ไทม์เผยปี2016 ฉากเกี่ยวกับบุหรี่ในหนังเพิ่ม72% เกือบครึ่งอยู่ในเรตเยาวชน
ไทม์เผยผลการศึกษาด้านป้องกันยาสูบ พบ 2016 ภาพยนตร์มีฉากที่เกี่ยวข้องบุหรี่เพิ่ม 72% เกือบครึ่งเป็นหนังเรตเยาวชน ผู้เชี่ยวชาญห่วงพฤติกรรมเลียนแบบ
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 60 เว็บไซต์ไทม์ (TIME) รายงานผลการศึกษาของสถาบันป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐฯ( Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ในประเด็นเรื่องการฉายภาพการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในภาพยนตร์ โดยพบว่าตลอดระยะเวลา 5 ปี (2010-2016) จำนวนของฉากที่มีการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์เพิ่มขึ้นถึง 72%
โดยทาง CDC ได้นิยามฉากที่มีผลิตภัณฑ์ยาสูบเอาไว้ว่า เป็นฉากที่ประกอบด้วย การสูบบุหรี่ หรือ ซิก้า, ไปป์, บารากู่, ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่รวมไปถึงบุหรี่ไฟฟ้า
CDC เปิดเผยว่า การศึกษาครั้งนี้ใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน โปรเจ็ค Thumbs Up! Thumbs Down! เป็นโปรเจ็คโดย องค์กรประชาสังคม Breathe California ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยจะมีการนำเอาเนื้อหาของภาพยนตร์ที่มีฉากที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบมาวิเคราะห์และเผยแพร่ผ่านมาเว็บไซต์ SceneSmoking.org พร้อมทั้งให้เรตโดยใช้รูปปอดเพื่อบ่งบอกว่า ภาพยนตร์เรื่องไหนมีฉากที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ในระดับมากถึงน้อย หรือไม่มีเลย โดยจะกำหนดเป็นสี เช่นสีขมพูหมายถึง ปลอดฉากบุหรี่ หรือดำแสดงว่ามีฉากบุหรี่ประกอบอยู่เยอะ
(ตัวอย่างการให้เรตติ้งภาพยนตร์ของเว็บไซต์http://scenesmoking.org/)
ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง 10 Cloverfield Lane ซึ่งได้เรตจำกัดอายุต่ำกว่า 13 ปีห้ามดู (PG-13) มีฉากที่ประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ยาสูบอยู่ 8,333,295 ครั้ง ขณะที่ภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง La La Land ซึ่งได้เรตเดียวกัน มีฉากที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่มากถึง 34,936,834 ครั้ง
(ตารางวิเคราะห์ฉากที่ปรากฏผลิตภัณฑ์ยาสูบของ La La Landในเว็บไซต์http://scenesmoking.org/)
อย่างไรก็ดี จำนวนของฉากที่มีประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ยาสูบในภาพยนตร์เรต R นั้นเพิ่มขึ้นมากถึง 90% ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ในเรต PG- 13 กลับมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตลาดช่วงปี 2010-2016 คือเพิ่มขึ้นราว 43% โดยในปี 2016 ภาพยนตร์เรต R มีฉากที่เกี่ยวข้องกับยาสูบอยู่ที่ 67% และอีก 26% คือภาพยนตร์ประเภทเยาวชน
การเพิ่มขึ้นของจำนวนฉากดังกล่าวสร้างความกังวลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างมาก เนื่องจากภาพยนตร์เป็นสื่อที่เข้าถึงเยาวชนได้ง่ายซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ง่าย อันเกิดจากภาพจำและความชื่นชมหลังจากชมภาพยนตร์
จากผลการศึกษาของ CDC พบว่า เยาวชนที่ดูภาพยนตร์ซึ่งมีฉากที่เกี่ยวข้องกับยาสูบมากกว่า 2-3 ครั้ง มีโอกาสที่จะเริ่มทดลองสูบบุหรี่มากกว่าคนที่ไม่ดู
อย่างไรก็ตามแม้ว่า จำนวนฉากที่มียาสูบประกอบอยู่นั้นจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ผลการสำรวจจำนวนนักสูบที่เป็นเยาวชนในปี 2016 ของ CDC กลับพบว่า มีจำนวนลดลงอยู่ที่ 3.9 ล้านคน เทียบกับปี 2015 ที่มีอัตรานักสูบที่เป็นเยาวชนที่ 4.7 ล้านคน
ทั้งนี้ ทาง CDC เสนอว่า ให้สมาคมภาพยนตร์ในอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่คัดกรองภาพยนตร์เพื่อกำหนดเรต ว่าควรปรับให้ภาพยนตร์ซึ่งมีฉากที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นเรต R ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาพจำของเยาวชนที่มีต่อบุหรี่ โดยทางด้านสมาคมภาพยนตร์ได้ออกมา ปัจจุบันยังไม่มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากยังต้องรอดูข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนก่อนว่าภาพยนตร์ที่มีฉากดังกล่าวส่งผลจริง
ขณะที่ประเทศไทย เพิ่งมีการประกาศใช้พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ไป เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 60 โดยหนึ่งในนั้น มีมาตราที่เกี่ยวข้องการกับโฆษณา หรือการทำให้เรื่องของ CSR
อ่านเพิ่มเติม
ประกาศแล้ว! กม.ควบคุมยาสูบ ห้ามแบ่งขายบุหรี่เป็นมวน ฝ่าฝืนมีโทษ
สนช.ผ่านฉลุยร่างพ.ร.บ.ควบคุมยาสูบฯ-มุ่งป้องกันนักสูบหน้าใหม่
นักวิชาการเผยคำเตือนบนซองบุหรี่ได้ผล เรียกร้องสนช.คงเนื้อหาร่างพ.ร.บ.คุมยาสูบ
โพลเผยคนส่วนใหญ่เชื่อพ.ร.บ.ยาสูบใหม่ ลดนักสูบกลุ่มเด็ก-เยาวชน
องค์การอนามัยโลก ชี้ เพิ่มภาษีบุหรี่ ช่วยลดอัตรานักสูบลงได้
นักวิชาการเผยคนไทยเสี่ยงโรคร้ายจากควันบุหรี่มือสอง 12ล้านคน
ผู้แทน WHO ชี้บุหรี่คร่าชีวิตคนทั่วโลก 2 หมื่นคน/วัน เทียบเท่ามีเครื่องบินตกทุกนาที
องค์การอนามัยโลก เรียกร้องทุกประเทศขึ้นภาษีบุหรี่
ภาพประกอบข่าวจากhttp://www.smokingxpert.com/2013/08/ashley-greene-is-just-smoking-hot.html