- Home
- Investigative
- การทำผิดของเอกชน
- จำกัดประเภทเครื่องยนต์!เปิดมติ ครม. ยุค รสช.ไฟเขียวซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์
จำกัดประเภทเครื่องยนต์!เปิดมติ ครม. ยุค รสช.ไฟเขียวซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์
เปิดมติ ครม. ยุค รสช. สั่งเลิกจัดซื้อเครื่องบินขนาด 300 ที่นั่ง เอาแค่ 380 ที่นั่ง 8 ลำ อย่างเดียว ชี้ทำกำไรได้มากกว่า-รักษาส่วนแบ่งตลาดได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม สั่งจำกัดประเภทเครื่องยนต์ให้น้อยสุด เพื่อง่ายต่อการซ่อม สอดคล้องสำนวนสอบ SFO-บันทึกบอร์ดการบินไทยช่วงสินบนโรลส์-รอยซ์
หลายคนอาจทราบไปแล้วว่า รัฐบาลที่อนุมัติการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง รวม 8 ลำ ในช่วงเดือน ก.พ. 2535 คือรัฐบาลภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยผู้ชงให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติคือ นายนุกูล ประจวบเหมาะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม ซึ่งเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีสมัย พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม อนุมัติตามแผนการลงทุนของบริษัท การบินไทยฯ เมื่อกลางปี 2533
โดยในช่วงเวลาดังกล่าว สอดคล้องกับบันทึกคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัท การบินไทย จำกัด (ขณะนั้นยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ที่มีมติให้จัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง คือ B777-200 จำนวน 6 ลำ และจัดซื้อเพิ่มอีก 2 ลำ พร้อมจัดซื้อเครื่องยนต์จาก โรลซ์-รอยซ์ โดยอ้างอิงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อช่วงเดือน ก.พ. 2535 ดังกล่าว
ซึ่งตรงกันกับในสำนวนการสอบสวนของสำนักงานปราบปรามการทุจริตของสหราชอาณาจักร หรือ SFO ที่ระบุว่า บริษัท โรลซ์-รอยซ์ ยอมรับว่า มีการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย จำกัด ก้อนแรก ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2534-30 มิ.ย. 2535
(อ่านประกอบ : เปิดบันทึกลับการบินไทยซื้อโรลส์รอยส์ช่วงสินบนก้อนแรก-ยุค'บิ๊ก'ทอ.คุม, บอร์ดดูละเอียดแล้ว! ‘บินไทย’ชง รมว. คมนาคมยุค‘รสช.’ ซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์)
อย่างไรก็ดีมติคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว ที่อนุมัติให้มีการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง รวม 8 ลำ ของบริษัท การบินไทยฯนั้น มีการเสนอความเห็นให้ดำเนินการจัดซื้อเฉพาะเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่งเป็นสำคัญ โดยให้ทบทวนการซื้อเครื่องบินขนาด 300 ที่นั่ง ที่บริษัท การบินไทยฯ เสนอแผนไปก่อนหน้านี้
เหตุผลอะไร ? สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สรุปสาระสำคัญของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2535 มานำเสนอ ดังนี้
มติคณะรัฐมนตรีวันดังกล่าว เห็นชอบในหลักการและอนุมัติให้ดำเนินการตามแผนวิสาหกิจ พ.ศ.2535-2541 และแผนการลงทุนเพิ่มเติมของบริษัท การบินไทยฯ ยกเว้นการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ รวมถึงอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อสังเกต ดังนี้
1.ปัจจุบันสนามบินในภูมิภาคซึ่งเป็นตลาดสำคัญ มีความคับคั่งของการจราจรสูงมาก การเพิ่มจำนวนเที่ยวบินนั้นทำได้ยาก ดังนั้น เครื่องบินที่มีขนาดที่นั่งจุกว่า ย่อมจะมีความได้เปรียบมากกว่า
2.การลงทุนเฉลี่ยต่อที่นั่งของเครื่องบินที่มีความจุ 380 ที่นั่ง ต่ำกว่าเครื่องบินที่มีความจุ 300 ที่นั่งมาก ดังนั้น จุดคุ้มทุนของเครื่องบินขนาด 300 ที่นั่ง และ 380 ที่นั่ง ต่างกันเพียงเล็กน้อย ประมาณ 5-10 ที่นั่งเท่านั้น การใช้เครื่องบินที่มีความจุสูงกว่า จึงมีโอกาสที่จะทำกำไรได้มากกว่า โดยมีความเสี่ยงไม่มาก
