เปิดตัวเลข 3 ปี ย้อนหลัง นำเข้าสารเคมีอันตราย พบ ‘ไกลโฟเซต’ สูงสุด มูลค่ารวม 1 หมื่นล.
เปิดตัวเลข 3 ปีย้อนหลัง นำเข้า พาราควอต-คอลร์ไพริฟอส-ไกลโฟเซต พบมีปริมาณใกล้เคียงกัน อันดับ 1 สูงสุด ไกลโฟเซต หลังภาคประชาสังคมชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล จี้ ก.เกษตรฯ -นายกฯ เพิกถอนสารเคมีวัตถุอันตราย
การออกมาเคลื่อนไหวของเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง ที่นัดชุมนุมกันหน้าศาลากลางจังหวัดและทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร เร่งเพิกถอนพาราควอตไดคลอไรด์ และคลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย ตามข้อเสนอของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 5 เม.ย. 2560
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวมข้อมูลการนำเข้าวัตถุอันตรายดังกล่าว ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2559 อ้างอิงจากกรมวิชาการเกษตร สรุปดังนี้
ปี 2559 มีวัตถุอันตรายที่มีการนำเข้าสูงสุด 10 อันดับแรก (วัดโดยปริมาณสารสำคัญ) พบว่า ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย มีปริมาณนำเข้ามากที่สุด 61.80 ล้าน กก. มูลค่า 2,944 ล้านบาท สารสำคัญ 31 ล้าน กก.
อันดับ 2 คือ พาราควอตไดคลอไรด์ มีปริมาณนำเข้า 31.52 ล้าน กก. มูลค่า 2,110 ล้านบาท สารสำคัญ 12 ล้าน กก.
ส่วนคลอร์ไพริฟอส มีปริมาณนำเข้าอันดับ 8 อยู่ที่ 2.07 ล้าน กก. มูลค่า 274 ล้านบาท สารสำคัญ 1.7 ล้าน กก.
ปี 2558 มีวัตถุอันตรายที่มีการนำเข้าสูงสุด 10 อันดับแรก (วัดโดยปริมาณสารสำคัญ) พบว่า ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย มีปริมาณนำเข้ามากที่สุด 58.07 ล้าน กก. มูลค่า 3,083 ล้านบาท สารสำคัญ 29 ล้าน กก.
อันดับ 2 คือ พาราควอตไดคลอไรด์ มีปริมาณนำเข้า 30.44 ล้าน กก. มูลค่า 2,692 ล้านบาท สารสำคัญ 12 ล้าน กก.
ส่วนคลอร์ไพริฟอส มีปริมาณนำเข้าอันดับ 9 อยู่ที่ 1.9 ล้าน กก. มูลค่า 328 ล้านบาท สารสำคัญ 1.5 ล้าน กก.
ปี 2557 วัตถุอันตรายที่มีการนำเข้าสูงสุด 10 อันดับแรก (วัดโดยปริมาณสารสำคัญ) พบว่า ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย มีปริมาณนำเข้ามากที่สุด 63.16 ล้าน กก. มูลค่า 4,531 ล้านบาท สารสำคัญ 31 ล้าน กก.
อันดับ 2 คือ พาราควอตไดคลอไรด์ มีปริมาณนำเข้า 21.32 ล้าน กก. มูลค่า 2,712 ล้านบาท สารสำคัญ 9 ล้าน กก.
ส่วนคลอร์ไพริฟอส มีปริมาณนำเข้าอันดับ 8 อยู่ที่ 2.3 ล้าน กก. มูลค่า 205 ล้านบาท สารสำคัญ 1.6 ล้าน กก.
เมื่อเปรียบเทียบ 3 ปี จะเห็นว่า ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย และพาราควอตไดคลอไรด์ เป็นอันดับที่ 1 และ 2 ทุกปี และแต่ละปีมีปริมาณการนำเข้าใกล้เคียงกัน
สุดท้ายแล้ว คงต้องจับตากรมวิชาการเกษตรจะตัดสินใจเพิกถอนพาราควอตไดคลอไรด์ และคลอร์ไพริฟอส ภายในต้น ธ.ค. 2562 และ "จำกัดการใช้" ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย ตามข้อเสนอของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ หรือไม่
แต่ที่แน่ ๆ ขึ้นชื่อว่า สารเคมีวัตถุอันตรายแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน
อ่านประกอบ:องค์กรผู้บริโภคจี้ รมว.เกษตรฯ เพิกถอน ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’ หลาย จว.เคลื่อนไหวหนุนแบน
กรมวิชาการเกษตรขอหารือ คกก.วัตถุอันตราย ก่อนเลิก ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’
เอ็นจีโอยกงานวิจัยโต้กลุ่มค้านยกเลิก ‘พาราควอต’ ยันมีพิษเฉียบพลัน ไม่มียาถอน
นักวิชาการชี้ “พาราควอต” มีอันตรายขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ยันไม่ซึมผ่านผิวหนัง ยกเว้นมีแผล
ฉบับเต็ม! เอ็นจีโอเเถลงโต้ ยัน 'พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส' อันตราย จี้เพิกถอนพ้นทะเบียน
ขีดเส้น 1 เดือน กษ.เพิกถอนทะเบียน พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส
สภาเกษตรกร จี้กษ.เร่งหาสารทดแทนพาราควอตโดยเร็ว
ผอ.มูลนิธิชีววิถีชี้แบนสารพาราควอตเจตนาดีต่อสุขภาพเกษตรกรไทย
กรมวิชาการเกษตรเปิดตัวเลขไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้า-แมลงกว่า 9 หมื่นตัน/ปี
ผอ.มูลนิธิขวัญข้าว ชี้มีเสียงค้านยกเลิก 'พาราควอต' เหตุนายทุนเสียประโยชน์
สองมาตรฐาน ยูเอ็นประณามบริษัทสวิสฯ ส่งออกพาราควอตไปประเทศกำลังพัฒนา