รัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ เสนอจำกัดสิทธิเกษตรกร ผู้ค้า ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ มองไทยจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเกษตรกร ผู้ค้า จำกัดการใช้สารเคมีมีพิษ เผยที่ผ่านมาละเลยมาก จนกลายเป็นแผ่นดินอาบยา ย้ำแผนเกษตรยั่งยืน ขอเวลา5 ปี ทำ 5 ล้านไร่
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2561 ที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จัดเสวนา หัวข้อ “คอร์รัปชันในภาคเกษตร: ภาค 1 ... พาราควอต?”
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สิทธิของเรื่องนี้เป็นสิทธิของประชาชนที่ต้องการการสุขภาพที่ดี มีสิทธิที่เรียกร้องที่จะกินของที่ดี อีกด้านเป็นสิทธิของผู้ผลิต คนค้าขาย ต้องการกำไร เราให้สิทธิเขาในเรียกร้องในการรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ขณะเดียวกันอีกฝั่งก็มีสิทธิในการทดลองหาความจริง เรื่องพาราควอตแม้ว่าจะเป็นเคสเดียวเล็กๆ แต่เราอยากให้หยุดทั้งระบบ ซึ่งข้อมูลจากที่ฟังมาในระยะหนึ่ง ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรีสั่งการให้หยุดให้ได้ ถ้าหยุดไม่ได้ ทำอย่างไรที่จะลดให้มากที่สุด นอกเหนือจากนั้นจะทำอย่างไรให้กระทรวงเกษตรจะไม่ถูกฟ้อง เพราะคนค้า คนใช้จะใช้อำนาจศาลในการคุ้มครองได้ เป็นสิทธิของเขา ดังนั้นสิ่งที่ทำในวันนี้คือพยายามหาข้อมูลว่ามีงานวิจัยมารองรับ เมื่อถูกฟ้องแล้วจะได้มีข้อมูล
“มีการประชุมผู้บริหารในกระทรวงเกษตรฯ ในการป้องกันตัวเองจึงได้ขอข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขมาพิจารณา เรื่องนี้เป็นขั้นตอน โดยสรุป ปัจจุบันการพิจารณายังอยุ่ในคณะกรรมการชุดนั้น หลังจากนั้นจะยุติที่คณะกรรมการชุดสุดท้ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งหาประกาศว่าพาราควอตอันตรายมาก แม้อนุญาตไปแล้วต้องยกเลิก ทางที่ดีที่สุด ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม ถ้าเราไม่อยากให้แผ่นดินอาบไปด้วยยาพิษ”
ดร.วิวัฒน์ กล่าวอีกว่า เรามีนโนบายชัดเจนว่าต้องสร้างเกษตรยั่งยืน ให้ได้หนึ่งล้านไร่ เป็นมาตรการระยะยาว ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี ต้องมีเกษตรยั่งยืน 6 แสนไร่ ดังนั้นการไม่ใช่สารเคมีเกษตรกรไม่เดือดร้อนเมื่อให้ความรู้ วันนี้ไทยให้เสรีมากเกินไปหรือเปล่าในเรื่องการใช้สารเคมี ทั้งที่ความเป็นจริงผู้ใช้ต้องมีความรู้เรื่องนั้นอย่างดี มีใบอนุญาตในการใช้ เหมือนอย่างเกษตรกรในออสเตรเลีย ที่ต้องรับการเรียนรู้อันตรายที่จะเกิดขึ้น การป้องกันอันตราย ดังนั้นความรู้จึงเป็นเรื่องใหญ่ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืน ต้องสร้างความรู้ในเรื่องนี้ บางครั้งเราต้องถูกจำกัดสิทธิในการใช้ของที่เป็นพิษ สารที่จะเกิดอันตราย ผู้ใช้ ผู้ผลิต ผู้ค้า ทุกคนต้องถูกจำกัดสิทธิในการใช้สารที่ทำให้เกิดอันตราย
