- Home
- Investigative
- การทำผิดของเอกชน
- โชว์ครบถ้วน!'รายชื่อบอร์ด-มติประชุมการบินไทย' จัดซื้อเครื่องโรลส์รอยซ์ปี 34-47
โชว์ครบถ้วน!'รายชื่อบอร์ด-มติประชุมการบินไทย' จัดซื้อเครื่องโรลส์รอยซ์ปี 34-47
เปิดครบถ้วน!ทุกรายชื่อบอร์ดการบินไทย ร่วมประชุมลงมติอนุมัติจัดซื้อเครื่องโรลส์รอยซ์ ช่วงปี 34-47 -เทียบเคียงผลสอบ 'SFO'
ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องยนต์ บริษัท โรลส์รอยซ์ จำกัด จากฐานข้อมูลบันทึกการประชุมคณะกรรมการ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำข้อมูลมาเสนอไปก่อนหน้านี้ คงทำให้สาธารณชนได้รับทราบข้อเท็จจริงว่า เนื้อหาที่ปรากฎในบันทึกการประชุมหลายครั้ง มีความสอดคล้องกับข้อมูลในผลการสอบสวนของสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) เกี่ยวกับการจ่ายสินบนจัดซื้อเครื่องยนต์บริษัท โรลส์รอยซ์ วงเงินกว่า 1.2 พันล้านบาท ระหว่างปี 2534-2548 รวมจำนวน 3 ครั้ง
ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณชน ได้เห็นภาพข้อมูลส่วนนี้ชัดเจนมากขึ้น 'สำนักข่าวอิศรา' ได้ประมวลรายละเอียดทั้งหมดมานำเสนออีกครั้งดังนี้
1. บันทึกการประชุมคณะกรรมการการบินไทย ครั้งที่8/2534 ลงวันที่ 30 ส.ค.2534 และ ครั้งที่ 4/2535 ลงวันที่ 24 เม.ย.2535
ข้อมูลในบันทึกการประชุมทั้ง 2 ครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการจัดซื้อเครื่องยนต์จากโรลส์รอยส์ เพื่อติดตั้งกับเครื่องบินของการบินไทย ซึ่ง SFO ระบุว่าเป็นช่วงที่เกิดการจ่ายเงินสินบนก้อนแรก ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2534-30 มิ.ย. 2535 วงเงิน 18.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 663 ล้านบาท) เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ.ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานคณะกรรมการการบินไทย ขณะที่ พลอากาศเอก วีระ กิจจาทร ดำรงตำแหน่ง เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย
เนื้อหาสำคัญในบันทึกการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 8/2534 ลงวันที่ 30 ส.ค.2534 ระบุว่า ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ใช้เครื่องยนต์แบบ RB211-TRENT -870 ของบริษัท โรลส์-รอยซ์ ติดตั้งกับเครื่องบิน B777-200 ที่บริษัทฯ สั่งซื้อ โดยให้ บริษัทฯ เจรจาต่อรองให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ดังกล่าว ปรับปรุงข้อเสนอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทฯ ต่อไป
จากนั้น ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 4/2535 ลงวันที่ 24 เม.ย.2535 ร้อยตำรวจโทฉัตรชัย บุญยะอนันต์ กรรมการและเลขานุการในขณะนั้น ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 3/2535 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2535 และเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมหน้า 25 โดยขอยกเลิกข้อความในบรรทัดที่ 8-9 และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน "ที่ประชุมฯ รับทราบและมอบหมายให้บริษัทฯ บริหารกิจการให้เป็นไปตามแนวข้อสังเกตท้ายมติครม.ดังกล่าว หลังจากได้รับแจ้งมติเป็นทางการแล้ว และเนื่องจากตามแผนวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแล้วดังกล่าว ได้กำหนดให้บริษัทฯ จัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่งจำนวน 8 ลำ และขนาด 400 ที่นั่ง อีกจำนวน 4 ลำ จึงมีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบิน ดังนี้
