- Home
- Investigative
- จัดซื้อจัดจ้าง
- แกะรอยจากเอกสารคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ อ้าง"บิ๊ก"กองทัพอากาศพัวพัน(ตอนที่ 1)
แกะรอยจากเอกสารคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ อ้าง"บิ๊ก"กองทัพอากาศพัวพัน(ตอนที่ 1)
[นายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary)] มีความกังวลเมื่อ เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทัพอากาศไทย [a senior military officer in the Royal Thai AirForce] ถูกบีบให้ลาออก และบริษัท RR มีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการสนับสนุนในประเทศไทยต่อไป"
ถือเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกกันเลยทีเดียว กรณี บริษัทโรลส์-รอยส์ ออกมายอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษว่า ได้จ่ายสินบนให้หลายประเทศที่ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ รวมถึงได้จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่ไทย และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี 2534 - 2548 รวม 3 ครั้ง วงเงินกว่า 1,200-1,300 ล้านบาท เพื่อแลกเปลี่ยนให้ความช่วยเหลือในการทำสัญญาจัดซื้อเครื่องยนต์ Trent 800
สำนักข่าวอิศรา แปลคำแถลงสรุปคดีจาก STATEMENT OF FACTS PREPARED PURSUANT TO PARAGRAPH 5(1) OF SCHEDULE 17 TO THE CRIME AND COURTS ACT 2013 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย หน้า 9 -18
การจ่ายสินบนครั้งที่1 เกิดขึ้นระหว่าง 1 มิถุนายน 2534-30 มิถุนายน 2535 (1ปี)
49. บริษัทโรลส์-รอยส์ (RR) ตกลงจ่ายเงิน 18.8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่นายหน้าในภูมิภาค (Regional Intermediary) และนายหน้าคนอื่น หรือนายหน้า 3 (Intermediary 3) โดยเงินบางส่วนจ่ายให้แก่ ผู้แทน (Agents) ในประเทศไทย และพนักงานของการบินไทย โดยคาดหวังว่าบุคคลเหล่านี้จะให้ความช่วยเหลือ ให้การบินไทยเลือกซื้อเครื่องยนต์ T800 ของโรลส์-รอยส์
ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่มีการตรวจพบ พบว่า
50. ในเดือนมิถุนายน 2534 สายการบินไทย (“ไทย”) ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ ซึ่งหลังจากนั้นได้เพิ่มจำนวนการสั่งซื้อเป็น 8 ลำ โดยมีบริษัท RR เป็นผู้จำหน่าย เครื่องยนต์ Trent 800 (“T800”) ให้กับเครื่องบินของไทย ซึ่งในขณะที่ RR กำลังจัดสรรงบประมาณ ปรากฎว่า ได้มีการแบ่งเงินบางส่วนให้กับนายหน้า เป็นสินบนเพื่อชักจูงใจในการตัดสินใจซื้อขาย
51. นายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary) ของ RR แจ้งว่า ค่าส่วนแบ่งจากราคาเครื่องบินที่ทางประเทศไทยสั่งซื้อตกอยู่ที่ 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อลำ หรือมากกว่านั้น
52. ในเดือนกรกฎาคม 2534 มีบันทึกข้อความภายในของบริษัท RR ระบุว่า นายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary) แจ้งตัวเลขสุทธิ (the extent of the ‘demands' ) อยู่ที่ 8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งบริษัท RR ได้จัดงบประมาณเพื่อจ่ายให้กับนายหน้า 3 (Intermediary 3) จำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อลำ
53. พนักงานที่เป็นคนบันทึกข้อความเสนอให้ ทำลายสำเนาทั้งหมด และเก็บไว้เพียงแต่ตัวต้นฉบับ
54. สืบเนื่องจากสัญญาข้อ 2 ถึง 4 “เมื่อมีข้อตกลงหรือมีการจ่ายเงินใดใดให้กับนายหน้า 3 (Intermediary 3) จะต้องมีหนังสือขยายความสัญญาข้อตกลงระหว่างนายหน้า 3 (Intermediary 3)และทางบริษัท RR อย่างถูกต้องชัดเจน"
55. จดหมายแนบฉบับนี้ระบุ ยอดเงินจำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯต่อลำ ไว้ว่า เป็น “Success Fee” หรือค่าตอบแทนทางธุรกิจ ซึ่งในเอกสารดังกล่าวไม่มีการอ้างถึงบุคคลที่สามที่ได้รับเงินแต่อย่างใด
56. ในเดือนสิงหาคม 2534 บันทึกข้อความอีกฉบับระบุว่า “ได้มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม จากข้อตกลง ซึ่งได้แก่งบประมาณมูลค่าหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ต้องชำระให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ ตามที่ระบุในสัญญาอย่างชัดเจนเพื่อซื้อเครื่องยนต์ Trent.” การแก้ไขร่างสัญญาให้เป็นเอกสารตัวจริงเพื่อระบุว่า ได้มีชำระเงินให้นายหน้า 3 (Intermediary 3) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งข้อตกลงค่าคอมมิสชั่นดังกล่าวได้รับการรับรองโดยพนักงานอาวุโสของบริษัท RR เรียบร้อยแล้ว
57. ในเดือนตุลาคม 2534 มีการหารือกำหนดวันจ่ายเงินระหว่างบริษัท RR และนายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary).