“การพัฒนาประเทศไทย ถ้าเกษตรกรใช้สารพิษโดยไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ปล่อยให้ขายอย่างมีเสรี ผลจะตกถึงลูกอย่างงานวิจัยของ ดร.พรพิมล กองทิพย์ ถ้าเราขับเคลื่อนเรื่องนี้คู่กันไป จะรู้เองว่าตอนนี้เราควรหรือไม่ควรใช้สารเคมี บ้านเรา ปล่อยปละละเลยเรื่องนี้มานานเกินไป ปล่อยให้ใช้อะไรก็ได้ที่เป็นพิษ ซึ่งผลก็ส่งมายังลูกลหลานของเรา” ดร.วิวัฒน์ กล่าว และว่า ทางด้านนักธุรกิจไม่ได้อยากค้าขายสารพิษ สิ่งที่เขาต้องการคือกำไร เขาไม่ได้พอใจกับสารพิษ แต่ถ้าทำให้มีกำไร เขาก็พอใจ ดังนั้นถ้ามีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เป็นมิตร เขาก็พร้อมที่ขาย ถ้าทำได้กำไรได้ วันนี้ไม่ใช่แค่แบนอย่างเดียว แต่มีเรื่องให้ช่วยกันทำอีกเยอะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยมหิดล พบพาราควอตตกค้างในขี้เทาทารกสูงเกินครึ่ง ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก
มติที่ประชุม สธ. ยืนยันแบนการใช้พาราควอตภายในปี 62
ไบโอไทยฉะ สมาพันธ์เกษตรฯ องค์กรบังหน้าบรรษัทขายยาฆ่าหญ้า หลังค้าน สธ.แบนพาราควอต
พบเกษตรกรหนองบัวลำภูใช้พาราควอตเข้มข้น-คาดนำเข้ากว่า 8 แสนลิตร/ปี พ่อเมืองสั่งเร่งหาสาเหตุ
เปิดตัวเลข 3 ปี ย้อนหลัง นำเข้าสารเคมีอันตราย พบ ‘ไกลโฟเซต’ สูงสุด มูลค่ารวม 1 หมื่นล.
องค์กรผู้บริโภคจี้ รมว.เกษตรฯ เพิกถอน ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’ หลาย จว.เคลื่อนไหวหนุนแบน
กรมวิชาการเกษตรขอหารือ คกก.วัตถุอันตราย ก่อนเลิก ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’
เอ็นจีโอยกงานวิจัยโต้กลุ่มค้านยกเลิก ‘พาราควอต’ ยันมีพิษเฉียบพลัน ไม่มียาถอน
นักวิชาการชี้ “พาราควอต” มีอันตรายขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ยันไม่ซึมผ่านผิวหนัง ยกเว้นมีแผล
ฉบับเต็ม! เอ็นจีโอเเถลงโต้ ยัน 'พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส' อันตราย จี้เพิกถอนพ้นทะเบียน
ขีดเส้น 1 เดือน กษ.เพิกถอนทะเบียน พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส
สภาเกษตรกร จี้กษ.เร่งหาสารทดแทนพาราควอตโดยเร็ว
ผอ.มูลนิธิชีววิถีชี้แบนสารพาราควอตเจตนาดีต่อสุขภาพเกษตรกรไทย
กรมวิชาการเกษตรเปิดตัวเลขไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้า-แมลงกว่า 9 หมื่นตัน/ปี
ผอ.มูลนิธิขวัญข้าว ชี้มีเสียงค้านยกเลิก 'พาราควอต' เหตุนายทุนเสียประโยชน์
กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวเลขไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้า-แมลง กว่า 9 หมื่นตัน/ปี
ศรีลังกา เลิกนำเข้ายาฆ่าหญ้า กลุ่มไกลโฟเสท พบสาเหตุตายไตเรื้อรังกว่า 2 หมื่น