คุยกับบรรณาธิการ
-
อย่าสวมหมวกหลายใบ
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา 23:48 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรวันก่อนผมนั่งดูทีวี เห็นสกู๊ปข่าวตำรวจจับกุมผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่แถวตลาดไท จ.ปทุมธานี แล้วรู้สึกตื่นเต้นไปกับภาพที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ยินจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจแบบละเอียดยิบทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มวางแผน ขับรถไป วางกำลังกันอย่างไร เรียกตรวจกันแบบไหน กระทั่งจับผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งกดลงกับพื้นถนน แล้วเอาปืนจ่อหัว!
-
จากคลิปเสียงอ้างดูหมิ่นศาสนา ถึงข่าวปริศนา "อาร์เคเค" บริจาคซื้อเรือช่วยน้ำท่วม
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา 23:52 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรช่วง 1-2 สัปดาห์มานี้มีข่าวแปลกๆ เกิดขึ้นหลายข่าวเกี่ยวกับชายแดนใต้ แต่ที่ผมเห็นว่าน่าสนใจมากเป็นพิเศษมีอยู่ 2 ข่าว คือ ข่าว "อาร์เคเค" ระดมทุนบริจาคซื้อเรือช่วยผู้ประสบอุทกภัยในภาคกลางและกรุงเทพฯ กับข่าวการเผยแพร่คลิปเสียงที่อ้างว่าดูหมิ่นศาสนาอิสลาม
-
น้ำท่วม-ไฟใต้...หนึ่งประเทศ ไร้ระบบ
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 08 พฤศจิกายน 2554 เวลา 23:54 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรผมต้องขออภัยที่หายตัวไปจากคอลัมน์นี้ 1 สัปดาห์เนื่องจากติดปัญหาน้ำท่วม ผมต้องอพยพคุณพ่อคุณแม่ซึ่งมีบ้านอยู่ในพื้นที่รับน้ำเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร (ตอนหลังกลายเป็นพื้นที่รับม็อบด้วย) หลังจากมวลน้ำบุกเข้าประชิดกำแพงบ้าน และรุกคืบเข้าไปถึงตัวบ้านจน "เอาไม่อยู่" ไม่อาจอาศัยอยู่ต่อไปได้...ไม่ใช่เพราะน้ำสูง แต่เป็นเพราะน้ำเน่า นานกว่า 1 เดือนเต็มแล้วนับจากวันที่รัฐบาลเริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลื ...
-
7 ปีตากใบ 6 ปี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และอีกครั้งกับ "ดับเมืองยะลา"
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2554 เวลา 23:57 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรเห็นข่าวระเบิดเกือบ 20 จุดในเขตอำเภอเมือง จ.ยะลา เมื่อค่ำวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา (ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเขียนคอลัมน์นี้) ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ “ดับเมืองยะลา” เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2548 หรือกว่า 6 ปีก่อนขึ้นมาถนัดใจ แม้ความรุนแรงและจำนวนเหตุร้ายจะไม่เท่ากัน แต่ถ้าถามถึงอารมณ์ความรู้สึกแล้วต้องบอกว่า...ใช่เลย!
-
ภาพสะท้อน "องค์กรบริหารใหม่" ดับไฟใต้
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2554 เวลา 23:56 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรในขณะที่มวลน้ำ (ศัพท์แสงที่กำลังนิยมช่วงอุทกภัย) จำนวนมหาศาลกำลังทะลักล้นเข้าสู่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ รวมทั้งภาคเอกชนกำลังทุ่มความสนใจทั้งหมดไปที่การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แต่ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ (ติดแม่น้ำเจ้าพระยา) ยังคงมีการประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบบูรณาการตามนโยบายของรัฐบาลตามกำหนดการเดิม ไม่ยอมเลื่อนเหมือนงานอื่นๆ อีกหลายงาน
-
การเมืองเรื่องน้ำ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2554 เวลา 23:51 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรปีนี้น้ำท่วมหนักจริงๆ ขณะที่นั่งเขียนคอลัมน์อยู่นี้ หลายจังหวัดในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างยังคงวิกฤติ กรุงเทพฯยังลูกผีลูกคน ส่วนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังเบาใจไม่ได้ เพราะฝนฟ้ามักจะมาช่วง 2 เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นศักราช
-
ตลกร้าย...รัฐตั้ง ศบ.กช.แก้เอกภาพแทนรุกทางการเมืองหลังบอมบ์โก-ลก
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 23:22 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรเหตุระเบิดที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา แม้จะสร้างความเสียหายอย่างยับเยิน ทั้งชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย แต่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ก็มองเห็นช่องทางของการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยเหมือนกัน
-
รัฐบาลจะดับไฟใต้ด้วยการตั้ง พล.อ.พัลลภ คุม กอ.รมน.หรือ?
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2554 เวลา 09:29 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ารัฐบาลจะกล้าดัน พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตนายทหาร จปร.7 ในฐานะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้าดำรงตำแหน่งหรือใช้อำนาจแทนนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ ผอ.รมน.จริงๆ
-
รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับความ(ไม่)ใส่ใจปัญหาไฟใต้ และปมโยกย้ายข้าราชการ
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 13 กันยายน 2554 เวลา 08:05 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรแม้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้รับการบรรจุไว้ในหมวดที่ 1 ว่าด้วยนโยบายเร่งด่วน ตามเอกสารการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ดูเหมือนรัฐบาลจะมี “แอคชั่น” กับเรื่องนี้น้อยที่สุดหากเทียบกับนโยบายเร่งด่วนด้านอื่นๆ
-
การตายของ"เจะรอฮานี ยูโซ๊ะ" กับวงจร"อุ้ม-ฆ่า"ที่ชายแดนใต้
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 05 กันยายน 2554 เวลา 09:39 น.เขียนโดยปกรณ์ พึ่งเนตรการดักสังหาร เจะรอฮานี ยูโซ๊ะ กลางถนนกลางวันแสกๆ ของวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมาในท้องที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส แทบไม่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อแขนงใด แม้แต่ตำรวจ ทหารในพื้นที่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจว่าเธอคือใคร ทั้งๆ ที่คดีนี้มีความสำคัญมาก สะท้อนถึงวงจร “อุ้ม-ฆ่า” และละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของฝ่ายใดก็ตาม