จ่ายก้อน3 ช่วง นัดรมต.ยุคแม้วกินข้าว!สตง.แจ้งSFOขอผลสอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์'
เผยข้อมูลผลสอบคดีสินบน โรลส์รอยซ์-บินไทย 1.2 ล้าน เกิดขึ้นยุคทักษิณ จ่ายเงินก้อน 3 ช่วงนัดรมต.กินข้าว ล็อบบี้ครม.อนุมัติสัญญาซื้อไอพ่น T-800 - ล็อต 2 เบิกล่วงหน้า2ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อ"จัดการขั้นตอนทางการเมือง"-ผู้ว่าฯ สตง.สั่งลุยตรวจกระบวนการจัดซื้อจ้าง ทำหนังสือประสาน SFO ขอผลสอบสวนเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 19 ม.ค.2560 นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ภายหลังจากที่ปรากฎข่าวว่า ศาลสหราชอาณาจักรสั่งปรับ โรลส์-รอยซ์ บริษัทเครื่องยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติอังกฤษ 671 ล้านปอนด์ หรือ ราว 3 หมื่นล้านบาท หลัง สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ของประเทศ พบว่า บริษัทสมรู้ร่วมคิดกับการทุจริต หรือ ละเลยต่อการป้องกันการติดสินบนในไทย จีน อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไนจีเรีย ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ถูกระบุว่าเป็นกรณีการจัดซื้อเครื่องยนต์ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นั้น
เบื้องต้น ตนได้สั่งการให้สายตรวจ สตง. เข้าไปตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อเครื่องยนต์ หรือเครื่องบิน ของการบินไทย ที่จัดซื้อจากโรลส์-รอยซ์ ย้อนหลังทั้งหมด เพื่อนำมาประกอบการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลผลการสอบสวนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ซึ่งสตง.จะทำหนังสือแจ้งประสานขอผลการสอบสวนมาใช้ประกอบการตรวจสอบด้วย ซึ่งหากผลการตรวจสอบที่ออกมา พบข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีทุจริตเรียกรับสินบน ของเจ้าหน้าที่รัฐ จะมีการส่งเรื่องให้หน่วยงานตรวจสอบ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับไปตรวจสอบในขั้นตอนต่อไป
"กรณีนี้ มีเหตุอันควรรับฟังได้ว่า ไม่ใช่ข้อมูลทั่วไป แต่เป็นข้อมูลการสอบสวนของสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) และมีการนำข้อเท็จจริงเข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาลด้วย ข้อมูลหลักฐานประกอบต่างๆ จึงมีน้ำหนักอย่างมาก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ถูกระบุว่ามีการจ่ายสินบนให้ด้วย ก็คงต้องไปดูว่า มีการจ่ายเงินให้กับใครบ้าง ทั้งในส่วนของภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ในส่วนประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมกำกับดูแลอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว" ผู้ว่าฯ สตง.ระบุ
ขณะที่ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ในผลการสอบสวนของสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ของอังกฤษระบุว่า บ.โรลส์รอยส์ จ่ายสินบนให้จนท.ไทยและการบินไทยรวม3ครั้ง มูลค่า 36.38 ล้านดอลล่าร์(1,300 ล้านบาท)
ครั้งแรกปี 2534 -2535 จ่ายให้จนท.รัฐและพนง.การบินไทย ผ่านนายหน้าจำนวน18.8ล้านUSD ให้เลือกซื้อเครื่องไอพ่นT800 สำหรับโบอิ้ง777 ของการบินไทย
ครั้งที่2 ปี2535 -2540 จ่ายสินบนให้พนง.การบินไทย 10.38 ล้านUSD เพื่อซื้อไอพ่น T800 ล็อต2 โดยเบิกล่วงหน้า2ล้านUSD เพื่อ"จัดการขั้นตอนทางการเมือง"
ครั้งที่3 ปี 2547-2548 จ่ายจนท.รัฐ/พนง. การบินไทย 7.2ล้านUSD เพื่อซื้อไอพ่น T800ล็อต3 โดยได้ไปคุยและกินข้าวกับรัฐมนตรีเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติสัญญา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการจ่ายเงินสินบน ทั้ง 3 ก้อน อยู่ในช่วงรัฐบาล ดังต่อไปนี้
จ่ายครั้งแรก 2534-2535 รัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน
จ่ายครั้งที่ 2 ปี 2535-2540 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย , นายบรรหาร ศิลปอาชา และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ครั้งสุดท้าย ปี 2547-2548 รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงปี 2547-2548 ในยุครัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกระบุว่ามีรัฐมนตรีรายหนึ่งได้ไปคุยและกินข้าวเพื่อให้ครม.อนุมัติสัญญา มีรายละเอียดดังนี้
ครม.คณะที่ 54 (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2548) รายชื่อประกอบด้วย
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายเดช บุญ-หลง เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายปองพล อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายนที ขลิบทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประชา มาลีนนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายพงศกร เลาหะวิเชียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายสุวรรณ วลัยเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมบัติ อุทัยสาง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
นายเกษม วัฒนชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายจำลอง ครุฑขุนทด เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายพิเชษฐ์ สถิรชวาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายสุธรรม แสงประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ครม. คณะที่ 55 (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549) รายชื่อประกอบด้วย
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี (จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีลอย |
||
ออกจากตำแหน่ง | |||
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย | |||
แต่งตั้งเพิ่ม |
หมายเหตุที่มาข้อมูลรายชื่อ ครม. ชุดที่ 54-55 จากwikipedia.org