- Home
- Isranews
- ตะกร้าข่าว
- สมาพันธ์เกษตรฯ ยื่นข้อเสนอขอสธ.ทบทวนยกเลิกการใช้พาราควอต โต้ "ไทยแพน" บิดเบือน
สมาพันธ์เกษตรฯ ยื่นข้อเสนอขอสธ.ทบทวนยกเลิกการใช้พาราควอต โต้ "ไทยแพน" บิดเบือน
สมาพันธ์เกษตรกรปลอดภัย โต้ไทยแพน-ดร.พวงรัตน์ นักวิจัยม.นเรศวร ให้ข้อมูลบิดเบือน กรณีพาราควอต ย้ำใช้มา 50 ปี ไร้ผลกระทบต่อสุขภาพ ขีดเส้นตาย มีนาฯนี้ต้องได้คำตอบ หลังได้รับผลกระทบต้นทุนสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 25 ม.ค.61 ที่โรงแรม โฮเต็ล เดม็อค สหพันธ์เกษตรปลอดภัยและเครือข่ายฯ จัดแถลงข่าว ค้านการยกเลิกการใช้ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส
นายสุกรรณ์ สังข์วรรณ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอภัย กล่าวว่า วันนี้เกษตรกรกว่าสามหมื่นรายร่วมกันลงชื่อเพื่อบอกให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล เพื่อให้รับทราบว่า เกษตรกรได้รับผลกระทบ จากการเผยแพร่เรื่องความปลอดภัยสารเคมีของ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ซึ่งเห็นได้ว่า ข่าวสารที่เผยแพร่ออกมาได้สร้างความตระหนกต่อสังคม โดยเฉพาะผู้บริโภคและเกษตรกร ทั้งยังเป็นการเผยแพร่งานวิจัยโดยขาดการตรึกตรองให้รอบคอบ ทุกวันนี้กระแสความกังวลถึงความไม่ปลอดภัยในพืช ผักผลไม้ว่าปนเปื้อนสารพาราควอต ได้ลุกลามถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อพืชผัก
นายสุกรรณ์ กล่าวว่า จากข่าวสารดังกล่าว ส่งผลให้ราคายาฆ่าแมลงสูงขึ้นจากเมื่อก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่แกลอนละ 370 บาท ปัจจุบัน เป็นแกลอนละ 580-600 บาท นอกจากนี้สารเคมีที่แนะนำมาใช้ทดแทนจากกลุ่มเอ็นจีโอนั้น ในความเป็นจริงไม่สามารถใช้แทนกันได้ ซ้ำร้ายราคาสูงกว่าสารตัวอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน เกษตรกรรับไม่ได้ สิ่งที่เกษตรกรใช้พาราควอตมา 50 ปี ถ้าเรายอมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ขาดความระมัดระวังเกษตรกรเชื่อว่า สินค้าเกษตรของประเทศจะไร้ความเชื่อมั่นอย่างแน่นอน จากประเด็นที่เราอยากเป็นครัวโลก กลายว่าเราเป็นครัวโรค ซึ่งเรารับไม่ได้
“เกษตรกรไม่ได้เป็นผู้ผลิตอย่างเดียว เราเป็นผู้บริโภคด้วย เกษตรกรไม่ได้ทำทุกอย่างเพื่อกินเอง แต่ทำทุกอย่างเพื่อผู้บริโภคได้กินด้วย” นายสุกรรณ์ และว่า เข้าใจว่านักวิจัยมีจรรยาบรรณต้องตอบสนองงานผู้ให้ทุน แต่กลับขาดความเที่ยงธรรมต่อเกษตรกรอย่างยิ่ง ซึ่งคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ นักวิจัยควรรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น อีกทั้ง หน่วยงานต้นสังกัด เมื่อรับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรมีบทบาทในการตรวจสอบความถูกต้องของผลงานวิจัยที่นำมาเผยแพร่ในเวลานี้ ซึ่งงานวิจัยทั้งหลายทางสมาพันธ์ฯ ได้พยายามค้นหาข้อมูล และทราบจากการเปรียบเทียบข้อมูลแล้ว เป้นการบิดเบือนข้อมูลทั้งหมด
นายสุกรรณ์ กล่าวถึงประเด็นที่เราเข้าพบพลเอกประสาท สุขเกษตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงมต่อเนื่อง โดยได้จัดส่งหนังสือทบทวนไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจากการเข้าพบครั้งนั้นได้ข้อสรุปว่า ข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขในการยกเลิกการใช้พาราควอตนั้น ยังไม่มีการสรุป
ประเด็นที่สอง กลุ่มเอ็นจีโอที่ชื่อว่า ไทยแพนยังคงดำเนินการเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้พาราควอต ไกลโฟแซต และคอร์ไพริฟอส ยังนำข้อมูลที่บิดเบือน ทั้งที่ได้เคยชี้แจงข้อเท็จเเล้ว ยังนำข้อมูลเก่ามาใช้อยู่ ข้อมูลตั้งแต่ปี 2555 ยังคงเอามาใช้อยู่
“ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรต่างกรรมต่างวาระ ในห้วงเวลาหนึ่งอาจมีผลตกค้างหรือไม่มีก็ตาม แต่สิ่งเหล่านั้นหมดไปแล้ว ไม่สามารถเป็นตัวแทนผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร สิ่งเหล่านี้บิดเบือน” นายสุกรรณ์ กล่าวและว่า ทางสมาพันธ์ฯขอให้ยกเลิกข้อเสนอที่ให้ยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชพาราควอต ไกลโพเซตและคอร์ไพริฟอส ของเกษตรกร ต้องให้พิจารณาแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้
นอกจากนี้ผลกระทบต่อสินค้า การส่งออกผักและผลไม้ของเกษตรกร นายสุกรรณ์ กล่าวว่า กลุ่มเกษตรตั้งข้อสงสัยว่าการทำงานของไทยแพนกับผลการิจัยของ ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล มหาวิทยาลัยนเรศวรนั้นเป็นการบิดเบือน ทางสมาพันธ์ฯเตรียมพร้อมรวบรวมรายชื่อเกษตรกร 50,000 ราย ค้าผลการวิจัยและขอให้เจ้าของผลงานวิจัยรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยการลาออกจากสถายันการศึกษาและความเป็นนักวิชาการ ให้แล้วเสร็จภายในเดือน มีนาคมนี้
นายสุกรรณ์ อ้างด้วยว่า กรมวิชาการเกษตร สมาคมเกษตร เกษตรกรและนักวิชาการ ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 4 ภาคทั่งประเทศ พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ “ไม่เห็นด้วย” กับการยกเลิกการใช้สาร “พาราควอต ไกลโพเซตและคอร์ไพริฟอส” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พาราควอต เนื่องจากส่งผลกระทบต่อ 1)ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 2)ผลผลิตการเกษตรลดลง 3) การสูญเสียรายได้ระดับประเทศ อันเนื่องมาจากผลผลิตที่ลดลง คิดเป็นมูลค่าการสูญเสียถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี สำหรับกลุ่มอ้อยและมันสัมปะหลัง
นอกจากนี้ นายสุกรรณ์ยังกล่าวอ้างอีกว่า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลยืนยันว่า การใช้สารกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิด ไม่พบว่ามีหลักฐานผลกระทบทางสุขภาพตามที่กล่าวอ้าง สอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของเกษตรกรที่ใช้สารดังกล่าวมานานกว่า 50 ปี ไร้ผลกระทบต่อสุขภาพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางสมาพันธ์ฯ ยังเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง กระทรวงสาธารณสุข ควรมีนักวิชาการด้านการเกษตร เกษตรกร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อความเป็นธรรมและโปร่งใสในการพิจารณา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดตัวเลข 3 ปี ย้อนหลัง นำเข้าสารเคมีอันตราย พบ ‘ไกลโฟเซต’ สูงสุด มูลค่ารวม 1 หมื่นล.
องค์กรผู้บริโภคจี้ รมว.เกษตรฯ เพิกถอน ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’ หลาย จว.เคลื่อนไหวหนุนแบน
กรมวิชาการเกษตรขอหารือ คกก.วัตถุอันตราย ก่อนเลิก ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’
เอ็นจีโอยกงานวิจัยโต้กลุ่มค้านยกเลิก ‘พาราควอต’ ยันมีพิษเฉียบพลัน ไม่มียาถอน
นักวิชาการชี้ “พาราควอต” มีอันตรายขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ยันไม่ซึมผ่านผิวหนัง ยกเว้นมีแผล
ฉบับเต็ม! เอ็นจีโอเเถลงโต้ ยัน 'พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส' อันตราย จี้เพิกถอนพ้นทะเบียน
ขีดเส้น 1 เดือน กษ.เพิกถอนทะเบียน พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส
สภาเกษตรกร จี้กษ.เร่งหาสารทดแทนพาราควอตโดยเร็ว
ผอ.มูลนิธิชีววิถีชี้แบนสารพาราควอตเจตนาดีต่อสุขภาพเกษตรกรไทย
กรมวิชาการเกษตรเปิดตัวเลขไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้า-แมลงกว่า 9 หมื่นตัน/ปี
ผอ.มูลนิธิขวัญข้าว ชี้มีเสียงค้านยกเลิก 'พาราควอต' เหตุนายทุนเสียประโยชน์
สองมาตรฐาน ยูเอ็นประณามบริษัทสวิสฯ ส่งออกพาราควอตไปประเทศกำลังพัฒนา
‘เจ้าสัวธนินท์’ หนุนเลิก ‘พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส’ หากพบตกค้างในดิน