งานวิจัยมหิดล พบพาราควอตตกค้างในขี้เทาทารกสูงเกินครึ่ง ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก
นักวิชาการมหิดล เผยงานวิจัย พบพาราควอตตกค้างในขี้เทาทารกกว่าครึ่ง ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก สะท้อนความรุนแรงของการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตร ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญมาจากแม่ที่เป็นเกษตรกร
เมื่อวันที่ 21 มี.ค.61 ในเวที สช.เจาะประเด็น ครั้งที่ 1/2561 “พาราควอต : 'ฆ่าหญ้า' VS 'คร่าสุขภาพ' คนไทย” ณ โถงหน้าห้องประชุมสานใจ ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ นนทบุรี
ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เราใช้สารพาราควอตนาน ตอนนี้กระจัดกระจาย รวมทั้งลงมาถึงตัวเกษตรกร และเด็กทารก ปี 2015 ประเทศไทยนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก
ทั้งนี้มีการศึกษาในกลุ่มประชากรของหญิงตั้งครรภ์ ในชุมชนเกษตรกรของสหรัฐอเมริกา พบว่า การได้รับสารกำจัดศัตรูพืชในระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา ส่งผลต่อพัฒนาระบบประสาทของทารกและเด็ก
ศ.ดร.พรพิมล กล่าวอีกว่า จากข้อมูลที่มีการศึกษายืนยันว่า พาราควอตสามารถส่งผ่านพลาเซ็นตรา( Placentra ) จากมารดาไปสู้ตัวอ่อนในครรภ์ได้ในหญิงตั้งครรภ์ที่กินพาราควอตเพื่อฆ่าตัวตาย ตรวจพบพาราควอตในตัวอ่อนปริมาณ 4-6 เท่าของระดับพาราควอตในเลือดแม่ ซึ่งเป็นปริมาณที่ตัวพบในตัวอ่อนสูงกว่าตัวแม่มาก คาดการณ์ว่า ถ้าสมองของตัวอ่อนทารกได้รับพาราควอตอาจทำให้เกิดอันตรายแบบเรื้อรังในเด็กทารกและส่งผลไปตลอดชีวิต
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าพาราควอตทำให้เกิดผลต่อการทำงานของแขนขาและความฉลาด (motor and cognitive functions) และยังมีการศึกษาพบว่าทำให้ระบบประสาท (neuron) เสียหายซึ่งทำให้มีผลต่อความจำและการเรียนรู้
ศ.ดร.พรพิมล เปิดเผยว่า งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีการตรวจพาราควอตในซีรั่มของมารดาและสายสะดือของทารก ในกลุ่มประชากรที่อาศัยในพื้นที่เกษตร ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อำนาจเจริญ และกาญจณบุรี โดยเก็บตัวอย่างเลือด ซี่รั่ม ปัสสาวะ รวมถึงขี้เทาในทารกแรกคลอดด้วย ผลการศึกษาพบว่า ซี่รั่มของมารดาจำนวน 78 คน ตรวจพบพาราควอตในปริมาณระดับต่างๆ เพียงแค่ 13 คนเท่านั้น โดยมีค่ามัธยฐาน 27.0 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าสูงสุดและต่ำสุดอยู่ที่ 15.1-58.3 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ในส่วนของสายสะดือทารกจำนวน 69 คน ตรวจพบ 14 คน โดยมีค่ามัธยฐาน 28.7 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าสูงสุดและต่ำสุดอยู่ที่ 7.7-47.6 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร
“ปัจจัยที่ตรวจพบพาราควอตในซีรั่มของมารดา พบว่าปัจจัยเสี่ยงมาจากการประกอบอาชีพเกษตร มีการขุดดินในพื้นที่การเกษตรในช่วงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงในการพบพาราควอตมากกว่ามารดาที่ไม่ได้ทำกิจกรรมดังกล่าวถึง 6 เท่า
