การสร้างสำนึกร่วมของชุมชน
-
ปัญหาเชิงนโยบาย “ภัยเงียบ” กระทบความมั่นคงทางอาหาร
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน 2556 เวลา 16:00 น.เขียนโดยisranewsสังคมไทยกำลังเผชิญ “ภัยเงียบ” ของความไม่มั่นคงทางอาหารที่คืบคลานเข้ามาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ความเปราะบางตรงนี้มิใช่แค่การก้าวเข้าสู่กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่มีการเคลื่อนย้ายการค้าการลงทุนอย่างเสรีเท่านั้น แต่ทว่า การดำเนินนโยบายของรัฐเอง ก็สร้างผลกระทบร้ายแรงในระบบเกษตรกรรมและอาหารด้วยเช่นกัน รวมไปถึงการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ให้น้ำหนักกับการพัฒนาอุตสาหกรรม เหนือภาคเกษตรกรรม
-
จัดเต็มตามแบบแผน “เครื่องรดน้ำขอพร 4 ภาค”
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 14 เมษายน 2556 เวลา 19:48 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุล -
เปิดใจจุฬาฯ เมื่อ “อยากพัฒนาที่ดิน” แต่ “ผู้เช่าอยากอยู่ตลอดกาล”
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 01 เมษายน 2556 เวลา 09:03 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุลเรื่องราวของ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในระยะไม่กี่ปีมานี้ เกี่ยวข้องกับเรื่อง การจัดการทรัพย์สิน นั่นคือ “ที่ดิน” เสียเป็นส่วนใหญ่ อาทิ โครงการตลาดสามย่านใหม่ โครงการจามจุรีแสควร์ โครงการสยามแสควร์วัน มาจนถึงประเด็นร้อนล่าสุดในรอบปีนี้ การขึ้นค่าเช่าสนามกีฬาแห่งชาติจากกรมพลศึกษา การขอคืนที่ดินจากโรงเรียนปทุมวัน และการขอคืนที่ดินจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเท ...
-
รู้จัก 'หนังเคล้าน้อย' ศิลปินแห่งชาติ ปั้นเด็กน้อยให้เป็นนายหนังตะลุง
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 11 มีนาคม 2556 เวลา 09:03 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุล"วันนี้ผมมีความหวัง เมื่อเห็นว่าอย่างน้อยเด็กเล็ก ๆ อย่างหลานชายผม สืบทอดหนังตะลุงต่อไปได้อีกคนแล้ว" "บวร" หรือ บ้าน วัด โรงเรียน นับกันว่าเป็นระบบความสัมพันธ์อันยอดเยี่ยมของความเป็นชุมชนมาช้านาน แต่ในวันนี้ ที่หมู่บ้านปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ บนพื้นที่บ้านเดิมของสองสุดยอดศิลปินพื้นบ้านแห่งปักษ์ใต้คือหนังตะลุงกับมโนราห์ ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น "ศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงและนโนรา ...