1. ให้บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง โดยยืนยันการสั่งซื้อเครื่องบิน B777 จำนวน 6 ลำ และทำสัญญาซื้อเพิ่มอีก 2 ลำ โดยให้ใช้เครื่องยนต์ Rolls-Royce กับเครื่องบินดังกล่าวทั้ง 8 ลำ
2. ให้บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 400 ที่นั่ง โดยยืนยันการสั่งซื้อเครื่องบิน B747 -400 จำนวน 2 ลำ และทำสัญญาซื้อเพิ่มอีก 2 ลำ โดยใช้เครื่องยนต์ GE กับเครื่องบินดังกล่าวทั้ง 4 ลำ ซึ่งที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 3/2535 ตามที่แก้ไขแล้วเป็นการถูกต้อง
จากการเปรียบเทียบข้อมูลในผลการสอบสวน ของ SFO และบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทยฯ พบว่ามีความสอดคล้องกัน ทั้งประเด็นเรื่องการอนุมัติจัดซื้อเครื่องยนต์ จากโรลส์รอยส์ และ การซื้อเครื่องบินเพิ่ม จาก 6 ลำ เป็น 8 ลำ
(อ่านประกอบ : เปิดบันทึกลับการบินไทยซื้อโรลส์รอยส์ช่วงสินบนก้อนแรก-ยุค'บิ๊ก'ทอ.คุม, เทียบชัดๆ บันทึกการบินไทย-ผลสอบSFO จุดเริ่มต้นสินบนโรลส์รอยส์ก้อนแรก?)
2. บันทึกการประชุมคณะกรรมการบินไทย ครั้งที่ 4/2536 วันที่ 29 เม.ย.2536
ข้อมูลในบันทึกการประชุมครั้งนี้ ชี้ให้เห็นข้อมูลสำคัญว่า ภายหลังที่การบินไทย ได้มีมติเห็นชอบให้ซื้อเครื่องบิน เครื่องบิน B777-200 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์แบบ RB211-TRENT -870 จำนวน 8 ลำ ของ โรลส์-รอยซ์ แล้ว การบินไทยได้มีประชุมอนุมัติเปลี่ยนรุ่นเครื่องยนต์ ของ โรลส์รอยส์ ใหม่ จาก รุ่น Trent 870 เป็นรุ่น 875 ซึ่งเป็นยุคที่มีนายบัณฑิต บุณยะปานะ เป็นประธานคณะกรรมการการบินไทย ขณะที่ร้อยตำรวจโท ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย
โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการบินไทยครั้งนี้ มีการพิจารณาวาระเรื่องการขออนุมัติเปลี่ยนรุ่นเครื่องยนต์ โรลส์รอยส์ สำหรับเครื่องบิน B777-200 จำนวน 8 ลำ จากรุ่น Trent 870 เป็นรุ่น Trent 875 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติอนุมัติและให้ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ จัดเอกสารที่เกี่ยวข้องแนบไว้กับรายงานการประชุม เพื่อเป็นหลักฐานดังนี้
1.) เอกสารเสนอราคาเครื่องยนต์ของ โรลส์รอยส์ ซึ่งระบุว่า เครื่องยนต์ Trent 875 มีราคาสูงกว่า Trent 870
2.) เอกสารแสดงว่า สายการบินอื่นๆ ใช้เครื่องยนต์สูงกว่า Trent 870
3.)เอกสารซึ่งแสดงว่าการเปลี่ยนรุ่นเครื่องจาก Trent 870 เป็น Trent 875 จะไม่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับการจ่ายสินบนก้อนที่ 2 ครั้งสอง วงเงิน 10.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 336 ล้านบาท) ถูกระบุว่าเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 2535-31 มี.ค.2540 โดย โรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินให้นายหน้าคนกลาง ซึ่งนำเงินดังกล่าวบางส่วนไปให้พนักงานการบินไทย
มิได้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับการอนุมัติเปลี่ยนแปลงรุ่นเครื่องยนต์นี้เอาไว้
(อ่านประกอบ : บันทึกลับบินไทยชิ้น2 อนุมัติเปลี่ยนรุ่นโรลส์รอยส์ T-875 ช่วงรอยต่อสินบนก้อน1-2)
3. บันทึกการประชุมคณะกรรมการการบินไทย ครั้งที่ 8 /2547 วันที่ 25 ส.ค.2547
เนื้อหาสำคัญในบันทึกการประชุมคณะกรรมการบริษัทการบินไทย ครั้งที่ 8 /2547 วันที่ 25 ส.ค.2547 คือ การอนุมัติดำเนินการจัดหาเครื่องบิน 14 ลำ อยู่ในยุคที่ นายทนง พิทยะ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทการบินไทย ส่วนนายกนก อภิรดี ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ซึ่งมีข้อมูลบางส่วนที่ตรงกับเนื้อในผลการสอบสวนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ช่วงการจ่ายสินบนก้อนที่ 3 วงเงิน 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ในระหว่าง 1 เม.ย. 2547-28ก.พ. 2548 ซึ่งโรลส์-รอยซ์จ่ายเงินให้กับคนกลาง ซึ่งมีเงินบางส่วนตกไปสู่เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานของการบินไทย
โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทการบินไทย ครั้งที่ 8/2547 ลงวันที่ 25 ส.ค.2547 ที่ประชุม เห็นชอบให้บริษัทการบินไทย ดำเนินการดังนี้
1.) จัดหาเครื่องบิน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินแอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินแอร์บัส A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินแอร์บัส A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน โบอิ้ง B777 -200ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงิน 96,355 ล้านบาท และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ตามที่ฝ่ายบริหารเสนอ
2.) อนุมัติให้บริษัทการบินไทย ลงนามในสัญญาMemorandum of understanding (M.O.U) เพื่อสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ กับบริษัทแอร์บัส พร้อมทั้งชำระเงินมัดจำเครื่องบิน โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯ สามารถเรียกเงินมัดจำเครื่องบินดังกล่าวคืนได้ถ้าบริษัทฯ ไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในบันทึกการประชุมคณะกรรมการบริษัทการบินไทย ครั้งที่ 8/2547 ลงวันที่ 25 ส.ค.2547 มีระบุว่า ถึงจำนวนการจัดซื้อโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ และ แอร์บัส A340 จำนวน 2 ลำ ตรงกับที่ปรากฎในผลการสอบของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO)
(อ่านประกอบ : ตรงเป๊ะผลสอบSFO!บันทึกบินไทย(3)ซื้อ 'B777-A340' 8 ลำ ยุค'ทนง -กนก'!, ชาติศิริ-วิโรจน์' ไม่เข้าประชุม!เปิดชื่อบอร์ดบินไทยซื้อ'B777-A340' ช่วงสินบนก้อน3)
4. บันทึกการประชุมคณะกรรมการการบินไทย ครั้งที่ 9 /2547 วันที่ 29 ก.ย.2547
เนื้อหาในบันทึกการประชุมครั้งนี้ อยู่ในยุคที่ นายทนง พิทยะ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทการบินไทย ส่วนนายกนก อภิรดี ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย เช่นกัน
มีสาระสำคัญอยู่ที่การนำเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการบินไทย ตอบรับ Memorandum of Agreement (MOA) ของบริษัท โรลส์รอยส์ เพื่อสั่งซื้อเครื่องยนต์อะไหล่ TRENT-500 จำนวน 5 เครื่องยนต์ และ TRENT -892 จำนวน 2 เครื่องยนต์ (รวมจำนวน 7 เครื่อง) และชำระเงินมัดจำจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเครื่องยนต์อะไหล่ โดยเงินมัดจำนี้ สามารถชำระคืนได้ในกรณีที่แผนวิสาหกิจปี 2545/46 -2549/50 ของบริษัทฯ ไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ขณะที่ที่ประชุมคณะกรรมการการบินไทย มีมติอนุมัติตามเสนอ และมีมติให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD =นายกนก อภิรดี) ร่วมกับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการเงินและบัญชี (DE) ลงนามใน MOA ดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ในระหว่างการอนุมัติ ที่ประชุมยังได้ชมเชย นาวาอากาศโท ศุภชัย ลิมปิสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายช่าง (DT) ที่สามารถเจรจาต่อรองราคาเครื่องยนต์อะไหล่ ที่การบินไทย จะสั่งซื้อจากบริษัทโรลส์รอยส์ ดังกล่าว จากราคาเดิมรวมทั้งสิ้นประมาณ 102 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเหลือประมาณ 87.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทำให้การบินไทย ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการนี้เป็นจำนวนมาก
เบื้องต้น จากการเปรียบเทียบข้อมูลในบันทึกการประชุมคณะกรรมการการบินไทย ครั้งที่ 9 / 2547 กับ สำนวนการสอบสวนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) พบว่า มีการปรากฎข้อมูลการจัดซื้อเครื่องยนต์อะไหล่ ระหว่างการบินไทย กับบริษัทโรลส์รอยส์เช่นกัน
โดยในสำนวนการสอบสวนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ระบุว่า ปลายเดือนกันยายน 2547 บอร์ดการบินไทยยืนยันการจัดซื้อล่วงหน้าเครื่องยนต์สำรองรุ่น T500 จำนวน 5 เครื่อง สำหรับใช้กับเครื่องแอร์บัส A340 และ T800 จำนวน 2 เครื่อง สำหรับ โบอิ้ง B777 (สำนักข่าวอิศรา : ช่วงเวลาตรงกับการประชุมคณะกรรมการการบินไทยครั้งที่ 9/2547 วันที่ 29 ก.ย.2547)
(อ่านประกอบ : ข้อมูลใหม่!มติบอร์ดบินไทยยุค'ทนง' ซื้อเครื่องสำรองโรลส์รอยซ์-น.ท.เจรจาต่อราคา , เปิดตัว 'น.ท.' ผู้ได้รับคำชมจากบอร์ดบินไทยยุค'ทนง'เจรจาซื้อเครื่องสำรองโรลส์รอยซ์)
ทั้งนี้ บันทึกการประชุมคณะกรรมการการบินไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องยนต์ บริษัท โรลส์รอยซ์ จำกัด ทั้งหมดนี้ (ดูรายละเอียดในตารางประกอบท้ายเรื่อง) ถือเป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการระบุว่า บุคคลที่ปรากฎชื่ออยู่ในบันทึกการประชุมแต่ละครั้ง เป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีรับสินบนแต่อย่างใด ทุกคนจึงถือเป็นผู้บริสุทธิ์ และหลายคนก็พร้อมให้ความร่วมมือในการชี้แจงข้อเท็จจริงกับหน่วยงานตรวจสอบอย่างเต็มที่ด้วย
รายละเอียดบันทึกการประชุมคณะกรรมการการบินไทย
ที่อนุมัติให้จัดซื้อเครื่องยนต์บริษัท Rolls – Royce ตั้งแต่ปี 2534-2547
วาระที่ 6.5 ครั้งที่ 8/2534 เรื่อง การพิจารณาคัดเลือกเครื่องยนต์สำหรับติดตั้งกับเครื่องบิน B777-200 |
รายชื่อกรรมการบริษัท | มติประชุม |
ผู้เข้าร่วมประชุม ตำแหน่ง 1. พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ประธานกรรมการ 2. นายมหิดล จันทรางกูร รองประธานกรรมการ 3. นายพิสิฎฐ ภัคเกษม กรรมการ 4. นายวิทยา เวชชาชีวะ กรรมการ 5. พลอากาศเอก สุเทพ เทพรักษ์ กรรมการ 6. พลอากาศเอก วีระ กิจจาทร กรรมการ 7. พลอากาศเอกสมบูญ ระหงษ์ กรรมการ 8. นายสว่าง ศรีนิลทา กรรมการ 9. นายบัญฑิต บุณยะปานะ กรรมการ 10. นายโกเมน ภัทรภิรมย์ กรรมการ 11. ร้อยตำรวจโท ฉัตรชัย บุยะอนันต์ กรรมการและเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม - ผู้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ พลอากาศเอก วีระ กิจจาทร |
ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯได้มีมติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2534 ฯ อนุมัติในหลักการให้บริษัทฯ ทำสัญญาสั่งซื้อ เครื่องบิน แบบ B777-200 โดยมีเงื่อนไข Subject to Board and Government Approvel และบริษัทฯได้ลงนามในสัญญา Purchase Ageement No.1771 กับบริษัท โบอิ้ง จำกัด เพื่อสั่งซื้อเครื่องบิน B777 ไปแล้ว ซึ่งเครื่องบินดังกล่าวสามารถ ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์จาก 3 บริษัทผู้ผลิต คือ 1. บริษัท Generral Electric แบบ GE90-B3 2. บริษัท United Techolgies International,Inc. แบบ PW 4073 A 3. บริษัท Rolls-Royce Plc.แบบ RB211-TRENT-870 บริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณาคัดเลือกเครื่องยนต์ ดังกล่าว โดยให้พิจารณาเปรียบเทียบข้อเสนอของผู้ผลิตเครื่องยนต์ทั้ง 3 บริษัท ทั้งด้านเทคนิคและด้านการเงิน ดังปรากฎผลการพิจารณาเสนอคณะกรรมการบิริษัทฯแล้ว ที่ประชุม มีมติอนุมัติให้บริษัทฯใช้เครื่องยนต์แบบ RB211-TRENT-870 ของบริษัท Roll-Royce ติดตั้งกับเครื่องบิน B777-200 ที่บริษัทฯสั่งซื้อ โดยให้บริษัทฯ เจรจาต่อรองให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ดังกล่าวปรับปรุงข้อเสนอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทฯต่อไป ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 |
วาระที่ 7.5 ครั้งที่ 3/2535 เรื่อง แผนวิสาหกิจ 2535 – 2541 ของบริษัท การบินไทย จำกัด |
|
รายชื่อกรรมการบริษัท |
มติประชุม |
ผู้เข้าร่วมประชุม ตำแหน่ง 1. พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ประธานกรรมการ 2. นายมหิดล จันทรางกูร รองประธานกรรมการ 3. นายพิสิฎฐ ภัคเกษม กรรมการ 4. พลอากาศโท สามารถ โสดสถิตย์ กรรมการ 5. พลอากาศเอก วีระ กิจจาทร กรรมการ 6. นายบัณฑิต บุญยะปานะ กรรมการ 7. นายวิทยา เวชชาชีวะ กรรมการ 8. พลอากาศโท ถาวร เกิดสินธุ์ กรรมการ 9. นายสว่าง ศรีนิลทา กรรมการ 10. นายโกเมน ภัทรภิรมย์ กรรมการ 11. พลเรือเอก วิเชษฐ การุณยวนิช กรรมการ 12. นายเอกกมล คีรีวัฒน์ กรรมการ 13. นายมาโนช พรพิบูลย์ กรรมการ 14. ร้อยตำรวจโท ฉัตรชัย บุยะอนันต์ กรรมการและเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม 1.พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท กรรมการ ผู้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ พลอากาศเอก วีระ กิจจาทร |
ร้อยตำรวจโท ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 3/2535 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2535 และเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมหน้า 25 โดยขอยกเลิกข้อความในบรรทัดที่ 8-9 (ที่ประชุม รับทราบ และมอบหมายให้บริษัทฯ บริหารกิจการให้เป็นไปตามแนวข้อสังเกตท้ายมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว หลังจากได้รับแจ้งมติเป็นทางการแล้วด้วย) และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ที่ประชุมฯ รับทราบและมอบหมายให้บริษัทฯ บริหารกิจการให้เป็นไปตามแนวข้อสังเกตท้ายมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว หลังจากได้รับแจ้งมติเป็นทางการแล้ว และเนื่องจากตามแผนวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแล้วดังกล่าว ได้กำหนดให้บริษัทฯ จัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำและขนาด 400 ที่นั่ง อีกจำนวน 4 ลำ จึงมีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินดังนี้ 1. ให้บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง โดยยืนยันการสั่งซื้อเครื่องบิน Boeing 777 จำนวน 6 ลำ และทำสัญญาซื้อเพิ่มอีก 2 ลำ โดยให้ใช้เครื่องยนต์ Roll-Royce กับเครื่องบินดังกล่าวทั้ง 8 ลำ 2. ให้บริษัทฯ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 400 ที่นั่ง โดยยืนยันการสั่งซื้อเครื่องบิน Boeing 747-400 จำนวน 2 ลำ และทำสัญญาซื้อเพิ่มอีก 2 ลำ โดยให้ใช้เครื่องยนต์ GE กับเครื่องบินดังกล่าวทั้ง 4 ลำ” ที่ประชุม มีมติรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 3/2535 ตามที่แก้ไขแล้วเป็นการถูกต้อง |
วาระที่ 6 เรื่องเพื่อพิจารณา วาระที่ 6.1 ขออนุมัติเปลี่ยนรุ่นเครื่องยนต์ Rolls-Royce สำหรับติดตั้งกับเครื่องบิน B777-200 |
|
รายชื่อกรรมการบริษัท | มติประชุม |
ผู้เข้าร่วมประชุม ตำแหน่ง 1. นายบัณฑิต บุญยะปานะ ประธานกรรมการ 2. นายมหิดล จันทรางกูร รองประธานกรรมการ คนที่ 2 3. นายพิสิฎฐ ภัคเกษม กรรมการ 4. นายโกเมน ภัทรภิรมย์ กรรมการ 5. พลอากาศเอก วีระ กิจจาทร กรรมการ 6. นายเอกกมล คีรีวัฒน์ กรรมการ 7. นายสม จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการ 8. นายมาโนช พรพิบูลย์ กรรมการ 9. นายปิ่น จักกะพาก กรรมการ 10. นาย ประชา คุณะเกษม กรรมการ 11. พลอากาศเอก ประชุม ฉายศิริ กรรมการ 12. ร้อยตำรวจโท ฉัตรชัย บุยะอนันต์ กรรมการและเลขานุการ
ผู้ไม่มาประชุม 1.พลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์ 2. นายรุ่งโรจน์ ศรีประเสริฐสุข
ผู้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ร้อยตำรวจโท ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ |
ขออนุมัติเปลี่ยนรุ่นเครื่องยนต์ Roll-Royce สำหรับติดตั้งกับเครื่องบิน B777-200 ที่ประชุม อนุมัติให้บริษัทฯ เปลี่ยนรุ่นเครื่องยนต์สำหรับติดตั้งกับเครื่องบิน B777-200 จำนวน 8 ลำ จาก Roll-Royce รุ่น Trent 870 เป็นรุ่น 875 ทั้งนี้ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ จัดเอกสารเกี่ยวข้องแนบไว้กับรายงานการประชุม เพื่อเป็นหลักฐานดังนี้
ลงวันที่ 29 เมษายน 2536 |
วาระที่ 3.2 แผนเส้นทางบินและฝูงบินระยะยาว (2548/49-2552/53)(Network and Fleet Plan) | |
รายชื่อกรรมการบริษัท | มติประชุม |
ผู้เข้าร่วมประชุม ตำแหน่ง 1. นายทะนง พิทยะ ประธานกรรมการ 2. นายศรีสุข จันทรางศุ รองประธานกรรมการ คนที่ 2 3. นายสมใจนึก เองตระกูล กรรมการ 4. พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา กรรมการ 5. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช กรรมการ 6. นายถิรชัย วุฒิธรรม กรรมการ 7. นายธัชชัย สุมิตร กรรมการ 8. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการ 9. นายวิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการ 10. พลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์ กรรมการ 11. ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุชัย เจริญรัตนกุล กรรมการ 12. นายโอฬาร ไชยประวัติ กรรมการ 13. นายกนก อภิรดี กรรมการ
ผู้ไม่มาประชุม 1. นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการ (ติดภารกิจ) 2. นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการ (ติดภารกิจ)
ผู้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ นายกนก อภิรดี |
เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่อให้ความเห็นชอบให้บริษัทฯ ดำเนินการดังนี้ 1.จัดหาเครื่องบิน A380 จำนวน 6 ลำ, เครื่องบิน A340-500 จำนวน 1 ลำ, เครื่องบิน A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท ในระหว่างปี 2547/48-2552/53 และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ตามที่บริษัทฯ เสนอ 2. อนุมัติให้บริษัทฯ ลงนาม Memorandum of Understanding (M.O.U) เพื่อสั่งซื้อเครื่องบิน A 380 จำนวน 6 ลำ, เครื่องบิน A340 – 500 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน A340 – 600 จำนวน 1 ลำ กับ บริษัท แอร์บัส โดยมีเงื่อนไขผลบังคับใช้เมื่อได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งชำระเงินมัดจำเครื่องบินเรียกคืนได้ สำหรับ A380 จำนวน 6 ลำ ๆ ละ 500,000 เหรียญสหรัฐ รวมเป็นเงิน 3,000,000 เหรียญสหรัฐฯ และสำหรับ A340-500/600 จำนวน 2 ลำ ๆ ละ 300,000 เหรียญสหรัฐ รวมเป็นเงิน 600,000 เหรียญสหรัฐฯ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,600,000 เหรียญสหรัฐฯ ภายในสามวันทำการหลังลงนามใน M.O.U 3. ลงนาม Letter of Intent (L.O.I) เพื่อสั่งซื้อ เครื่องบิน B777-200ER จำนวน 6 ลำ กับบริษัท โบอิ้ง โดยมีเงื่อนไขผลบังคับใช้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งชำระเงินมัดจำเครื่องบินเรียกคืนได้ จำนวนลำละ 200,000 เหรียญสหรัฐฯ รวมเป็นเงิน 1,200,000 เหรียญสหรัฐฯ ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ที่ประชุม เห็นชอบให้บริษัทฯ ดำเนินการ ดังนี้ 1.จัดหาเครื่องบิน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินแอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินแอร์บัส A340 – 500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินแอร์บัส A340 – 600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินโบอิ้ง B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงิน 96,355 ล้านบาท และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ตามที่ฝ่ายบริหารเสนอ 2.อนุมัติให้บริษัทฯ ลงนามในสัญญา Memorandum of Understanding (MOU) เพื่อสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ กับบริษัท แอร์บัส พร้อมทั้งชำระเงินมัดจำเครื่องบิน โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯ สามารถเรียกเงินมัดจำเครื่องบินดังกล่าวคืนได้ถ้าบริษัทฯ ไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2547 |
วาระที่ 6.2 เรื่อง Memorandum of Agreement เพื่อสั่งซื้อเครื่องยนต์อะไหล่ TRENT 500 และ TRENT-892 จากบริษัท Rolls-Royce | |
รายชื่อกรรมการบริษัท | มติประชุม |
ผู้ไม่มาประชุม - นายวิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการ (เดินทางไปต่างประเทศ) ผู้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ - นายกนก อภิรดี |
เรื่องเพื่อพิจารณา เพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติให้บริษัทตอบรับ Memorandum of Agreement (MOA) ของบริษัท Rolls-Royce เพื่อสั่งซื้อเครื่องยนต์อะไหล่ TRENT 500 และ TRENT-892 จำนวน 2 เครื่องยนต์ และชำระเงินมัดจำจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเครื่องยนต์อะไหล่ โดยเงินมัดจำนี้สามารถชำระคืนได้ในกรณีที่แผนวิสาหกิจปี 2545/46-2549/50 ของบริษัทฯ ไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีที่ประชุม มีมติอนุญาตตามเสนอ และมีมติให้คณะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่(DD)ร่วมกับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการเงินและบัญชี(DE)ลงนามในนาม MOA ดังกล่าวได้และได้ชมเชย นาวาอากาศโท ศุภชัย ลิมปิสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายช่าง(DT)ที่สามารถเจรจาต่อรองราคาเครื่องยนต์อะไหล่ที่บริษัท Rolls-Royce ดังกล่าว จากเดิมราคารวมทั้งสิ้นประมาณ 102 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเหลือประมาณ 87.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทำให้บริษัทฯประหยัดค่าใช้จ่ายจากการนี้เป็นจำนวนมาก ลงวันที่ 29 กันยายน 2547 |
อ่านประกอบ :
เจอแล้ว!ปตท.จัดซื้อ ‘โรลส์รอยซ์’ 7 สัญญารวด 254.5 ล. ช่วง 3 ปี- บ.คนไทยเอี่ยว
ถก ยธ.สหรัฐฯสัปดาห์หน้า-ป.ป.ช.ตั้งคณะทำงานทางการสอบสินบนโรลส์-รอยซ์
สั่งคมนาคมเร่งสอบสินบนโรลส์-รอยซ์! ‘บิ๊กตู่’ย้อนหาว่า รบ.โกง ไหนคดีในศาล
ชี้อำนาจ ครม. อนุมัติ ! 'กนก'อดีตดีดีบินไทยพร้อมให้สอบหาอีแอบสินบนโรลส์รอยซ์
ประมวลชัดๆ 'ข้อมูลจัดซื้อ-เส้นทางสินบน' คดีโรลส์รอยซ์-บินไทย 1.2 พันล.
จ่ายก้อน3 ช่วง นัดรมต.ยุคแม้วกินข้าว!สตง.แจ้งSFOขอผลสอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์'
การบินไทย แจงเร่งตรวจสอบข้อมูล หลัง 'โรลส์รอยซ์'ยอมรับจ่ายสินบนในไทย
ชวน "ดร.เมธี- ต่อตระกูล" คุยกรณีโรลส์-รอยซ์ ติดสินบนซื้อเครื่องยนต์
ชวลิตนั่งปธ.!ปตท.ตั้งกก.สอบสินบน'โรลส์รอยซ์'-สรุปผลเบื้องต้นสัปดาห์หน้า
สอบทุกรบ.!สตง.ลุยตรวจสินบนโรลส์รอยซ์'ปตท.'แล้ว-คดีบินไทยรอ'ชื่อ'ผู้เกี่ยวข้อง
แกะรอยจากเอกสารคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ อ้าง"บิ๊ก"กองทัพอากาศพัวพัน(ตอนที่ 1)
แกะรอยจากเอกสาร โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 2 ช่วงปี 35-40 "จัดการขั้นตอนทางการเมือง"
แกะรอย บ.โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 3 ช่วงปี 47-48 "ดินเนอร์กับคนในรัฐบาล" (จบ)
หลักฐานเด็ด!มติ ครม.ปี 47 คดีสินบนโรลส์รอยส์-'สุริยะ'ชงเปลี่ยนซื้อ'B777' 6 ลำ
เปิดหนังสือสุริยะฉบับ2ชงครม.ระดมทุนซื้อ'B777'6ลำ-วัฒนายันบินไทยจัดการเอง
ได้ชื่อผู้เกี่ยวข้อง ตั้งอนุฯสอบทันที! ป.ป.ช.ขีดเส้น ‘บินไทย-ปตท.’ต้องส่งข้อมูลสัปดาห์นี้
จำกัดประเภทเครื่องยนต์!เปิดมติ ครม. ยุค รสช.ไฟเขียวซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์
เปิดบันทึกลับการบินไทยซื้อโรลส์รอยส์ช่วงสินบนก้อนแรก-ยุค'บิ๊ก'ทอ.คุม
เทียบชัดๆ บันทึกการบินไทย-ผลสอบSFO จุดเริ่มต้นสินบนโรลส์รอยส์ก้อนแรก?
บันทึกลับบินไทยชิ้น2 อนุมัติเปลี่ยนรุ่นโรลส์รอยส์ T-875 ช่วงรอยต่อสินบนก้อน1-2
บอร์ดดูละเอียดแล้ว! ‘บินไทย’ชง รมว. คมนาคมยุค‘รสช.’ ซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์
ตรงเป๊ะผลสอบSFO!บันทึกบินไทย(3)ซื้อ 'B777-A340' 8 ลำ ยุค'ทนง -กนก'!
ชาติศิริ-วิโรจน์' ไม่เข้าประชุม!เปิดชื่อบอร์ดบินไทยซื้อ'B777-A340' ช่วงสินบนก้อน3
ข้อมูลใหม่!มติบอร์ดบินไทยยุค'ทนง' ซื้อเครื่องสำรองโรลส์รอยซ์-น.ท.เจรจาต่อราคา
เปิดตัว 'น.ท.' ผู้ได้รับคำชมจากบอร์ดบินไทยยุค'ทนง'เจรจาซื้อเครื่องสำรองโรลส์รอยซ์