ขณะเดียวกัน มารดาที่ทำงานในพื้นที่การเกษตรช่วง 6-9 เดือนของการตั้งครรภ์ มีโอกาสที่จะตรวจพบพาราควอตมากถึง 5.4 เท่า” ศ.ดร.พรพิมล กล่าวและว่า ในเมื่อเราตรวจพบในเลือดแม่ และสายสะดือ ทางทีมวิจัยจึงมีการเอาขี้เทา หรืออุจจาระของเด็กแรกเกิดมาตรวจ ในกลุ่ม 53 ตัวอย่าง ไม่พบพาราควอต 45.3% ขณะที่ตรวจพบ 54.7%
ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ มีการศึกษาขี้เทาของทารก 70 คน ตรวจพบ 2 คน มีปริมาณพาราควอทเป็น 106 และ 46 นาโนกรัมต่อกรัม
“การที่จะรู้ว่าสารเหล่านั้นปลอดภัยหรือไม่ ถ้าเด็กทารกได้รับถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก ในเมื่อสามารถตรวจพบสารพาราควอตในขี้เทาของเด็กในปริมาณที่เยอะอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่อวัยวะของเด็กยังไม่ได้พัฒนา ผลที่เกิดขึ้นกับลูกหลานของเราเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เด็กมีพัฒนาการที่ด้อยกว่า ขณะเดียวกันวันนี้ พัฒนาการของเด็กไทยในหลายพื้นที่ก็ด้อย การได้รับในเด็ก ถ้าเราไม่สามารถป้องกันให้เขาเกิดมาอย่างสมบูรณ์ได้ ก็ลองคิดดูว่าอนาคตของไทยจะเป็นอย่างไร” ศ.ดร.พรพิมลกล่าว.
อ่านประกอบ
มติที่ประชุม สธ. ยืนยันแบนการใช้พาราควอตภายในปี 62
ไบโอไทยฉะ สมาพันธ์เกษตรฯ องค์กรบังหน้าบรรษัทขายยาฆ่าหญ้า หลังค้าน สธ.แบนพาราควอต
พบเกษตรกรหนองบัวลำภูใช้พาราควอตเข้มข้น-คาดนำเข้ากว่า 8 แสนลิตร/ปี พ่อเมืองสั่งเร่งหาสาเหตุ
เปิดตัวเลข 3 ปี ย้อนหลัง นำเข้าสารเคมีอันตราย พบ ‘ไกลโฟเซต’ สูงสุด มูลค่ารวม 1 หมื่นล.
องค์กรผู้บริโภคจี้ รมว.เกษตรฯ เพิกถอน ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’ หลาย จว.เคลื่อนไหวหนุนแบน
กรมวิชาการเกษตรขอหารือ คกก.วัตถุอันตราย ก่อนเลิก ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’
เอ็นจีโอยกงานวิจัยโต้กลุ่มค้านยกเลิก ‘พาราควอต’ ยันมีพิษเฉียบพลัน ไม่มียาถอน
นักวิชาการชี้ “พาราควอต” มีอันตรายขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ยันไม่ซึมผ่านผิวหนัง ยกเว้นมีแผล
ฉบับเต็ม! เอ็นจีโอเเถลงโต้ ยัน 'พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส' อันตราย จี้เพิกถอนพ้นทะเบียน
ขีดเส้น 1 เดือน กษ.เพิกถอนทะเบียน พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส
สภาเกษตรกร จี้กษ.เร่งหาสารทดแทนพาราควอตโดยเร็ว
ผอ.มูลนิธิชีววิถีชี้แบนสารพาราควอตเจตนาดีต่อสุขภาพเกษตรกรไทย
กรมวิชาการเกษตรเปิดตัวเลขไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้า-แมลงกว่า 9 หมื่นตัน/ปี
ผอ.มูลนิธิขวัญข้าว ชี้มีเสียงค้านยกเลิก 'พาราควอต' เหตุนายทุนเสียประโยชน์
กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวเลขไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้า-แมลง กว่า 9 หมื่นตัน/ปี
ศรีลังกา เลิกนำเข้ายาฆ่าหญ้า กลุ่มไกลโฟเสท พบสาเหตุตายไตเรื้อรังกว่า 2 หมื่น