-
ลัดเลาะสวนยาง เยือนค่ายมวย "ครูหีด" ครูสอนดี จ.กระบี่ (1)
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 10 มีนาคม 2556 เวลา 09:40 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุล7-8 มีนาคม กรุงเทพฯ ฝนตกทำอากาศหนาวผิดฤดู ขณะที่ภาคใต้ก็ยังมีฝนเป็นปกติ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) นำสื่อมวลชนลงสู่จังหวัดกระบี่ ชายฝั่งอันดามันเยี่ยมชมพื้นที่ศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตของครูสอนดี จ.กระบี่ สองท่าน คือ "ครูหีด เอียดภิรมย์ ครูมวยไทย" และ "ครูเคล้าน้อย โรจนเมธากุล ครูหนังตะลุงและมโนราห์" __________________________________
-
'เขาหลวง' เดินเท้าใกล้ถึงเมืองหลวง ร้องพบนายกฯ จริงใจแก้ยาเสพติด
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14:22 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุลล่วงเข้าสู่วันที่ 19 แล้ว สำหรับการเดินทางของคณะเดินเท้า “จากเขาหลวงสู่เมืองหลวง” รวมพลังชุมชนขจัดสิ้นยาเสพติด” ที่นำโดยผู้ใหญ่เฉลิม กาญจนพิทักษ์ และชาวบ้านอีกกว่า 40 ชีวิต ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เหลือระยะทางอีกเพียงไม่ถึง 60 กิโลเมตรจากกว่า 800 กิโลเมตร ก็จะถึงทำเนียบรัฐบาล อันเป็นจุดหมายของการเดินทางในครั้งนี้
-
รื้อ...อาคารศาลฎีกา สองมาตรฐานทางกฎหมาย โดยองค์กรที่ถือกฎหมาย
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 20 มกราคม 2556 เวลา 09:18 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุลกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา ยังคงเป็นข้อขัดแย้งระหว่าง 3 ฝ่ายในสังคมขณะนี้ ซึ่งได้แก่ 1.ศาลฎีกา ผู้ดำเนินโครงการรื้อถอน 2.กรมศิลปากร ผู้แจ้งความดำเนินคดีต่อศาลฎีกาและบริษัทผู้รับเหมา ฐานละเมิด พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535) และ 3.เครือข่ายประชาสังคม ที่ไม่เห็นด้วยกับการรื้อถอนอาคารศาลฎีกา
-
ไปหา "อุ๊ยคำ" ที่จรัล มิวเซียม
เขียนวันที่วันศุกร์ ที่ 02 พฤศจิกายน 2555 เวลา 15:41 น.เขียนโดยisranewsอุ๊ยคำ เป็นหญิงแกร่งในความรู้สึกของฉัน หญิงชรามีความเข้มแข็ง เป็นความเข้มแข็งที่หม่นเศร้า ด้วยว่าวันหนึ่ง “ผัวแกก็พลัน มาต๋ายละกั๋น เหลือเพียงลูกสาว” ลูกสาวคนเดียวที่พอจะพึ่งพาได้ ก็ดันมามีเรื่องอื้อฉาวเพราะ “หนีตวยป้อจาย” ไปเสียอีก แกจึงต้องมีชีวิตแบบ “เฒ่าทรนง” หาเลี้ยงชีพตนเองด้วยการเก็บผักบุ้งขาย 35 ปีแล้วที่โลกได้รู้จักอุ๊ยคำ หญิงชราที่ถูกทอดทิ้งจากลูกหลาน มีอุ๊ยคำอยู่มากมายแทบทุกหย่อมหญ้าแล ...
-
วิถีใหม่...‘ปากคลองตลาด’ พัฒนาควบคู่การรักษาเอกลักษณ์ชุมชน
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 23 กันยายน 2555 เวลา 23:21 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุลเมื่อพูดถึงตลาดค้าส่งดอกไม้ ผัก ผลไม้ และพืชผลทางการเกษตรทุกชนิด เชื่อแน่ว่า คนส่วนใหญ่จะต้องนึกถึง “ปากคลองตลาด” ตลาดอันพลุกพล่านจอแจริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เลื่องชื่อมาแต่ครั้งอดีต
-
ภาพ...สะท้อนความเป็นพหุสังคมของอาเซียน
เขียนวันที่วันเสาร์ ที่ 01 กันยายน 2555 เวลา 22:39 น.เขียนโดยเสกสรร โรจนเมธากุลนาทีนี้ กระแสการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังมาแรง ใคร ๆ ต่างก็พูดถึงการเคลื่อนย้ายของทุน แรงงาน และสินค้าอย่างอิสระ และต่างเตรียมตัวรับมือ เตรียมความพร้อมให้กับตนเองด้วยการเพิ่มทักษะด้านภาษา เพื่อให้สอดรับกับความเป็นหนึ่งเดียวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจ