- Home
- Thaireform
- ข่าวเด่น นโยบายสาธารณะ
- แกะรอยจากเอกสาร โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 2 ช่วงปี 35-40 "จัดการขั้นตอนทางการเมือง"
แกะรอยจากเอกสาร โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 2 ช่วงปี 35-40 "จัดการขั้นตอนทางการเมือง"
เดือนพฤศจิกายน 2539 ในบันทึกภายในของบริษัท RR ระบุว่า พนักงานของไทย คนเดิม เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของ RR “จ่าย” เงินจำนวน 1ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายให้นายหน้า 3 ในบันทึกระบุให้ดำเนินการจ่ายเงินนั้นโดยทันที: “ เพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง”
ต่อเนื่องจาก ตอนที่1แกะรอยจากเอกสารคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ อ้าง"บิ๊ก"กองทัพอากาศพัวพัน(ตอนที่ 1)ในตอนที่ 2 นี้ ในคำแถลงสรุปคดี จาก STATEMENT OF FACTS PREPARED PURSUANT TO PARAGRAPH 5(1) OF SCHEDULE 17 TO THE CRIME AND COURTS ACT 2013 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย หน้า 9 -18
การจ่ายสินบนการจัดซื้อครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2535- 31 มีนาคม 2540 (5ปี) หน้า 11-15 โดยระบุว่า
สรุป
71. ทางบริษัท RR ตกลงจ่ายเงินสินบนให้กับนายหน้า (their intermediaries) จำนวน 10.38 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ส่วนแบ่งของเงินจำนวนนี้มีจุดประสงค์เพื่อแบ่งสรรปันส่วนให้กับพนักงานของการบินไทย ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการจัดซื้อเครื่องยนต์รุ่น T800 ล็อตที่สอง โดยพนักงานเหล่านั้นแสดงท่าทีพอใจต่อการใช้เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าว
ข้อเท็จจริง
72. ทางการไทยได้ตกลงซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ โดยที่ทางบริษัท RR ต้องการความมั่นใจว่า ทางการบินไทยจะเลือกใช้เครื่องยนต์รุ่น T800 ทางบริษัท RR ได้จ่ายสินบนให้กับนายหน้า 3 และนายหน้าในภูมิภาค เพื่อทำให้เกิดการซื้อขายครั้งนี้
73. ในเดือนมีนาคม ปี 2535 เมื่อการจัดซื้อในล๊อตที่สองของการบินไทยเป็นไปตามคาดการณ์ของบริษัทRR พนักงานRR จึงตกลงจ่ายเงิน ให้นายหน้า 3 จำนวน 135 ล้านบาท(หรือคิดเป็นเงินประมาณ 5.29 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) โดยไทยสั่งซื้อโบอิ้ง 777 พร้อมเครื่องยนต์ T800 ซึ่งการสั่งซื้อครั้งนี้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในจดหมายแนบ ในข้อตกลงขอนายหน้า 3
74. แต่อย่างไรก็ตาม การจัดซื้อครั้งนี้ไม่ได้รับการจัดการต่อในทันที สองปีต่อมา ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 บริษัท RR จ่ายสินบนอีกกว่า 5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับนายหน้า3 โดยเงินจำนวนนี้ แยกออกมาต่างหากจากข้อตกลงเดิม
ในเดือนเมษายน ปี2538 ขณะที่กระบวนการจัดซื้อยังไม่ได้ตกลง บริษัทRR ส่งจดหมายแนบไปยังนายหน้า3 โดยจดหมายครั้งนี้ได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มจากเดิมในปี 2535 ว่าจะจ่ายเงินสินบน (commission) อีก 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อลำ(ทั้งหมด6 ลำ)
75. ในจดหมายที่แนบส่งให้นายหน้า3 ระบุว่า เงินจำนวน 5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ นั้น เป็นค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นล่วงหน้าที่จ่ายให้นายหน้า3
ทางนายหน้า3 ได้ตอบจดหมายกลับทางบริษัท RR ในเดือนเมษายนปี 2538 ว่าข้อความที่ระบุในจดหมายแนบนั้นเป็นการเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อตกลงเดิม ระบุว่า "การจ่ายสินบนครั้งนี้เพื่อล็อบบี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย [a senior officer of Thai] ไม่ใช่เงินล่วงหน้าใดๆ"
76. ในเดือนกรกฏาคม 2538 ทางบริษัทRR ส่งจดหมายกลับมายืนยันว่าเงินจำนวน 5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ นั้น ไม่ได้หัก (deducted) จากส่วนค่าคอมมิสชั่น แต่เป็นเงินที่ให้เพิ่มเติม
77. นายหน้า 3 (Intermediary 3) แสดงท่าทีไม่พอ(complained)เกี่ยวกับค่าคอมมิสชั่น (the level of commission)
บันทึกภายในเขียนระบุว่า รูปแบบการจ่ายส่วนแบ่งค่าคอมมิสชั่นให้กับนายหน้า 3 นั้น ไม่สามารถตอบสนองตามข้อตกลง (“would not meet his commitments) ขณะเดียวกันนายหน้าในภูมิภาคอยากได้เงินอัดฉีดเพิ่มเติมให้กับผู้สนับสนุน (nominees) ภายในองค์กรอีกด้วย
78. ทางบริษัท RR ได้ส่งจดหมายถึง นายหน้า3 เนื้อความระบุว่า
“ทางบริษัทRR มีความจำเป็นที่ต้องทราบว่า เงินเหล่านั้นถูกจัดสรรไปไว้ที่ไหนบ้าง และแม้จะระบุด้วยวาจาก็ตาม” (It is also important that we know where such funds are being placed, albeit that such
information is best handled verbally.)
79. จดหมายอีกฉบับนี้ได้ถูกส่งไปยังนายหน้าในภูมิภาคเช่นกัน โดยมีข้อความระบุว่า หากนายหน้า 3 กินเงินเกินกว่าร้อยละ 1 ของค่าคอมมิสชั่น จดหมายระบุว่า...
“[…] สิ่งที่ทางบริษัท RR ต้องการคืออยากให้ท่านตรวจสอบยอดเงินที่ได้รับอีกครั้ง ทางเราอยากทราบเจตนาของนายหน้า3 ในการแบ่งสรรเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อที่ว่าทางเราจะได้มีหลักฐานยืนยันเป็นกรณีๆ ไป”
80. ต่อมาพนักงานบริษัท RR เพิ่มค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นให้นายหน้า3 จากร้อยละ 1 เป็น ร้อยละ 2
81. ในวันที่ 30 ตุลาคม 2538 มีบันทึกภายในสอบถามถึง จำนวนเงินที่ระบุว่าค่าใช้จ่ายจำนวน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อลำนั้น ควรจ่ายภายในระยะเวลา7 วัน นับจากคำสั่งซื้อของไทย หรือภายใน 30 วันตามที่ได้ตกลงไว้ บันทึกได้ให้ความเห็นว่า
“[ผู้บริหารระดับสูงของไทย the senior officer of Thai] อยู่ระหว่างการรอ ออก “คำสั่ง (Order)” ในการสั่งซื้อโบอิ้ง แต่ก่อนที่จะออกคำสั่งนั้นจำเป็นต้องมีหลักฐานจาก Rolls-Royce ว่า เขาจะได้รับเงินส่วนแบ่งภายใน 7 วัน โดยผ่าน [นายหน้า 3]”
82. ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 มีเอกสารแนบ ระบุ ยินดีจ่ายเงินดังกล่าวตามที่ได้ตกลงผ่านทางนายหน้า3 ภายในระยะเวลา 7 วัน นับตั้งแต่มีการยืนยันคำสั่งซื้อ
83. ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 มีการบันทึกข้อตกลงที่จะทำการจ่ายเงินจำนวน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ล่วงหน้า แม้ว่าคำสั่งจะยังไม่ได้รับการยืนยันก็ตาม และได้มีการเบิกจ่ายเงินในวันดังกล่าว
84. ภายหลังการจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐดังกล่าว คณะกรรมการของการบินไทย (the Board of Thai) อนุมัติการสั่งซื้อเครื่องยนต์ T800 สำหรับเครื่อง B777 ทั้งหมด 6 ลำ ในชั้นนี้การอนุมัติของรัฐบาลไทย ( At this stage Government of Thailand ) ยังคงไม่มีหลักประกันที่แน่นอน
85. ในเดือนเมษายน 2539 พนักงานอาวุโสบริษัท RR และพนักงาน RR จำนวน 2 คนได้รับการเตือนเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพิ่ม จำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับนายหน้า3 ในเดือนมิถุนายน 2535 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากการสั่งซื้อเครื่องยนต์ล็อตแรก
86. ต่อมา ค่าส่วนแบ่งที่จ่ายทั้งหมดถูกตัดเหลือเพียง 1.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เนื่องจากทางการบินไทยสั่งซื้อเครื่องบินและเครื่องยนต์ลดลงจากข้อตกลงเดิม
87. ในเดือนพฤษภาคม 2539 บันทึกภายในอ้างถึงการจ่ายเงินจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย ( an employee of Thai ) ว่า
“ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรปันส่วนไปยังกลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมือง (the political helpers ) ที่ใช้มาตลอด จึงพอเข้าใจได้ว่า ทำไมถึงทำในนาม Power(plant) Group”
88. ในเดือน พฤศจิกายน 2539 ในบันทึกภายในของบริษัท RR ระบุว่า พนักงานของไทย คนเดิม (the same employee of Thai ) เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของบริษัท RR “จ่าย” เงินจำนวน 1ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายให้นายหน้า 3 ในบันทึกระบุให้ดำเนินการจ่ายเงินนั้นโดยทันที:
“ เพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง” (so that Thai can use it to 'manage the political process.)
89. พนักงานอาวุโสของบริษัท RR จำนวน 3 คน ตกลงที่จะทำตามข้อเสนอข้างต้น ซึ่งการจ่ายเงินล่วงหน้าในครั้งที่ 2 เป็นจำนวน 1ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ได้ถูกจ่ายไปให้นายหน้า 3 อีกครั้ง
90. เดือนมกราคม 2540, บันทึกจากทางภายในได้ถูกส่งไปให้ พนักงานระดับสูงบริษัท RR 2คน โดยในบันทึกระบุไว้ว่า ทางไทยคอยการอนุมัติจากรัฐบาลไทย ระบุว่า:
“สัญญาฉบับนี้เกี่ยวพันกับการจ่ายเงินมูลค่า 7.14ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับรัฐบาลไทยเพื่อให้ได้รับการอนุมัติในการสั่งซื้อ โดยเงินจำนวนเหล่านี้จะถูกส่งผ่านที่ปรึกษาทางการค้า (Commercial Adviser) ผู้ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบในการแบ่งจ่ายค่านายหน้าภายในประเทศ”
91. จุดประสงค์ของบันทึกนี้เพื่อระบุถึงรายงานของสื่อมวลชน ที่แนะนำให้ทางรัฐบาลไทยควรเลือกเช่าเครื่องบินแทนการซื้อ และหากเป็นเช่นนั้นบริษัท RR จะมีความเสี่ยงต่อการต้องสูญเงินถึง 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยปราศจากการรับประกันใดๆ จะมีการสั่งซื้อ แม้ว่านายหน้าทั้งสองคนให้คำมั่นแล้วก็ตาม
92. เดือนกุมภาพันธ์ 2540, การจัดประชุม CRSC ของบริษัท RR มีพนักงานระดับสูงของบริษัท RR จำนวน 3 คนที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการจ่ายเงิน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มาร่วมประชุมด้วย
ทางCRSC อนุมัติรายงานที่มีการยืนยันว่า การจ่ายเงินให้กับตัวแทนจากทุกหน่วยงานธุรกิจของบริษัท RR “ไม่ขัดต่อระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” รายงานฉบับนี้มีส่วนสำคัญคือ คำสั่งซื้อครั้งที่ 1และ 2 ของเครื่องยนต์ รุ่นT800 จากทางไทย รวมไปถึงรายละเอียดการจ่ายเงินให้กับนายหน้า 3 และนายหน้าในภูมิภาค
ต่อมารายงานฉบับดังกล่าวถูกส่งไปยังผู้สอบบัญชีภายนอกของบริษัท RR
93. ในที่สุดในเดือนมีนาคม 2540, บันทึกภายในที่ส่งไปยังพนักงานระดับสูงของบริษัท RR ยืนยันว่ารัฐบาลไทยได้อนุมัติคำสั่งซื้อครั้งที่2 แล้ว และคำสั่งซื้อครั้งนี้นำมาซึ่งการจ่ายเงินให้กับนายหน้า3 เป็นจำนวนเงิน 5.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นอกจากนั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกจำนวนหนึ่ง ให้กับนายหน้า 3 และ นายหน้าในภูมิภาค โดยรายจ่ายรอบสองนี้ถูกเรียกว่า “ส่วนแบ่งค่าคอมมิสชั่น” และจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายให้กับนายหน้า ได้ถูกให้คำจัดความว่าเป็น “ค่าใช้จ่ายทางการตลาด (marketing expenses)”
94. จำนวนเงิน 5.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่จ่ายให้นายหน้า 3 เงินจำนวนนี้แบ่งออกได้เป็นค่าส่วนเแบ่งจัดซื้อเครื่องบินลำละ 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ทั้งหมด6 ลำ รวมเป็นจำนวน 6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในส่วนที่หักจากนี้คือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าทั้งสองครั้ง ครั้งละ 1 ล้าน ดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยยอดคงเหลือทั้งหมด 4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อมามีการเรียกเก็บเพิ่มเป็นจำนวน 1.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการตัดจากราคาเดิมที่ 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
95. การจ่ายค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นให้กับนายหน้า3 และนายหน้าในภูมิภาค ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงกำหนดการส่งมอบเครื่องบิน นายหน้า3 และนายหน้าในภูมิภาคได้รับเงินทั้งหมดราว 1.37 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อคน
การจ่ายสินบนครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547-28 กุมภาพันธ์ 2548 โดยโรลส์-รอยซ์จ่ายเงินให้กับคนกลาง 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ซึ่งมีเงินบางส่วนตกไปสู่เจ้าหน้าที่รัฐในรายงานของSFO ระบุถึงรัฐมนตรีช่วยคนหนึ่งในรัฐบาลยุคนั้นมีเอี่ยว ต้องติดตาม ในรายงานตอนที่ 3 เร็วๆ นี้
อ่านประกอบ
ประมวลชัดๆ 'ข้อมูลจัดซื้อ-เส้นทางสินบน' คดีโรลส์รอยซ์-บินไทย 1.2 พันล.
จ่ายก้อน3 ช่วง นัดรมต.ยุคแม้วกินข้าว!สตง.แจ้งSFOขอผลสอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์'
การบินไทย แจงเร่งตรวจสอบข้อมูล หลัง 'โรลส์รอยซ์'ยอมรับจ่ายสินบนในไทย
ชวน "ดร.เมธี- ต่อตระกูล" คุยกรณีโรลส์-รอยซ์ ติดสินบนซื้อเครื่องยนต์