3.เครื่องบินที่มีความจุดขนาด 380 ที่นั่ง มีโอกาสจะดัดแปลงห้องโดยสารเป็น 3 ชั้น (ชั้นหนึ่ง-ชั้นธุรกิจ-ชั้นนักท่องเที่ยว) โดยยังมีความจุผู้โดยสารเกิน 300 ที่นั่ง จึงมีความยืดหยุ่นในการปรับปรุงบริการสูงกว่า
4.หากปริมาณการจราจรทางอากาศในภูมิภาคเพิ่ม เครื่องบินที่มีขนาดความจุสูงกว่าก็จะสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ได้ โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ให้กระทรวงคมนาคม และบริษัท การบินไทยฯ รับข้อสังเกตไปดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
หนึ่ง เนื่องจากระบบบริหารและการจัดการของบริษัท การบินไทยฯ ยังขาดประสิทธิภาพ จึงมอบหมายให้คณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ของบริษัท การบินไทยฯ รับไปดำเนินการพิจารณาศึกษารายละเอียด เพื่อว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาของเอกชน มาดำเนินการศึกษา เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง และระบบบริหารงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบการบริหาร และการจัดการให้มีประสิทธิภาพเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น ให้สามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต สำหรับทางด้านบุคลากรควรเน้นที่คุณภาพ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ ทั้งนี้ ควรคัดเลือกผู้บริหารมืออาชีพธุรกิจการบินได้เข้ามาร่วมงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสายการบินอื่นได้
สอง ทบทวนแผนการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ และการใช้ การจัดการเกี่ยวกับเครื่องบินที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้เหลือประเภทเครื่องบินน้อยที่สุดตามความจำเป็นและเหมาะสม เครื่องบินประเภทที่มีอยู่แล้ว หากมีค่าใช้จ่ายในการบินสูง ไม่คุ้มกับรายได้ ควรดำเนินการจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อให้เหลือเฉพาะเครื่องบินที่เหมาะสมจริง ๆ เท่านั้น
สาม ในการจัดซื้อเครื่องบิน ควรกำหนดให้มีมาตรฐานของเครื่องยนต์ และจำกัดประเภทของเครื่องยนต์ให้แตกต่างกันน้อยที่สุด เพื่อประหยัดค่าซ่อมบำรุงรักษา และจำนวนพนักงานด้วย (ดูเอกสารประกอบ)
อย่างไรก็ดีตามสำนวนการสอบสวนของ SFO ไม่ได้มีการระบุถึงรายชื่อผู้รับสินบนแต่อย่างใด
อ่านประกอบ :
SFOหวั่นไทยใช้อำนาจภายในแทรกแซงคดีโรลส์รอยซ์-ป.ป.ช.ตั้งอนุฯได้แค่ยุคแม้ว
บันทึกลับบินไทยชิ้น2 อนุมัติเปลี่ยนรุ่นโรลส์รอยส์ T-875 ช่วงรอยต่อสินบนก้อน1-2
บอร์ดดูละเอียดแล้ว! ‘บินไทย’ชง รมว. คมนาคมยุค‘รสช.’ ซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์
เปิดบันทึกลับการบินไทยซื้อโรลส์รอยส์ช่วงสินบนก้อนแรก-ยุค'บิ๊ก'ทอ.คุม
เทียบชัดๆ บันทึกการบินไทย-ผลสอบSFO จุดเริ่มต้นสินบนโรลส์รอยส์ก้อนแรก?
เจอแล้ว!ปตท.จัดซื้อ ‘โรลส์รอยซ์’ 7 สัญญารวด 254.5 ล. ช่วง 3 ปี- บ.คนไทยเอี่ยว
ถก ยธ.สหรัฐฯสัปดาห์หน้า-ป.ป.ช.ตั้งคณะทำงานทางการสอบสินบนโรลส์-รอยซ์
สั่งคมนาคมเร่งสอบสินบนโรลส์-รอยซ์! ‘บิ๊กตู่’ย้อนหาว่า รบ.โกง ไหนคดีในศาล
ชี้อำนาจ ครม. อนุมัติ ! 'กนก'อดีตดีดีบินไทยพร้อมให้สอบหาอีแอบสินบนโรลส์รอยซ์
ประมวลชัดๆ 'ข้อมูลจัดซื้อ-เส้นทางสินบน' คดีโรลส์รอยซ์-บินไทย 1.2 พันล.
จ่ายก้อน3 ช่วง นัดรมต.ยุคแม้วกินข้าว!สตง.แจ้งSFOขอผลสอบคดีสินบนโรลส์รอยซ์'
การบินไทย แจงเร่งตรวจสอบข้อมูล หลัง 'โรลส์รอยซ์'ยอมรับจ่ายสินบนในไทย
ชวน "ดร.เมธี- ต่อตระกูล" คุยกรณีโรลส์-รอยซ์ ติดสินบนซื้อเครื่องยนต์
ชวลิตนั่งปธ.!ปตท.ตั้งกก.สอบสินบน'โรลส์รอยซ์'-สรุปผลเบื้องต้นสัปดาห์หน้า
สอบทุกรบ.!สตง.ลุยตรวจสินบนโรลส์รอยซ์'ปตท.'แล้ว-คดีบินไทยรอ'ชื่อ'ผู้เกี่ยวข้อง
แกะรอยจากเอกสารคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ อ้าง"บิ๊ก"กองทัพอากาศพัวพัน(ตอนที่ 1)
แกะรอยจากเอกสาร โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 2 ช่วงปี 35-40 "จัดการขั้นตอนทางการเมือง"