ ศอ.บต.
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน 2556 เวลา 07:11 น.เขียนโดยสุเมธ ปานเพชร, ปกรณ์ พึ่งเนตรกระบวนการสันติภาพที่ตัวแทนรัฐบาลไป "เปิดหน้าพูดคุย" กับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ นำโดย นายฮัสซัน ตอยิบ ที่อ้างตัวว่าเป็นแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็นนั้น ยังมีข้อถกเถียงว่าเดินถูกทางหรือไม่ และประชาชนเชื่อถือเชื่อมั่นจริงหรือเปล่า
-
ย้อนรอยบิ๊ก ขรก.สังเวยไฟใต้ บันนังสตากลืนชีวิตรองผู้ว่าฯ-พันเอก
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 05 เมษายน 2556 เวลา 19:41 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราแม้จะเป็นความจริงที่น่าเศร้า แต่ก็ต้องยอมรับว่าการสูญเสียข้าราชการชั้นผู้ใหญ่พร้อมๆ กันถึง 2 คน คือ นายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และ นายเชาวลิตร ไชยฤกษ์ ปลัดฝ่ายป้องกันจังหวัดยะลา เนื่องจากถูกคนร้ายลอบวางระเบิดรถยนต์ที่ อ.บันนังสตา ขณะเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ อ.เบตง จ.ยะลา นั้น ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
-
สถิติป่วน มี.ค.56 "เดือนถกบีอาร์เอ็น" เหตุรุนแรง-เจ็บตายพุ่งสูงสุด
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 01 เมษายน 2556 เวลา 19:38 น.เขียนโดยสุเมธ ปานเพชร, ปกรณ์ พึ่งเนตรส่วนปฏิบัติการและรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ศูนย์ปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (ศปร.กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้รายงานสรุปสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คือ อ.จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี ในรอบเดือน มี.ค.2556 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐอย่างไม่เป็นทาง ...
-
"หาดใหญ่โพล" ชี้คุยบีอาร์เอ็นไม่แก้ปัญหา แต่ยังหนุนเจรจาดับไฟใต้
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 16 มีนาคม 2556 เวลา 08:13 น.เขียนโดยสุเมธ ปานเพชรตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวหลายด้านที่เป็นผลสะท้อนจากการลงนามครั้งประวัติศาสตร์เพื่อริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ของไทย กับบุคคลที่อ้างตัวว่าเป็นแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น
-
เส้นทาง พ.ร.บ.มั่นคงฯ ชายแดนใต้ 5 พื้นที่ - เทียบดีกรี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:22 น.เขียนโดยทีมข่าวอิศราพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ หรือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ที่รัฐบาลประกาศเพิ่มน้ำหนักการบังคับใช้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบนั้น ถือเป็นมาตรการ "ไม้นวม" ที่ทดลองทำใน "พื้นที่นำร่อง" มาหลายปีแล้ว