58. นายหน้า 3 (Intermediary 3)ยืนยันว่า ต้องได้รับเปอร์เซนต์ค่าคอมมิสชั่นต่างหาก นอกเหนือจากจำนวนเงินมหาศาลที่ทางบริษัท RR ต้องจ่ายให้นายหน้า3 อยู่แล้ว ทั้งนี้ พนักงานบริษัท RR ตกลงส่วนแบ่งของค่าคอมมิสชั่นไว้ว่า นายหน้า 3 (Intermediary 3)รับ 50% ของค่าคอมมิสชั่นทันทีในครั้งแรก ซึ่งเพิ่มจากที่ตกลงไว้แต่เดิมเพียง 25% ทั้งนี้รักษาความกระตือรือร้นของบุคลากรในภูมิภาคไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจร่วมกันในอนาคต ( “maintain local enthusiasm for further business”)
59. 14 พฤศจิกายน 2534 บริษัท RR ชนะประมูลทำสัญญาซื้อขายเครื่องยนต์ให้เครื่องบินจำนวนทั้งสิ้น 6 ลำ โดยเริ่มจ่ายค่าคอมมิสชั่นตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2534 ถึง กุมภาพันธ์ 2535
60. ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2535 ทางบริษัท RR ได้จ่ายเงินจำนวนทั้งสิ้น 4.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับนายหน้า 3 (Intermediary 3)โดยพบว่า การจ่ายเงินทั้งสองงวดรวม (1.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และ 2.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) ซึ่งได้รับการรับรองจากพนักงานอาวุโสของบริษัทRR .
61. คำสั่งอนุมัติซื้อจากรัฐบาลไทยล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ เนื่องจากได้เปลี่ยนจำนวนเครื่องบินที่สั่งซื้อ จาก 6 ลำเป็น 8 ลำ ซึ่งคำสั่งซื้อจำนวน 8 ลำนั้น ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลไทยในเวลาต่อมา ในเดือนมีนาคม 2535
62. เดือนมีนาคม ปี 2534 มีบันทึกภายในส่งถึงพนักงานอาวุโส 2 ท่านของบริษัท RR ระบุว่า มีการค้างจ่ายค่านายหน้า 3 (Intermediary 3)จำนวน 4.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยมีพนักงานอาวุโสเป็นผู้อนุมัติการเบิกจ่ายดังกล่าว
ทั้งนี้ บันทึกข้อความระบุว่า “ ทางเราต้องปล่อยงบโดยทันทีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับ [เจ้าหน้าที่อาวุโสของการบินไทย] [a senior officer of Thai]”
63. ในวันถัดมา มีบันทึกข้อความเพิ่มเติมส่งถึงพนักงานอาวุโสของบริษัท RR คนเดิม (2 ท่าน) กล่าวว่า สัญญาการซื้อขายกับนายหน้า 3 เป็นแบบลำต่อลำ จึงจำเป็นต้องทำเรื่องขออนุมัติการซื้อขายเพิ่มเติมเป็นยอดเงิน 2.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเครื่องบินที่ทางการบินไทยต้องการซื้อเพิ่มเติม
64. ยอดชำระสุดท้ายเป็นจำนวนเงิน 4.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และ 2.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้เสร็จสิ้นในเดือน มีนาคม 2535
65. ในช่วงเดือนเมษายน 2535 บริษัท RR อนุมัติการชำระเงินเพิ่ม 1 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับนายหน้า 3 ซึ่งส่งผลให้นายหน้า 3 (Intermediary 3)สามารถจ่ายเงินให้กับ “disappointed recipients” ซึ่งได้รับเงินไปแล้ว แต่คาดหวังส่วนแบ่งเปอร์เซนต์ค่าคอมมิสชั่นจากนายหน้า 3
66. วันที่ 15 พฤษภาคม 2535 มีการแก้ไขสัญญาอย่างเป็นทางการระหว่างบริษัท RR และไทย ซึ่งว่าด้วยเรื่องจำนวนการสั่งซื้อเครื่องบินและอะไหล่ต่างๆ
67. วันที่ 18 มิถุนายน 2535 จดหมายถึงนายหน้า 3 (Intermediary 3)ซึ่งส่งไปยังนายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary)ด้วย ระบุว่าได้ชำระ ค่าความสำเร็จ “success fee”เรียบร้อยแล้ว
68. อย่างไรก็ดี ในระหว่างวันที่ 22 - 26 มิถุนายน 2535 ทางนายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary )ได้ร้องเรียนว่า ลูกค้า(ของนายหน้า) รู้สึกว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับอะไหล่ สำรองที่ขายให้กับไทยคู่มากับอะไหล่ที่ติดตั้งมากับเครื่องบิน
“[นายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary)] มีความกังวลเมื่อ เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทัพอากาศไทย [a senior military officer in the Royal Thai AirForce] ถูกบีบให้ลาออก และบริษัท RR มีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการสนับสนุนในประเทศไทยต่อไป"
69. ทาง RR ได้ออกมาตอบกลับเรื่องนี้ว่า ทางบริษัทจะจัดทำหนังสือขยายความสัญญา เพิ่มเติมไป ยังนายหน้า 3 (Intermediary 3)โดยมีเนื้อความว่า:
"[...] สืบเนื่องจากการบวกเพิ่มการขายเครื่องบินโบอิ้ง 777เป็น 8ลำ และอะไหล่สำรองของบริษัท Rolls-Royce Trent ที่ต้องให้กับไทย ทางบริษัทพร้อมจ่ายค่าคอมมิสชั่นเพิ่มเติม"
70. มีจดหมายส่งถึง นายหน้า ระบุการจ่ายเงิน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และค่าล่วงหน้า 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ สำหรับจากจัดซื้อในล็อตที่สอง ของการบินไทย สำหรับโบอิ้ง 777 หลังจากบรรลุข้อตกลงดังกล่าวเเล้ว ทางพนักงานอาวุโสของบริษัท RR ได้สั่งจ่ายเงินจำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่ นายหน้า 3 (Intermediary 3)แล้ว
นี่เป็นเพียงแค่การจัดซื้อครั้งแรก ระหว่างปี 2534-2535 ที่บริษัทโรลส์-รอยส์ ได้จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐ และพนักงานการบินไทย ตอนต่อไป คือการติดสินบนครั้งที่ 2 และ 3 ซึ่งพบหลักฐานว่ามีรัฐมนตรีในยุคนั้นมีเอี่ยวด้วย
อ่านประกอบ
ประมวลชัดๆ 'ข้อมูลจัดซื้อ-เส้นทางสินบน' คดีโรลส์รอยซ์-บินไทย 1.2 พันล.
จ่ายก้อน3 ช่วง นัดรมต.ยุคแม้วกินข้าว!สตง.แจ้งSFOขอผลสอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์'
การบินไทย แจงเร่งตรวจสอบข้อมูล หลัง 'โรลส์รอยซ์'ยอมรับจ่ายสินบนในไทย
ชวน "ดร.เมธี- ต่อตระกูล" คุยกรณีโรลส์-รอยซ์ ติดสินบนซื้อเครื่องยนต์
ขอบคุณภาพประกอบจาก BBC